หากคุณมีอาการกระวนกระวายในยามที่ออกไปนอกบ้านและพบว่าลืมหยิบ
โทรศัพท์มือถือมาด้วย ก็มีความเป็นไปได้ว่าคุณจะเป็น โรค "nomophobia" หรือ
"no-mobile-phobia" โรคสุดฮิตในหมู่คนรักเทคโนโลยีแล้ว
ผลการสำรวจในอังกฤษที่จัดทำโดยบริษัทเทคโนดลยี SecureEnvoy ระบุว่า จากจำนวน
คนที่ทำการสำรวจทั้งหมด 1,000 คน มีมากถึงสองในสามที่ยอมรับว่าพวกเขากลัวที่จะอยู่
โดยไม่มีโทรศัพท์มือถือ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่มากขึ้นกว่าเมื่อ 4 ปีก่อน ถึงร้อยละ 53
"ผู้หญิงมีแนวโน้มจะเป็น Nomophobia มากกว่าผู้ชาย เพราะผู้ชายมักพกมือถือที
ละ 2 เครื่อง"
คนที่มีอาการแบบนี้มากที่สุดคือกลุ่มคนในอายุ 18-24 ปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 77 ตามมาด้วย
กลุ่มคนอายุ 25-34 คิดเป็นร้อยละ 68 และผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึ่งเรียกกันว่า
nomophobic นี้ มากกว่าผู้ชายอยู่ร้อยละ 9 โดยที่นักวิจัยคาดว่าสาเหตุที่ผู้หญิงมีแนวโน้ม
จะมีอาการกระวนกระวายเมื่อไม่มีโทรศัพท์มือถือมากกว่าผู้ชาย น่าจะเป็นเพราะผู้ชายมักจะ
พกโทรศัพท์มือถือทีละสองเครื่อง
เว็บไซต์ allAboutCounseling.com ให้ข้อมุลเกี่ยวกับอาการของโรค nomophobia ว่า
ประกอบด้วย อาการตัวสั่น เหงื่อออก และคลื่นไส้ ในตอนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถืออยู่กับตัว
นอกเหนือจากนี้ คนที่มีนิสัยหมกมุ่นกับการคอยตรวจดูมือถือตลอดเวลาและมักจะกังวลว่า
โทรศัพท์วางอยู่ถูกที่หรือเปล่า ก็อาจจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ด้วยเช่นกัน
สำหรับคนที่กำลังเป็นโรค nomophobic วิธีการรักษาที่แนะนำก็คือ การให้ลองใช้ชีวิต
โดยปราศจากมือถือช่วงหนึ่ง พยายามหลีกเลี่ยงความคิดในแง่ลบ และใช้เทคนิคการ
หายใจเข้าออกหรือการทำโยคะ และสำหรับคนที่มีอาการกลัวว่าตัวเองจะไม่สามารถเชื่อ
มต่อกับโลกภายนอกได้โดยไม่มีมือถือ ก็แสดงว่าถึงเวลาที่ควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว
ไม่เพียงแต่อาการทางด้านจิตใจเท่านั้น แต่แพทย์หลายคนก็ได้ระบุเอาไว้ว่า การอยู่ในท่า
ก้มตัวเพื่อใช้โทรศัพท์มือถือจะก่อให้เกิดอาการอื่นๆ อีกมากมาย เช่น การปวดคอ ปวดหัว
และเจ็บไหล่ไปจนถึงอาการเจ็บแขนและมือ ซึ่งก็เป็นโรคที่มีคนนิยามชื่อให้ว่า Text neck
นั่นเอง ดังนั้นถ้าหากใครมีนิสัยติดการส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือ ก็ให้ลองพักจากการ
ส่งข้อความบ่อยๆ และยืดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น คอ หลัง หรือศีรษะ เพื่อเป็นการออก
กำลังกายกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ