คณะนักวิทยาศาสตร์รัสเซียค้นพบทะเลสาบน้ำจืด ซ่อนตัวอยู่ลึกเกือบ 4 กม. ใต้ทุ่งน้ำแข็งแถบขั้วโลกใต้ราว 20 ล้านปี ถือเป็นการค้นพบสำคัญที่จะช่วยค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์อื่นๆ ในจักรวาล
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ว่า คณะนักวิทยาศาตร์รัสเซีย
แห่งสถาบันวิจัยอาร์คติกและแอนตาร์คติก (เอเออาร์ไอ) เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เปิดเผย
การค้นพบทะเลสาบน้ำจืดวอสต๊อค ที่ซุกซ่อนตัวอยู่ลึกเกือบ 4 กม. ใต้ทุ่งน้ำแข็งทวีปแอน
ตาร์คติกแถบขั้วโลกใต้ประมาณ 20 ล้านปี หลังใช้เวลาขุดเจาะนานกว่า 20 ปี
นายวาเลอรี ลูคิน ผอ. เอเออาร์ไอ เผยว่า คณะนักวิจัยของสถาบันเริ่มทำการขุดเจาะทุ่ง
น้ำแข็งแอนตาร์คติก ด้วยเครื่องขุดเจาะพิเศษขนาดยัก 5-จี เมื่อกว่า 20 ปีก่อน และเพิ่งจะ
ถึงจุดหมายเมื่อวันอาทิตย์ (5 ก.พ.) ที่ผ่านมา โดยทะเลสาบน้ำจืดวอสต๊อคอยู่ลึกใต้พื้น
ผิว 3,769.3 เมตร ขนาดพื้นที่ส่วนกว้าง 50 กม. ส่วนยาว 250 กม. ใกล้เคียงกับทะเล
สาบออนแทริโอในทวีปอเมริกาเหนือ และนับเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่สุด ในบรรดา
ทะเลสาบที่มนุษย์สำรวจพบเกือบ 400 แห่ง ที่กระจัดกระจายซ่อนตัวอยู่ใต้ทุ่งน้ำแข็งของ
ทวีปแอนตาร์คติก
นายลูคิน เผยอีกว่า การค้นพบทะเลสาบที่ถูกโดดเดี่ยว ไม่มีใครแตะต้องมานานถึง 20
ล้านปี ถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญ ที่สร้างความตื่นเต้นแก่วงการนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
เนื่องจากทะเลสาบแห่งนี้มีระบบนิเวศน์ทางน้ำแบบจำเพาะ อาจจะมีร่องรอยสิ่งมีชีวิตจาก
อดีตอันยาวนาน และช่วยในการค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในห้วงจักรวาล
อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยที่ปักหลักอยู่ที่สถานีวอสต๊อคในแอนตาร์คติก จะรอเก็บตัวอย่าง
น้ำจากทะเลสาบ ที่จะขึ้นมาตามท่อเจาะระหว่างเดือน ธ.ค. ปลายปีนี้จนถึงเดือน ม.ค.
ปีหน้า และตัวอย่างน้ำไม่สามารถนำกลับไปรัสเซียโดยทางเครื่องบินได้ เนื่องจากข้อ
จำกัดด้านของเหลวบนเที่ยวบิน ดังนั้นจึงต้องส่งไปโดยเรือเรือวิจัย ซึ่งจะเดินทางถึง
รัสเซียอย่างเร็วสุดในเดือน พ.ค. 2556 ก่อนจะทำการตรวจสอบตัวอย่างน้ำในห้องวิจัยต่อ
ไป.
dailynews