คุณหญิงแย้ม(ทหารไทยในสงครามเกาหลี

คุณหญิงแย้ม//[ทหารไทยในสงครามเกาหลี] (เบ็ดเตล็ด)

คุณหญิงแย้ม
เลขที่ : 199075

 แจ้งลบ 
เมื่อ 23 ก.พ. 55 - 21:26 - ดู 195 ครั้ง - ตอบ 2 ครั้ง



คนไทยชอบไปเที่ยวเกาหลีเยอะมากแต่ละปี แต่คนไทยเกือบทั้งหมดที่ไปเที่ยวเกาหลี ไปเพื่อไผดูสถานที่ถ่านทำซี่รีย์ที่ตนรัก  แต่จะมีสักกี่หน่อที่ไปเยี่ยวอนุสาวรีย์ทหารไทยที่เกาหลี  ไม่มีเลย นอกจากทหารและญาติผู้เสียชีวิตไป


ยุทธการ เทือกเขา พ้อคช้อป
สามารถปรายทหารเกาหลีเหนือและจีนได้เกือบ 300 ศพ
แต่ไทยตายแค่ 25  สู้อย่างไม่กลัวจนรักษาแนวเทือกเขาที่มั่นไว้ได้จนทหารไทยได้ฉายาจาก อเมริกาว่า  Little Tiger

หรือ

"กองพันเสือน้อย"(น่ารักเชียว)  ถ้าหากเสียเทือกเขาพ้อคช้อปให้เกาหลีเหนือ กองทัพยูเอ็นจะถูกโอบตีทั้งทางตะวันตก ทั้งทางเหนือหรืออาจเรียกได้ว่า ถ้าหากไทยเสียยุทธภูมิตรงนั้น หรือถอยทัพแบบทหารเกาหลีใต้รับรองว่าพวกเราไม่ได้เห็นกรุงโซล และ ดงบังหรอก

เราเอามาจากความเรียงขั้นสูงของเราเอง เราทำเรื่องนี้ทำไปร้องไห้ไปซึ้งมาก

เมื่อเวลาประมาณ 1 ทุ่มตรง มืดสนิท ของวันที่ 26 พฤศจิกายน 2493 ณ กรุงเปียงยาง เกาหลีเหนือ อุณหภูมิติดลบ 12 องศาเซลเซียส อากาศหนาวมาก หนาวจนแข็ง โดยเฉพาะสำหรับทหารไทย ซึ่งเพิ่งรับมอบภารกิจในการระวังป้องกันสถานที่สำคัญต่างๆ ในกรุงเปียงยาง ต่อจากทหารฟิลิปปินส์  ที่รู้สึกหนาวเย็นเป็นพิเศษ เนื่องจากได้เดินทางจากประเทศไทยเมื่อ 22 ตุลาคม 2493 มาร่วมรบในสงครามเกาหลี ในตอนต้นนั้น ทหารไทยยังมีเครื่องกันหนาวไม่เพียงพอ และต้องปฏิบัติภารกิจเข้าเวรยามและลาดตระเวนในที่โล่งแจ้ง และแม้แต่ในอาคารซึ่งชำรุดพังทลายจากสงคราม ก็ไม่อาจป้องกันลมหนาวได้ 

กองกำลังทหารไทย จัดจากสามเหล่าทัพ แต่ส่วนใหญ่เป็นกำลังทหารบก คือ กองพันทหารราบ กรมผสมที่ 21 (ปัจจุบัน คือ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ซึ่งมีที่ตั้งในค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี) ได้เดินทางถึงเมืองท่าพูซาน เกาหลีใต้ เพื่อเข้าสู่สงครามเกาหลี เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2493

ในเวลาเดียวกันนั้น กองบัญชาการสหประชาชาติ มีความปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะเอาชนะสงครามให้ได้ภายในคริสตมาสปีนั้น จึงได้สั่งการเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2493 ให้กำลังทหารไทยเดินทางสู่แนวหน้าสนามรบบริเวณกรุงเปียงยางอย่างเร่งด่วน โดยไม่มีเวลาให้ทหารไทยได้ฝึกความคุ้นเคยกับอาวุธอเมริกันและสภาพอากาศหนาว เย็นได้ครบตามแผนการฝึก 8 สัปดาห์ กำลังทหารไทยถูกส่งไปขึ้นสมทบ หรือ ขึ้นการควบคุมทางยุทธการ กับ กรมผสมส่งทางอากาศที่ 187 กองพลทหารราบที่ 2 กองทัพน้อยที่ 9 สหรัฐฯ

ส่วนล่วงหน้าของกองพันทหารราบไทยเดินทางถึงกรุงเปียงยางเมื่อ 26 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ กองกำลังทหารอาสาสมัครคอมมิวนิสต์จีน เริ่มต้นการรุกตอบโต้กำลังทหารสหประชาชาติ  สงครามเกาหลีจึงไม่ได้จบภายในคริสตมาสปีนั้น แต่ดำเนินต่อเนื่องยาวนานไปอีก 31 เดือน จนกระทั่งมีการลงนามในข้อตกลงหยุดยิงทางทหาร เมื่อ 27 กรกฎาคม 2496

ประเทศไทยสูญเสียชีวิตทหารคนแรก เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2493 นับเป็นหนึ่งใน 124 ทหารไทยที่เสียสละชีวิตในสงครามเกาหลี ซึ่งยาวนาน 3 ปี กับ 1 เดือน (หลังจากการลงนามข้อตกลงหยุดยิงทางทหารเมื่อ 27 กรกฎาคม 2496 จนถึง 23 มิถุนายน 2515 มีทหารไทยเสียชีวิตเพิ่มอีก 12 คน รวมเป็น 136 คน)
กำลังส่วนใหญ่ของกองพันทหารราบไทย เดินทางถึงแนวหน้าสนามรบบริเวณกรุงเปียงยาง เกาหลีเหนือ เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2493 และได้ปะทะกับทหารอาสาสมัครจีนเป็นครั้งแรก ในพื้นที่ทางตะวันออกของกรุงเปียงยางประมาณ 30 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม กองกำลังทหารสหประชาชาติ ไม่สามารถต้านทานกองกำลังทหารจีนคอมมิวนิสต์ได้ กองพันทหารไทยได้รับคำสั่ง เมื่อ 4 ธันวาคม 2493 ให้ปฏิบัติการรบแบบร่นถอยไปทางใต้พร้อมกับทหารอเมริกัน ผ่านเมืองแกซอง และไปวางกำลังตั้งรับบริเวณเมืองซูวอน และ โอซาน ในที่สุด

หลังจากสนามรบแรก กองพันทหารราบไทยถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจหลายแบบในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภารกิจการลาดตระเวน การเข้าเวรยาม และการระวังป้องกัน ซึ่งเป็นภารกิจที่มีความจำเป็นมาก ทหารไทยต้องปฏิบัติภารกิจภายใต้การควบคุมทางยุทธการของหน่วยต่างๆของสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรหลายหน่วย นอกจากนี้ ทหารไทยยังได้ปฏิบัติการรบร่วมกับทหารเกาหลีใต้หลายครั้งอีกด้วย ประวัติการรบมีมากมายนับไม่ถ้วน ต่อไปนี้ คือ สรุปการรบของทหารไทยเพื่อชาวเกาหลีใต้ในสงครามเกาหลี

เคลื่อนที่ขึ้นเหนือสู่กรุงเปียงยาง และร่นถอยลงใต้สู่เมืองซังจู ระหว่าง 28 พฤศจิกายน 2493 จนถึง 8 มีนาคม 2494 โดยปฏิบัติการรบภายใต้การควบคุมทางยุทธการของ กรมผสมส่งทางอากาศที่ 187 ของสหรัฐฯ และต่อมาภายใต้ กรมทหารม้าที่ 5 ของสหรัฐฯ

ปฏิบัติการรุกเข้าสู่พื้นที่อ่างเก็บน้ำฮวาชน ระหว่าง 26 มีนาคม 2494 จนถึง 10 เมษายน 2994 ในฐานะกองพันทหารราบ ของ กรมทหารม้าที่ 8 กองพลทหารม้าที่ 1 ของสหรัฐฯ ไทยประสบการสูญเสียทหารจากการรบเป็นครั้งแรก ตอนต้นเดือนเมษายน 2494 เมื่อกองพันทหารไทยเข้าสู่การรบอย่างเต็มตัว เป็นครั้งแรกในพื้นที่ภูเขาทางตอนใต้ของอ่างเก็บน้ำฮวาชน

กองพันทหารไทย ได้รับคำสั่ง เมื่อ 26 มีนาคม 2494 ให้ไปขึ้นสมทบกับ กรมทหารม้าที่ 8 กองพลทหารม้าที่ 1 ของสหรัฐฯ บริเวณเมืองชุนชอน (ในปัจจุบันคนไทยจำนวนมากได้เดินทางไปเมืองชุนชอนเพื่อชมแหล่งท่องเที่ยวนา มีซอม ซึ่งเป็นเกาะที่ถ่ายทำภาพยนตร์เกาหลี เรื่อง Winter Love Song) ซึ่งต่อมาได้ถูกบรรจุเป็นกองพันที่ 4 ของกรมทหารม้าที่ 8 และ ได้รับนามหน่วยว่า สแคร็ปปี้โกลด์  ในระหว่างการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกอย่างยาวนานนั้น กองพันทหารไทยทำการรบอย่างต่อเนื่องอดทน และสามารถรุกเข้ายึดเป้าหมายได้ทุกเป้าหมายตามที่ กรมทหารม้าที่ 8 มอบให้ จนได้รับเกียรติให้เป็นหน่วยหนึ่งของกองพลทหารม้าที่ 1 ของสหรัฐฯ และสามารถประดับเครื่องหมายประจำหน่วยของกองพลได้

การรบ ณ เนินเขาพอร์คช็อป ระหว่าง 31 ตุลาคม ถึง 11 พฤศจิกายน 2495 การรบในช่วงนี้เป็นการสู้รบเพื่อแย่งยึดการควบคุมเนินเขาสำคัญและพื้นที่ได้ เปรียบทางการรบตามแนวหน้าการเผชิญกำลัง ในระหว่างที่มีการประชุมเจรจาเพื่อหยุดยิงที่หมู่บ้านปันมุนจอม การรบที่สำคัญอันหนึ่งคือ การสู้รบเพื่อแย่งยึดการควบคุมเนินเขาพอร์คช็อป ซึ่งขณะนั้นยึดครองโดยกำลังทหารไทย ที่ต้องต้านทานการรุกของกำลังทหารจีนและทหารไทยประสบชัยชนะ  ทำให้ทหารไทยได้รับเหรียญกล้าหาญ โดยเฉพาะสำหรับการรบ ณ เนินเขาพอร์คช็อบ เพียงสนามรบเดียว ถึง 39 เหรียญ นอกจากนี้ ทหารไทยยังได้รับเกียรติเพิ่มเติม ด้วยสมญานามว่า พยัคฆ์น้อย จาก พลเอก เจมส์ เอ แวน ฟลีท ผู้บัญชาการกองทัพที่ 8 ของสหรัฐฯ พยัคฆ์น้อย หมายถึง ทหารร่างเล็กที่สู้เหมือนเสือ

การรบในช่วง 31 ตุลาคม ถึง 11 พฤศจิกายน 2495 ด้วยความมุ่งมั่นที่จะยึดเนินเขาพอร์คช็อป กองกำลังทหารจีน ได้เข้าโจมตีที่มั่นของทหารไทย 5 ครั้ง โดย 2 ครั้งแรก เพื่อทดสอบกำลังตั้งรับ และ 3 ครั้งสุดท้ายเพื่อยึดเนินเขาดังกล่าวให้ได้ แต่ทั้ง 5 ครั้งต้องล้มเหลวอันเนื่องมาจาก การต่อสู้อย่างกล้าหาญและยอมตายของทหารไทยสาเหตุที่ทหารไทยชนะการสู้รบดัง กล่าวต่อทหารจีน ซึ่งมีกำลังมากกว่าอย่างมากมายนั้น  มิใช่ด้วยอำนาจการยิงสนับสนุนของกำลังฝ่ายพันธมิตรและปืนใหญ่ แต่เนื่องจาก ณ เนินเขาพอร์คช็อบในวันนั้น ทหารราบของไทย คนต่อคน ต่อสู้ด้วยมือต่อมือ เหนือกว่าทหารราบของจีน (มวยไทยแท้ๆ)

ฤดูใบไม้ผลิสุดท้าย ระหว่าง มีนาคม ถึง มิถุนายน 2496 กองพันทหารไทย ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการฝึก และเป็นกองหนุนของ กองทัพน้อยที่ 9 ของสหรัฐฯ ต่อมาทหารไทยได้ย้ายที่ตั้งหน่วยไปอยู่ที่หมู่บ้านคิวดง ทางตะวันตกของเมืองอุนชอน เมื่อ 4 พฤษภาคม 2496

การรบในพื้นที่บูมเมอแรง ระหว่าง 14 ถึง 17 กรกฎาคม 2496 ทหารไทยยังคงขึ้นสมทบกับ กรมทหารราบที่ 9 และปฏิบัติการรบในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองคึมฮวา จนกระทั่งการหยุดยิงทางทหารเมื่อ 27 กรกฎาคม 2496

สิ่งที่ทหารไทยจดจำได้ หรือ มีความประทับใจ มากที่สุด ประการแรก ความหนาว ประการที่สอง ความสับสน ประการที่สาม อเมริกัน และประการที่สี่ คนเกาหลี  คำกล่าวของทหารผ่านศึกของไทยในสงครามเกาหลีต่อไปนี้ คัดลอกมาจากหนังสือ “สงครามสำหรับเกาหลีของพวกเขา” เขียนโดย อัลแลน อาร์ มิลเลท์
สิ่งที่ทหารไทยจำได้มากที่สุดคือความหนาว ความแตกต่างของความร้อนในไทย กับ ความหนาวในเกาหลีมีสูงถึง 40 ถึง 50 องศา ซึ่งความหนาวนี้ยังไม่รวมถึง ความหนาวที่เกิดจากแรงลม การรบ และความเหงา  ทหารไทยหลายคนถึงกับรำพึงว่า แม้แต่แสงแดดในเกาหลียังหนาว
พลเอกสุรพล ต้นปรีชา นายทหารเกษียณราชการ ซึ่งเป็นผู้บังคับหมวดทหารราบในระหว่างสงครามเกาหลีเมื่อปี 2493 จำฤดูหนาวในปีนั้นได้อย่างแจ่มชัด  พลเอกสุรพล กล่าวที่กรุงเทพ เมื่อ ปี 2541 ว่า “พวกเราคนไทย ไม่เคยมีประสบการณ์กับความหนาวอย่างรุนแรงเช่นนี้มาก่อน เครื่องแบบที่ทำจากผ้าวูลของอเมริกันของเรา แม้ว่าถูกตัดให้เหมาะกับร่างกายเล็กๆ ของเราแล้ว แต่ก็หนักเกินไป และหนาวเกินไปเมื่อเปียก  เราแม้แต่จะยืนขึ้นยังยาก คงไม่ต้องพูดถึงเดิน  พวกเราไม่มีเสื้อผ้ากันหนาวที่เหมาะสม จนกระทั่งเราสามารถพัฒนาของเราขึ้นเองได้ในภายหลังในระหว่างสงคราม”

พลเอกสุรพล ก็ยังคงจำได้ว่า ทหารไทย สับสน เช่นเดียวกับทหารอเมริกัน เกี่ยวกับ การรุกอย่างหนักของกองกำลังทหารจีนคอมมิวนิสต์ ต่อ กองทัพที่ 8 ของสหรัฐฯ กองกำลังทหารไทย เดินทางมาถึงกรุงเปียงยางและปฏิบัติการบได้ไม่ถึง 10 วัน ก็ถูกสั่งให้ร่นถอย  พลเอกสุรพลกล่าวว่า “ด้วยความสับสันอย่างสมบูรณ์ พวกเราร่นถอยไปทางใต้กับอเมริกัน ไปจนถึงเมืองซูวอน เมื่อ 14 ธันวาคม พวกเราประหลาดใจว่า เราได้เข้าไปเจออะไรกันแน่” 

ทหารไทยสามารถจำการรบต่างๆได้ แต่ที่ประทับใจมากที่สุดคือการร่วมรบกับทหารอเมริกัน (ซึ่งทำให้ความเป็นมิตรระหว่างทหารอเมริกันกับทหารไทยเจริญมาได้จนทุก วันนี้) และอาหารอเมริกัน ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากอาหารไทย  พลตรีประยูร นุตกาญจนกุล นายทหารเกษียณราชการ ซึ่งเป็นผู้บังคับกองพันทหารไทย เมื่อปี 2494 ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ที่กรุงเทพ เมื่อปี 2541 ว่า
“... พวกเราได้มีโอกาสเพลิดเพลินกับอาหารของทหารบกอเมริกัน ซึ่งจัดเตรียมในครัวและขนส่งในภาชนะกันความร้อนไปให้พวกเราที่ฐานปฏิบัติการ ในแนวหน้า  เมื่อไรก็ตามที่พวกเราได้รับอาหารที่ดีจริงๆ เช่น ไอศกรีม สะเตก ไข่แท้ๆ เป็นต้น พวกเราจะรู้ทันทีว่า บางคนต้องการให้พวกเรารุกโจมตีที่หมายยากลำบาก ซึ่งปกติมักจะประกอบด้วยการลาดตระเวนรบในเวลากลางคืน  นายทหารอเมริกันระดับสูง หลายคน จะมาเยี่ยมกองพันทหารไทย ก่อนที่จะมีการปฏิบัติการ  มีรอยยิ้มและการจับมือทักทายจำนวนมาก วีไอพีมากเท่าไร จับมือกันมากเท่าไร หมายถึง ภารกิจที่อันตรายมากขึ้นเท่านั้น”

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จนกระทั่งวันนี้ ทหารไทยจำคนเกาหลีได้ และยังคงประทับใจคนเกาหลีและความเป็นมิตรที่ทหารไทยและคนเกาหลีมอบให้ซึ่ง กันและกัน  หลักฐานอย่างชัดเจน คือ อนุสาวรีย์ทหารไทยแห่งนี้ ซึ่งส่วนสำคัญ คือ รูปปั้นทหารไทยโอบกอดกับคนเกาหลี เพื่อช่วยกันเดินไปข้างหน้า สู่ชีวิตที่ยังมีความหวัง ไทยกับเกาหลี เราไปด้วยกัน  ทหารไทยจำได้ว่าคนเกาหลีต้องทนทุกข์ทรมาณอย่างหนักในระหว่างและหลังสงคราม สิ่งนี้เองทำให้ทหารไทยที่เคยมาปฏิบัติภารกิจในเกาหลีใต้ ต่างรู้สึกยินดีและมีความสุขกับคนเกาหลีในปัจจุบัน  ที่เกาหลีใต้ในวันนี้ คือ ประเทศที่ทันสมัยและรุ่งเรืองมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก  และที่คนเกาหลีวันนี้ มีความสุข และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสบาย มีเสรีภาพและประชาธิปไตย  การเสียสละของทหารเมื่อ 60 กว่าปีที่แล้ว ไม่สูญเปล่า

ที่สำคัญไทยเราได้บริจาคข้าวสารให้เกาหลีในยามสงคราม ทั้งๆที่บ้านเราก็ขดแคลนจะแย่อยู่แล้วในสมัยนั่น



Credit: สยามฮาดอดคอม
#บันทึกจากเกาหลี
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
24 ก.พ. 55 เวลา 08:00 5,394 3 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...