อย่างไรก็ดี สิ่งก่อสร้างที่เอียงที่สุดยังคงเป็นของหอคอยที่เชื่อมกับโบสถ์แห่งหนึ่งที่หมู่บ้านเซอร์ฮูเซน ทางตอนเหนือของเยอรมนี โดยหอคอยที่มีหลังคากระเบื้องสีแดงแห่งนี้ เอียงตัวออกห่างจากอาคารโบสถ์ที่อยู่ติดกันถึง 5.19 องศา กระทั่งกินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ดส ต้องมอบตำแหน่งหอคอยที่เอียงที่สุดในโลกให้อย่างไม่มีข้อโต้แย้ง แต่ใช่ว่าชาวเยอรมันบางส่วนจะเห็นเดียวกับคำยกย่องดังกล่าว โดยหนังสือพิมพ์ เดอะ สปีเกลของเยอรมนี รายงานในบทความว่าน่าจะมีอย่างน้อยอีก 3 หอคอยในเยอรมนีที่น่าจะเอียงในระดับที่มากกว่า บ้างก็เชื่อกันว่าผู้ที่ครองแชมป์ที่แท้จริงคือหอคอยในสวิตเซอร์แลนด์ หอคอยดังกล่าวตั้งอยู่ในเขตแนวเขาเซนต์ มอริตซ์ เชื่อว่าสร้างตั้งแต่ราวคริสตศตวรรษที่ 12 เป็นที่รู้จักของชาวบ้านว่า "หอคอยเซนต์ มอริเชียส" ซึ่งเดิมอยู่เคียงข้างกับโบสถ์หลังหนึ่งที่พังลงไปแล้ว หอคอยมีความเสี่ยงที่จะพังลงได้ทุกขณะ เพราะไม่เพียงแต่ตั้งอยู่บนเนินเท่านั้น แต่ความเอียงจนน่ากลัวของมัน ทำให้ทางการท้องถิ่นต้องใช้รถไฮโดรลิก มาคอยปรับให้มันตั้งตรงทุกๆปี
ปีเอโตร บารักชี ทำหน้าที่ดูแลหอคอยขนาดความสูง 32.4 เมตร ดังกล่าวมานานกว่า 35 ปี เขาจะมายังหอคอยแห่งนี้เดือนละครั้ง เพื่อตรวจเช็คเครื่องมือที่ใช้วัดระดับความเอียง ก่อนที่จะแจ้งผลไปยังมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีที่เมืองซูริก เพื่อตรวจสอบไม่ให้มันเอียงมากเกินไปจนพังครืนลงมา เขากล่าววว่าครั้งหนึ่งหอคอยแห่งนี้เกือบพังครืนลงมา หลังเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเขตฟรุยลีของอิตาลี เมื่อปี 1976 กระทั่งทางการต้องให้ประชาชนท้องถิ่นออกมาหยั่งเสียงว่าควรทำลายหอคอยนี้ทิ้งลงหรือไม่ ซึ่งผลปรากฏว่าประชากรกว่าร้อยละ 84 ลงคะแนนให้รักษามันไว้ต่อไป ต่อมาจึงมีการเสริมคอนกรีตไว้บริเวณฐานของมัน และในปี 1983 เริ่มมีการนำรถไฮโดรลิก มาปรับให้มันมีระดับเอียงน้อยลง และมีการเสริมฐานของมันอีกชั้นเพื่อความมั่นคง
.
หอคอยเซนต์ มอริเชียส
นายอเล็กซานเดอร์ พุซริน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซูริกกล่าวว่า ไม่ว่ามันจะเป็นหอคอยที่เอียงที่สุดในยุโรป ที่มีระดับความเอียง 5.364 องศาหรือไม่ แต่ก็เริ่มมีการเตรียมการเพื่อปรับให้มันตั้งตรงภายในปี 2013 แล้ว เขากล่าวว่า สาเหตุของการเอียงของหอคอยเกิดจากหลายสาเหตุ แต่สำหรับหอคอยแห่งนี้ เกิดจากการที่มันตั้งอยู่บนเนินเขาที่มีความลาดเอียง และมีการเคลื่อนที่ของแผ่นดินอย่างต่อเนื่องลงสู่ทะเลสาบที่ติดอยู่กับแนวเขาเซนต์ มอริตซ์ ทั้งนี้ แนวแผ่นดินดังกล่าวมีขนาดความยาวราว 1.6 กม. และกว้างราว 800 เมตร เคลื่อนที่เป็นระยะทางประมาณ 45 ซม.ต่อปี
ชาวบ้านรายหนึ่งซึ่งมีบ้านเรือนอยู่ในบริเวณใกล้เคียงหอคอยกล่วว่า เธออาจต้องย้ายออกจากบ้านหลังนี้ภายในสิ้นปี เนื่องจากพื้นบ้านของเธอเริ่มปรากฏรอยแตกให้เห็นทั่วไปแล้ว ขณะที่อาคารใหม่ๆที่สร้างในภายหลัง มีการออกแบบให้ทนทานต่อการเคลื่อนของแผ่นดิน ส่วนอาคารในยุคเก่า จะต้องถูกรื้อออกไปในไม่ช้า เพื่อให้ทางการสามารถอัดฉีดคอนกรีตลงไปบริเวณแนวเลื่อนดังกล่าว ร่องรอยแตกปรากฏให้เห็นทั่วไปตามถนนและทางเท้า ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณูปโภค อาทิ น้ำประปาและไฟฟ้า
.
หอคอยและเมืองกำลังเอียงลงสู่ทะเลสาบเป็นระยะทางราว 45 ซม.ต่อปี
ส่วนสถานการณ์ของหอคอยปิซา กลับแทบจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆจากภัยธรรมชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานท่องเที่ยวเมืองปิซาเผยว่า ตัวเลขนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวมาเยือนหอคอยกว่า 426,000 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ที่ 402,000 คน
ขณะที่หอคอยที่เมืองเซนต์ มอริตซ์ ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเยี่ยมชมเช่นกัน กลับไม่มีใครสนใจนับจำนวนนักท่องเที่ยวที่แท้จริง เมื่อสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่สำนักงานการท่องเที่ยวของเมืองว่า เคยยื่นเรื่องไปยังกินเนสส์ บุ๊กหรือไม่ กลับได้คำตอบว่า ไม่มีใครคิดจะทำเช่นนั้น แต่คนที่นี่เชื่อว่าหอคอยยังคงเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่
เมื่อมาถึงจุดหนึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าที่สุดแล้ว การแข่งขันว่าของใครจะ"เอียง"กว่ากัน ก็จะกลายเป็นเองที่ไม่มีสาระใดๆ ตราบใดที่มันยังโดนรุกรานจากมนุษย์ เพราะที่สุดแล้วทุกอย่างก็จะเหลือแต่ซาก
ในปี 2005 หอคอยเซนต์ มอริตซ์ มีความเอียงถึง 5.4 องศา ซึ่งมากกว่าแชมป์อย่างหอคอยในเซอร์ฮูเซน ก่อนที่จะมีการปรับระดับลงให้เหลือ 5.08 องศา ซึ่งนายพุซรินกล่าวว่า เขาจะไม่ยอมปล่อยให้หอคอยแห่งนี้เอียงไปมากกว่าระดับ 5.36 องศาเด็ดขาด
ด้านบาทหลวงแฟรงค์ วาซเซล ซึ่งดูแลหอคอยในเซอร์ฮูเซน กล่าวว่า การแข่งขันกันว่าใครจะเป็นผู้ครองสถิติเอียงที่สุดเป็นเรื่องที่ไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด เพราะที่สุดแล้วผลประโยชน์ที่ได้ก็ไม่คุ้มหากสักวันมันต้องพังลง แม้ว่าที่ผ่านมารายได้ของโบสถ์จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 เท่า และมีนักท่องเที่ยวจากแดนไกลทั้งเกาหลี และญี่ปุ่นมาเยือนก็ตาม
เครดิต
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1328783690&grpid=&catid=06&subcatid=0600