‘เนื้อปักเป้า’ เสรี ‘ปลาอันตราย’ เปิบแปลกแลกด้วยชีวิต

อาหารการกิน ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ของมนุษย์ทุกคน ซึ่งอาหารที่มนุษย์

สามารถกินได้นั้นก็มีให้เลือกอยู่มากมาย แต่กระนั้นก็มีคนบางพวกที่นิยมการเปิบ

พิสดารเป็นชีวิตจิตใจ เรียกว่าถ้าอะไรอร่อยก็ขอลองไว้ก่อน
       
 ปลาปักเป้า ถึงมันจะมีพิษร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิต แต่มีคนจำนวนไม่น้อยพร้อม

ที่จะเสี่ยงรับประทาน

       
       สำหรับในบ้านเรานั้นแม้จะมีปลาปักเป้าติดอวนของชาวประมงที่ออกไปจับปลาใน

ทะเลเป็นจำนวนมาก จากตัวเลขสถิติตกวันละ 100-150 ตัน แต่มันก็ไม่สามารถนำเอามา

บริโภคได้ เพราะการขายปลาปักเป้าเพื่อเป็นอาหารนั้น ถือได้ว่าผิดกฎหมาย ดังนั้น

นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข จึงเกิดไอเดียขึ้นมาว่า

น่าจะมีการแก้กฎหมาย เพราะมันจะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับชาวประมงเพิ่มอีก

ทาง!!
       
       ส่วนเรื่องของพิษนั้นทางนพ.สุรวิทย์ ก็ออกมาบอกว่าไม่น่าห่วง เพราะตอนนี้กรม

วิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนาเครื่องมือในการตรวจหาสารพิษในปลาปักเป้าเป็นผล

สำเร็จแล้ว ซึ่งเป็นชุดตรวจสอบที่ใช้ง่าย รู้ผลเร็วและราคาถูก   แต่ก็ยังน่ากังขาว่า

ชุดทดสอบนี่มันจะมีใครเอาไปใช้ตรวจปลาก่อนขายหรือเปล่ากไม่รู้  

ปลาอันตรายที่ปะปนขายอยู่ในตลาด 

      
         “ปลาปักเป้าจะมีอยู่ 2 ประเภท คือปลาน้ำจืดกับปลาน้ำเค็ม ซึ่งปลาปักเป้าน้ำเค็ม

จะมีพิษที่ชื่อ เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ปลาปักเป้าน้ำจืดนี่จะเป็นพิษอีกชนิด

หนึ่ง ซึ่งพิษทั้งสองชนิดจะออกฤทธิ์คล้ายๆ กัน”
       
       ปรเรศวร์ อินทุเศรษฐ นักวิชาการผลิตภัณฑ์อาหาร กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ

กรมประมง อธิบายถึงพิษของปลาปักเป้าและอันตรายของมัน
       
       “ถ้ารับประทานปลาปักเป้าที่มีพิษเข้าไปประมาณ 20 นาที ก็จะเกิดอาการชาตามลิ้น

ตามริมฝีปาก หรือว่าตามแขนตามขา การเดินก็เริ่มจะเดินลำบาก เคลื่อนไหวลำบาก ถ้าได้

รับปริมาณพิษสูงๆ อาจจะถึงกับเสียชีวิตได้ภายใน 8-12 ชั่วโมง และปัจจุบันยังไม่มียาที่

รักษาด้วย”
       
       ปรเรศวร์กล่าว ถ้าเกิดได้รับพิษเข้าไป ส่วนมากหมอจะรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นและ

การที่เราจะได้รับพิษปลาปักเป้านั้น คือการบริโภคเข้าไปโดยตรง ส่วนทางการสัมผัสนั้น

อาจจะรู้สึกแค่ปวดแสบปวดร้อน แต่กระนั้นการนำมาทำให้กินเป็นอาหารได้ก็มีวิธีการของ

มันอยู่ แต่ก็ต้องทำโดยคนแล่ปลาที่เชี่ยวชาญ เพราะถึงแม้ว่าจะเอาเนื้อปลาไปผ่านการ

ปรุงโดยใช้ความร้อนแล้ว เจ้าพิษที่ว่าก็จะยังคงมีอยู่ ไม่ต่างจากตอนดิบๆ เลย
       
       ทุกวันนี้ ตามตลาดก็มีเนื้อปลาปักเป้าปะปนอยู่โดยคนขายที่ไร้จรรยาบรรณจะหลอกผู้

ซื้อว่า เนื้อปลาที่เห็นเป็นปลาอกไก่ไม่ใช่ปลาปักเป้า หรือไม่ก็นำ ไปผสมกับปลาอื่นๆ ทำ

ลูกชิ้นปลา มันเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย แต่อีกไม่นานถ้ามีการแก้ไขกฎหมาย ปลาเหล่านี้

อาจจะถูกนำมาขายอย่างถูกต้องและมีการตรวจสอบในเรื่องของสารพิษที่เกิดจากการทำ

ปลาที่ผิดวิธีการ
       
       ‘พลิกวิกฤตเป็นโอกาส’ หรือ ‘โอกาสจะกลายเป็นวิกฤต’


       การจะเอาปลาปักเป้ามาขายแบบถูกต้อง ปัจจุบันก็ยังคงมีอุปสรรคหลายประการ ไม่

ว่าจะเป็นเรื่องความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของคนซื้อ ไล่ไปถึงกระบวนการที่จะทำ

ปลาให้ปลอดภัยก่อนขายจริงๆ
       
       ประเด็นนี้ สุริยัน ศรีอำไพ อุปนายกสมาคมพ่อครัวไทย ได้แสดงทัศนะไว้ว่า สามารถ

ทำได้ แต่จะต้องสร้างกระแสความเชื่อมั่นให้กับประชาชนเสียก่อนว่า กินแล้วปลอดภัย มี

แหล่งผลิตแหล่งที่มาชัดเจน และรู้ว่าบริโภคอย่างไรถึงจะเรียกว่าถูกต้อง เพราะตอนนี้ทุก

คนยังมองปลาปักเป้าเป็น ‘ปลาอันตราย’ ซึ่งการจะทำแบบนี้ได้ ต้องมีการควบคุมอย่าง

จริงจัง เช่น ร้านไหนบ้างที่มีสิทธิ์ขายเนื้อปลาปักเป้า เช่นเดียวกับการพัฒนาฝีมือของคน

ทำปลาและพ่อครัวด้วย เพราะเกือบทั้งหมดไม่รู้หรอกว่า จะทำเนื้อปลาปักเป้าอย่างไรให้

ปลอดภัย เนื่องจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของเมืองไทยไม่มีใครกินปลาปักเป้ากัน
       
       "ถ้าไม่ใช่เชฟญี่ปุ่นเขาไม่รู้หรอกว่าทำยังไง ของแบบนี้ต้องใช้เชฟเฉพาะทาง ต้องรู้

วิธีทำ และวิธีเก็บรักษา ปกติเชฟเขาจะมีตำราอยู่แล้วสำหรับทำเนื้อปลาเนื้อสัตว์ทุก

ชนิด แต่ถามว่าตอนนี้ตามโรงแรมทั่วไป เขาไม่ค่อยนำเนื้อปลาปักเป้าไปทานกันหรอก

ยกเว้นจะรู้ข้อมูลว่ามันมีประโยชน์อย่างไร มีโปรตีนมากกว่าเนื้อปลาชนิดอื่นหรือเปล่า

คือถ้ามีข้อมูลเพียงพอแก่ผู้บริโภคและสร้างความเชื่อมั่นให้เขา
       
       "ดังนั้น หากต้องการนำมาทำกินในเมืองไทยจริงๆ ต้องทำกระแสให้แรงมากๆ ไม่

อย่างนั้นมันก็ยาก แล้วต้องสร้างสรรค์เมนูที่เหมาะสม มีห้องอาหารที่ได้รับการรับรองว่า

เนื้อปลามีที่มาที่ไป เพราะเนื้อปลากินได้ทั้งนั้นแหละ แต่สำคัญอยู่ที่ว่า ตอนแรกที่นำเข้า

มาเสนอสื่อหรือคนที่มาสามารถให้รายละเอียดกับเรื่องนี้ได้มากน้อยแค่ไหน โอกาสที่จะ

เป็นไปได้ มันอยู่ที่คุณมีเงินหรือเปล่า เพราะถ้ามีคุณก็เข้าถึงได้หมด ทั้งสถาบันด้า

นอาหารที่กล้าเข้ามาเสี่ยง เพราะคนที่ฝึกเรื่องพวกนี้มันมีอยู่แล้ว หรือแม้แต่ช่องทา

งการตลาดก็ตาม"
       
       ถ้าทำไม่ได้ทั้งหมดตามที่กล่าว ก็อาจจบเห่ เพราะถ้ามีใครสักคนได้รับพิษจากการกิน

ปลาปักเป้าเข้าไปสักคน คนอื่นๆ ในสังคมก็คงไม่กล้าเสี่ยง และสำหรับบ้านเรา ดูๆ ไป

แล้วมันก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงเสียด้วยที่จะเกิดความผิดพลาดจากการผลิต
       
       และถ้าพลาดมันก็หมายถึงอันตรายถึงชีวิต น่าจะได้ไม่คุ้มเสีย


       แม้ว่าถ้ามีการตรวจสอบและทำการผลิตให้ถูกต้อง ปลาปักเป้ามันก็ไม่ใช่สิ่งที่อันตราย

แต่ในมุมมองของพล.ต.ต.วิสุทธิ์ วาณิชบุตร มือปราบปลาปักเป้า ที่ทำงานด้านปราบปรามการ

ขายปลาปักเป้าเพื่อบริโภคมาโดยตลอดกลับบอกว่าไม่เห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์
       
       “กฎหมายเขาบัญญัติไว้เลยว่า ผู้ใดนำเข้า ผลิต จำหน่ายปลาปักเป้าหรือส่วนผสม

ของเนื้อปลาปักเป้าผู้นั้นมีความผิด เพราะบางทีเขาเอามาทำลูกชิ้นมาแปรรูป จริงๆ แล้ว

ถ้าทำดีๆ มันก็ไม่เป็นไรหรอก แต่มันพลาดได้ไง คือปลาพวกนี้มัน จับง่ายเพราะมันไม่ต้อง

ออกไปจับที่น้ำลึก แค่ออกไป 40-50 ไมล์ทะเลก็เจอแล้ว สมัยก่อนพอติดอวนมาก็จับโยน

ทิ้งกันไป ทีนี้ปัจจุบันคนเรามันจะหาเงินโดยไม่คำนึงถึงผลร้าย ถ้าได้เงินก็เอาทั้งนั้น”
       
       พล.ต.ต.วิสุทธิ์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้กฎหมายให้ขายปลาปักเป้าได้แน่นอน

เพราะคนที่เป็นกุ๊กต้องผ่านการเรียนการอบรมมีความรู้มีประกาศนียบัตรมา แต่สำหรับ

ประเทศไทยนั้นโดยพื้นฐานแล้วมันไม่น่าจะควบคุมได้
       
       “เชื่อเถอะว่า คนแล่ในโรงงานแล่ปลาร้อยละ 99 เป็นต่างด้าวทั้งนั้น เป็นพม่า

กัมพูชา เขาแล่ไปก็คุยไปไม่ได้สนใจหรอก เพราะเขาไม่ได้แล่กินเองนี่ ถ้าเกิดมาแล่ปลา

ปักเป้าก็มีโอกาสพลาดได้ คือพิษของปลาปักเป้า 1 มิลลิกรัมมีความรุนแรงเท่าไซยาไนซ์

2,000 มิลลิกรัมเลยนะ มันร้ายแรงมาก มันไม่คุ้มกันหรอก เพราะพลาดกันมาคนกินก็ตาย

ใครจะรับผิดชอบ
       
       “บ้านเรามันมีนิสัยมักง่าย ไม่เหมือนกับประเทศที่เขามีวินัย จะแก้กฎหมายให้สิ่งมีพิษ

เหล่านี้ออกขายได้มันง่าย แต่ถ้าพลาดใครจะรับผิดชอบ มันหมายถึงชีวิตคนนะ ของกินมี

เยอะแยะทำไมไม่ไปกินกัน ที่ผ่านมาคนที่ตายจากปลาปักเป้านั้นมีมาก คือคนธรรมดา

เวลาตายนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะต้องตามหมอพรทิพย์มาชันสูตรนี่ ตายแล้วก็ตายไป อย่างเมื่อ

ก่อนที่ว่ามีการไหลตายกันนั้น ส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจากการกินปลาปักเป้านั่นแหละ”
       
       ส่วนในมุมมองของคนที่ขายปลามาทั้งชีวิตอย่าง นพวรรณ ประยูรวงศ์ เจ้าของแพปลา

นพวรรณ ก็ให้ความเห็นว่า
       
       “จริงๆ มันมีมานานแล้ว ที่อื่นเขาแอบขายกันอยู่ มันคล้ายกับแมงดานะที่เวลาจะกินก็

ต้องให้คนทำเป็นทำ แต่แมงดานี่พิษมันไม่ร้ายเท่า คือที่แพของเรานี่ไม่ยุ่งเลย แต่ได้ข่าว

ว่าที่มหาชัยเขามีกัน คือมันไม่คุ้มกันหรอก ราคามันไม่แพงเท่าไหร่ ไม่ได้รับความนิยมด้วย

คนซื้อเราไปแล้วเกิดอะไรขึ้นมามันก็ได้ไม่คุ้มเสีย ถ้าเขาให้ขายได้เราก็ไม่ขายหรอก”
       ..........
       
       อย่างที่หลายๆ คนกล่าวไปข้างต้นว่า ลำพังการแก้กฎหมายให้ขายปลาปักเป้าอย่าง

ถูกต้องนั้นมันทำได้ แต่สิ่งที่น่าห่วงก็คือในความเป็นจริงมันจะสามารถควบคุมคุณภาพการ

ผลิตได้ไหม และถ้ามีใครเป็นอะไรไป ใครจะออกมารับผิดชอบ
       
       แม้ว่าทางรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะพูดในทำนองว่า ‘เอาอยู่’ เพราะ

มีชุดตรวจสอบความปลอดภัยออกมาให้ใช้แล้วก็ตาม แต่เอาเข้าจริงมันจะใช้ได้ผลแค่ไหน

กัน โดยเฉพาะกับสังคมที่นิยมความมักง่ายเป็นหลัก และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา คนที่

บอกว่าเอาอยู่นั้น ล้วนแล้วแต่ตกม้าตายหลังจากกล่าวคำนั้นออกมาทั้งสิ้น!!!
       >>>>>>>>>>

Credit: http://www.manager.co.th
24 ก.พ. 55 เวลา 10:19 2,286 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...