ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ค่าเอฟทีงวด พ.ค.-ส.ค.มีแนวโน้มปรับขึ้น หลังราคาก๊าซ-น้ำมันในตลาดโลกพุ่ง
ซ้ำยังตรึงราคางวด ม.ค.-เม.ย.ไว้ แต่เล็งดึงเงินจากการไฟฟ้ามาช่วยพยุงราคาไม่ให้สูง
เกินไป
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการ
พลังงาน (กกพ.) หรือ เรกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับเพิ่ม
สูงขึ้น ประกอบกับมีการตรึงค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) ในงวดเดือนมกราคม-เมษายน
ไว้ ดังนั้น ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติในรอบถัดไป คือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม
จึงมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม นายดิเรก ยังระบุว่า แม้ค่าเอฟทีในเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม จะมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ทางเรกูเลเตอร์จะพยายามพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ มาช่วย โดยเฉพาะ
การนำเงินเรียกเก็บจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วน
ภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กรณีที่ไม่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามแผนที่
กำหนดไว้ มาช่วยพยุงค่าไฟฟ้าไม่ให้สูงเกินไป
ด้านนายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) กล่าวว่า ปัจจุบัน
กฟผ.แบกรับภาระค่าเอฟทีงวดเดือนมกราคม-เมษายนแล้วกว่า 8,000 ล้านบาท และยังมี
ส่วนที่ กฟน. และกฟภ. ใช้ดำเนินการเรื่องให้ประชาชนใช้ค่าไฟฟรี 50 หน่วยแรกอีก
ประมาณ 3,000 ล้านบาท ดังนั้น ในปีนี้ กฟผ.จึงมีแผนการกู้เงินอีกราว 1 หมื่นล้านบาท
เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ รวมทั้งใช้ในกรณีที่หากรัฐบาลสั่งการให้ กฟผ.ตรึงค่าเอฟทีต่อ
ไปอีกในงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมนี้
ทั้งนี้ นายสุทัศน์ ยอมรับว่า ค่าเอฟทีในงวดต่อไปมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น เพราะ
ราคาก๊าซธรรมชาติปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ แต่จะปรับขึ้นเป็นเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่
กับ กกพ.จะพิจารณาส่วนเรื่องที่รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงราคาพลังงานนั้น ควรดำเนิน
การชั่วคราว ไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดการบิดเบือนในการใช้พลังงาน