ไทยเป็นเจ้าภาพประชุม“เหล้าโลก”-เผยไทยอันดับ 5 ของโลก ดื่ม“เหล้ากลั่น”

เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานบรรยากาศการประชุมนโยบายแอลกอฮอล์ระดับโลก (Global Alcohol Policy Conference :GAPC) ครั้งที่ 1 ที่อิมแพค เมืองทองธานี ภายใต้หัวข้อ “จากแผนยุทธศาสตร์ระดับโลกสู่การปฏิบัติระดับชาติและท้องถิ่น” ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกของโลกที่ประเทศไทยร่วมเป็นเจ้าภาพ โดยมีหน่วยงานต่างๆ ทั้งกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) องค์การอนามัยโลก เครือข่ายนโยบายแอลกอฮอล์ระดับโลก และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มีนักวิชาการ ทั้งภาคสาธารณสุข ภาครัฐ นักรณรงค์ต่างๆเข้าร่วมกว่า 1,200 คนจาก 59 ประเทศ อาทิ เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย นิวซีแลนด์ สก็อตแลนด์ ไอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น


นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข(สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน ว่า การประชุมครั้งนี้นับเป็นความพยายามครั้งสำคัญ ในการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก(WHO) ระบุมีประชากรทั่วโลกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 2,000 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรโลก เฉลี่ยดื่มคนละ 6.13 ลิตร ซึ่งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอันตรายและเป็นสาเหตุให้เกิดโรคในประชากรทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนามากกว่า 60 โรค  
สำหรับประเทศไทย พบว่าคนไทยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นอันดับที่ 40 ของโลก โดยเฉพาะเหล้ากลั่น ดื่มมากเป็นอันดับ 5 ของโลก โดยมีผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 16.2 ล้านคน เฉลี่ยดื่มคนละ 58 ลิตรต่อปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก 9 เท่าตัว   


ด้าน ดร. ซันดารัม อรุลราช ( Dr.Sundaram Arulrhaj) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไม่ติดต่อของอินเดีย กล่าวในการประชุมกลุ่มย่อยหัวข้อ “แอลกอฮอล์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” ให้ข้อมูลว่า โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD ) ทั้งมะเร็ง หัวใจ ปอด เบาหวาน รวมถึงการเผาผลาญอาหารที่ไม่สมบูรณ์ด้วยนั้น โดยพบว่าร้อยละ 60 ที่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อพบว่า ล้วนมีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ ร่วมกับการสูบบุหรี่ และการบริโภคอาหารขยะ

น่าสังเกตว่า อัตราการเสียชีวิตจะพบมากในผู้มีรายได้ต่ำ และพบว่าเพศหญิงมีการดื่มสุรามากขึ้นด้วย จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่าอัตราการเกิดโรคหัวใจมีประวัตุการดื่มแอลกอฮอล์เกิดขึ้นในเพศชาญร้อยละ 23 และเพศหญิงร้อยละ 18

"เหล้าจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งหรือไม่นั้น ในภาพรวมยังไม่มีรายงานวิชาการรองรับ แต่มีข้อมูลว่า ผู้ที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 10 เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งได้ เพราะกลไกการบริโภคนั้น จะทำให้เนื้อเยื่อเสียหาย โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่ หากได้รับทั้งพิษจากเหล้า และสารนิโคติน โดยหากได้รับทั้งสองปัจจัยร่วมกันอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งด้วย" ดร. ซันดารัม กล่าว

 


 



 

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...