หุ่นยนต์ศึกษาพฤติกรรมปลา

 

 

 

 

 

หุ่นยนต์ศึกษาพฤติกรรมปลา

 

การใช้หุ่นยนต์ปลาที่ว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วตัวนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจพฤติกรรมของปลาได้ดียิ่งขึ้น และอาจจะช่วยพวกมันในสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่ได้อีกด้วย แม้ว่าก่อนหน้านี้จะเคยมีงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จในการศึกษาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสัตว์ที่มีชีวิตจริงๆกับหุ่นยนต์หรือสิ่งที่เลียนแบบรูปร่างของสัตว์ แต่ยังไม่มีงานวิจัยชิ้นใดที่ออกแบบมาให้ใช้หุ่นยนต์เป็นตัวกระตุ้นให้สัตว์เกิดการอพยพย้ายถิ่นฐาน งานวิจัยชิ้นนี้จึงถือกำเนิดขึ้นมาภายใต้การนำของ Stefano Marras และ Maurizio Porfiri จาก Polytechnic Institute แห่ง New York University ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ผลงานวิจัยไปเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์บนวารสารออนไลน์ Journal of the Royal Society Interface

การอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงของปลามีทั้งผลดีและผลเสีย ข้อดีก็คือการรวมกลุ่มทำให้ปลาตัวผู้และตัวเมียมีโอกาสจับคู่ผสมพันธุ์กันได้มากขึ้น สามารถลวงตาให้นักล่าที่จ้องกินปลาตัวนั้นเป็นอาหารเกิดความสับสนได้ ส่วนข้อเสียก็คือเมื่อปลามารวมกลุ่มกันก็จะเกิดการแก่งแย่งคู่และอาหาร นอกจากนี้มันอาจจะเป็นการเพิ่มการแพร่กระจายปรสิตและเชื้อโรคบางอย่างได้ แต่การทำความเข้าใจพฤติกรรมว่าทำไมปลาถึงรวมกลุ่มและมีวิธีรวมกลุ่มกันอย่างไรจะช่วยเป็นการเปิดประเด็นคำถามทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย

ในการศึกษาการรวมกลุ่มของปลา Marras และ Porfiri จึงออกแบบหุ่นยนต์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Notemigonus crysoleucas สายพันธุ์หนึ่งของปลา Golden shiner โดยใช้โครงนอกเป็นพลาสติกครอบทับหุ่นยนต์ไว้ ลำตัวมีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปลาจริงๆ และจำลองการเคลื่อนไหวด้วยหางที่แกว่งได้คล้ายปลาจริงๆ

เมื่อนักวิจัยนำปลา Golden shiners หนึ่งตัวปล่อยลงในอุโมงค์น้ำที่จำลองให้เหมือนกระแสน้ำจริงๆ ปลาก็จะว่ายน้ำเคียงคู่ตามไปกับปลาหุ่นยนต์เป็นเวลาหลายนาที (ดูจากคลิปด้านล่างนะ) เมื่อหุ่นยนต์หยุดเคลื่อนไหว ปลา Golden shiners ก็จะว่ายแบบไร้ทิศทางเป็นระยะเวลาสั้น

แม้ว่าปลาบางตัวจะพยายามรักษาระยะห่างระหว่างหุ่นยนต์ แต่มันก็อาจจะรับรู้ว่าหุ่นยนต์เป็นภัยคุกคามได้ ปลาส่วนใหญ่จึงพยายามตามหลังหุ่นยนต์ที่แหวกน้ำไป ซึ่งพฤติกรรมนี้ตรงกับพฤติกรรมของปลาในธรรมชาติ ที่มักจะรวมตัวเพื่อลดแรงต้านทานจากน้ำทำให้ว่ายน้ำได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่เรื่องที่ยังไม่ชัดเจนก็คือฝูงปลาจะยอมรับหุ่นยนต์ตัวนี้เป็นหัวหน้าฝูงหรือไม่ แต่ทางนักวิจัยเชื่อว่านี่เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาต่อไปหลังจากทำให้หางและลำตัวมีการเคลื่อนไหวที่เหมือนจริงมากขึ้น

เมื่อมันได้รับการยอมรับจากฝูงปลาให้เป็นหัวหน้าฝูง ก็จะดำเนินวิจัยต่อนอกห้องทดลอง ปลาหุ่นยนต์ที่ใช้อาจจะต้องควบคุมด้วยรีโมทคอลโทรลเพื่อช่วยในการอพยพย้ายถิ่นฐานเมื่อแหล่งที่อยู่เดิมของมันถูกทำลายโดยมีมนุษย์เป็นต้นเหตุ เช่น การสร้างเขื่อน, การที่แหล่งน้ำมีคราบน้ำมันปนเปื้อนเป็นต้นค่ะ

 

Credit: http://dailygizmo.tv/category/technologies/
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...