นักวิทยาศาสตร์โพสต์วิดีโอลงยูทูป ฟ้องให้ผู้คนได้รับรู้ถึงปัญหาขยะของมนุษย์
ไม่ว่าจะเป็น สายรัดกล่อง ยางรัดของ สายเบ็ด อุปกรณ์ตกปลา ตาข่าย และอีก
มากมาย กำลังทำร้ายสิงโตทะเลบาดเจ็บ บางตัวเป็นแผลลึกจนคอแทบขาด
โดยกรมการประมงและกีฬาของอลาสก้า ถ่ายทอดสารคดีเกี่ยวกับผลกระทบของยาง
รัดกล่อง อุปกรณ์จับปลาและเศษขยะอื่นๆ ของมนุษย์ ซึ่งรวมถึงยางรถยนต์และถุงลม
แสดงทิศทางลม โดยเศษขยะเหล่านี้กำลังทำให้สิงโตต้องจมน้ำจากการพันเกี่ยวครีบและ
ตามร่างกายของสิงโตทะเล
ไลฟ์ไซน์ระบุว่านักวิทยาศาสตร์ที่ ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ทะเลเหล่านี้ตระหนักว่าเมื่อ
สิงโตทะเลถูกขยะพันรอบตัวมักจะได้รับบาดเจ็บหรือแม้กระทั่งเสียชีวิตจึงได้โพสต์วิดีโอ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ลงเว็บไซต์ยูทูป (YouTube) เพื่อให้ผู้คนได้รับทราบถึงปัญหา
จากการศึกษาสิงโตทะเลสเตลลาร์ตะวันออก (eastern Steller sea lion) ซึ่งอาศัยอยู่
บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ของอลาสก้าและทางตอนเหนือของบริติชโคลัมเบีย
พบว่าสายรัดกล่องพลาสติกและยางรัดของคือขยะที่พันรัดคอสิงโตทะเลมากที่สุด ขณะที่
อุปกรณ์ล่อในตกปลาแซลมอนคือขยะที่ถูกกลืนกินมากที่สุด โดยในช่วงปี 2000-2007
นักวิจัยศึกษาเรื่องนี้จากสิงโตทะเลจำนวน 386 ตัวที่ได้รับอันตรายจากขยะเหล่านี้
เลอรี เจมิสัน (Lauri Jemison) นักชีววิทยาสัตว์ป่าผู้ศึกษาเรื่องนี้และอยู่ในโครงการ
วิจัยสิงโตทะเลสเตลลาร์ของกรมการประมงและกีฬาของอลาสก้ากล่าวว่า ทีมวิจัยยัง
ประเมินจำนวนสิงโตทะเลที่ถูกขยะพันเกี่ยวน้อยกว่าที่เป็นจริง และบอกว่าพวกเขาเดิน
ทางไปยังฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอลาสก้าทุกๆ ฤดูร้อน เพื่อไปสำรวจบริเวณที่สิงโต
ทะเลออกมารวมกันบริเวณชายฝั่งและบริเวณที่ใช้ผสมพันธุ์อย่างน้อยครั้งหนึ่ง และเป็นได้
ว่าพวกเขาอาจคลาดเคลื่อนการสำรวจนับสิงโตทะเล ที่ได้รับผลกระทบขยะแต่ไม่ได้
มายังจุดที่พวกเขาเข้าไปสำรวจ
เจมิสันและทีมเขียนรายงานวิจัยเรื่องนี้ลง วารสารมารีนโฑลลูชันบูลเลติน
(Marine Pollution Bulletin) เมื่อปี 2009 ว่า ยังมีสัตว์ทะเลอื่นๆ ซึ่งรวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วย
นมทางทะเล นกทะเล และเต่าทะเล ที่เผชิญปัญหาเดียวกันกับสิงโตทะเลนี้ โดยใน
ทะเลอลาสก้านั้น สิงโตทะเลสเตลลาร์และแมวน้ำขนเฟอร์นอร์ธเทิร์นเป็นสัตว์ที่โดน
ผลกระทบจากเหล่านี้มากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท้าครีบ (pinniped) ชนิดอื่น
ไมเคิล วิลเลียม (Michael William) ผู้จัดการโครงการเกาะพริบิลอฟ (Pribilof Island)
จากหน่วยบริการประมงทางทะเลสหรัฐฯ (National Marine Fisheries Service) กล่าวว่า
แมวน้ำขนเฟอร์นั้นโดนสายรัดของพันรอบคอไม่ต่างจากสิงโตทะเล แต่แมวน้ำไม่กลืนกิน
อุปกรณ์ตกปลาเหมือนสิงโตทะเล
ระหว่างการสำรวจอย่างเข้มข้นบนอยู่เกาะพริบิลอฟในทะเลแบริงทางฝั่งอลาสก้า
วิลเลียมระบุว่านักวิจัยพบเห็นแมนน้ำขนเฟอร์ที่ถูกขยะพันเกี่ยวประมาณ 100 ตัว จาก
ประชากรแมวน้ำ 500,000 ตัวที่อาศัยเกาะดังกล่าวเป็นถิ่นที่อยู่ในช่วงหน้าร้อนและฤดู
ใบไม้ร่วง
ขณะที่สัตว์ตัวโตถูกเศษขยะเกี่ยวพันระหว่างออกหาอาหาร ลูกแมวน้ำก็อาจถูกขยะ
เหล่านี้พันเกี่ยวขณะเล่นน้ำ ลูกแมวน้ำมีโอกาสถูกขยะพันรอบคอได้สูง ซึ่งเจมิสันกล่าว
ว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาหนักสำหรับสัตว์เพศผู้ที่โตเร็วกว่า มีลำคอหนากว่าเพศเมีย
เรามีวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหานี้อย่างง่ายๆ นั่นคือ ตัดสายรัดเหล่านั้นไม่ให้เป็นวงก่อนนำไป
ทิ้ง แต่วิธีนี้ก็ยังคงเป็นปัญหาหากสัตว์กลืนกินเข้าไป วิธีแก้ปัญหาอื่นๆ เช่น ลดการทิ้งขยะ
จากเรือหาปลาและบนบก
ทั้งนี้ มีรายงานระบุว่า ในแต่ละปีมีสัตว์น้ำหลายชนิดลดจำนวนลงเป็นจำนวนมาก ซึ่ง
ปัจจัยหลัก ๆ ก็มาจากขยะและสารพิษที่ถูกปล่อยลงสู่ทะเลนั่นเอง
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.dailymail.co.uk