ปืนสั้น และปืนกลเบา ในสมัยสงครามโลก

 

M1911A1

 

 

ปืนเวอร์ชั่น     : M1911A1
บริษัท          : COLT
ประเทศ        : USA
กระสุน         : .45ACP
เเม็กกาซีน     : 7 นัด
ระบบการยิง    : SEMI-AUTO
น้ำหนัก         : 1.08 Kg
ฟังก์ชัน         : กล้อง ZOOM ระยะใกล้ถึงไกล , กระบอกเก็บเสียง , ศูนย์เลเซอร์ ,ไฟฉาย

 

ประวัติ 

ปืนพก M1911 ของบริษัท COLT สัญชาติอเมริกา ปืนในภาพเป็นซีรี่ย์ 80 ปืนรุ่น M1911 ถือว่าเป็นปืนที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จนคนเขาเรียกว่าเป็นปืนสงครามร้ายแรง ปืน M1911 มีชื่อเสียงและตำนานดังมายาวนานจนถึง 100 ปีกว่าได้ จนปัจจุบันปืนนี้ก็ได้ถูกแพร่หลายไปหลายบริษัทปืนเลยทีเดียวในการสร้างปืนโคลนให้เหมือน M1911 มันมีหลายรุ่น หลายซี่รี่ย์หลายบริษัทมากที่ผลิตปืนแบบนี้ เช่น บริษัท KIMBER , LLAMA , PARA ORDNANCE เป็นต้น ซึ่งบางหลายบริษัทต่างก็สร้างเลียนแบบปืน M1911 แล้วดัดแปลงลงส่วนที่ดีแปลกใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกให้ต่างจากบริษัทอื่น เป็นปืนที่นิยมแก่นักกีฬายิงปืนโดยเฉพาะ จนปัจจุบันปืนนี้ก็ยังไม่ตกยุคเพราะหลายบริษัทพัฒนามันอยู่เรื่อยๆ จนเป็นที่รู้จักมากขึ้น

รูปทรงดั้งเดิมของปืนแบบ 1911 นั้น ตั้งใจให้เป็นปืนทหารใช้ออกรบ การออกแบบต้องมีความบึกบึน แข็งแรง ทนทาน ซึ่งมีผลกับรูปแบบและขนาดของปืน แต่ด้วยความที่ออกแบบมาเมื่อหนึ่งร้อยปีที่แล้ว คนสมัยนั้นจะทำอะไรก็ต้องมีเส้นสายที่อ่อนช้อยปนอยู่ ในสายตาความคิดของเขาเสมอ ดังนั้น แม้ 1911 จะเป็นปืนสงคราม แต่รูปแบบโดยรวม ก็ยังมีเส้นโค้งมนพองาม คือเส้นตรงตามสมัยนิยมและความจำเป็นในการผลิต/การทำงาน เส้นโค้งลดความแข็งของการมอง และเป็นส่วนที่ให้มือจับได้พอเหมาะพอเจาะ 

ปืนของบริษัท COLT รุ่น M1911 ส่วนใหญ่จะทำจากเเสตนเลส เป็นปืนต่อสู้ที่มีความสมบุกสมบันมาก ระบบความปลอดภัยถือว่าดี คุมปืนง่ายแล้วไม่ยากเกินไป แรงสะท้อนก็นุ่มนวล ศูนย์เล็งก็ประณีตใช้ได้ มีความคล่องตัวและความถนัดในการจับถือสูงมาก โครงปืนทำออกมาประณีตสวยงามใช้ได้เหมือนกัน มีความแม่นยำสูงเนื่องจากใช้กระสุน .45ACP ความแม่นยำของกระสุนจะมากกว่า 9MM พลังทำลายก็ถือว่าสูงเอาการ เพราะมีหลักการในถ่ายโอนพลังงานเป็นจลใส่เป้าหมายได้ดี เป้าหมายที่โดนยิงอาจจุกได้ กระสุน .45ACP ก็คือ กระสุน 11MM ที่เมืองไทยเข้าเรียกกันนั้นเอง แต่ปืนรุ่นนี้เสียอย่างหนึ่งบรรจุกระสุนน้อย

 

 

LUGER P08

 

 

 

ปืนเวอร์ชั่น     : GOLD LUGER P08 
บริษัท           : LUGER
ประเทศ         : GERMANY
กระสุน          : 7.65 MM , 9 x 19 MM PARABELLUM
เเม็กกาซีน     : 7/8/25 นัด
ระบบปฏิบัติการ : SINGLE ACTION
ระบบการยิง    : SEMI AUTO
น้ำหนัก         : 0.8 Kg - 1.1 Kg 
ฟังก์ชัน         : รังกระสุนรูปทาก +25นัด

ประวัติ

ปืนนี้จริงๆ เป็นปืน P08 เวอร์ชั่นปืนทองคำของบริษัท LUGER สัญชาติเยอรมัน ใช้กระสุน 9 MM กับ 7.65 MM เป็นปืนพกที่มีความสวยงามและมีเอกลักษณ์ทางด้านศิลปะสูง ด้วยลวดลายแกะสลักภาพปืนอย่างสวยงามประณีต โครงปืนหน้าจะทำจากทองคำเยอะ รูปร่างสวยน่าจับน่าชมน่าสัมผัสมาก มีความคลาสสิคมากๆ ความรุนแรงอยู่ในระดับพอใช้ถึงปานกลาง 

P08 เป็นปืนที่ได้รับความนิยมมากแล้วถูกสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ จนในปัจจุบันก็ยังเห็นมีขายตามร้านขายอาวุธบางแห่งหลายร้าน แล้วดัดแปลงให้เท่และทันสมัยขึ้นกว่าเมื่อก่อน แถมยังถูกหลายประเทศนำไปลอกเลียนแบบ

แถมปืน P08 ยังมีแม็กกาซีนบรรจุกระสุนเป็นรูปหอยทากซึ่งบรรจุกระสุนได้ 25 นัด

 

 

Webley Revolver MK 4

 

 

 

ปืนเวอร์ชั่น       : WEBLEY MK VI
บริษัท             : W&S
ประเทศ           : GREAT BRITAIN
กระสุน            : .455 WEBLEY 
บรรจุกระสุน     : 6 นัด
น้ำหนัก           : 1 Kg
ระบบปฏิบัตการ : DOUBLE ACTION
ระบบการยิง      : SEMI-AUTO
อัตราการยิง      : 20-30 RPM 
ระยะหวังผล      : 40 เมตร
ระยะยิงไกลสุด : 290 เมตร
ฟังก์ชัน : ศูนย์เลเซอร์ 

ประวัติ

ปืน พกลูกโม่ประจำตัวของทหารอังกฤษมีใช้ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ประจำการปี 1915-1947 มี นน.ที่เบามากใช้ง่ายไม่ต้องใช้การฝึกอะไรมากเป็นที่นิยมมากและยังคงถูกใช้ใน บางส่วนของโลกอยู่ ผู้ออกแบบ Webley and Scott = W&S สัญชาติอังกฤษ 

Webley เป็นปืนลูกโม่หักคอใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1-2 ขนาด.455 ถ้าใครที่มีบรรพบุรุษเป็นทหารในสงครามโลกครั้งที่1น่าจะมีในบ้านนะครับ อานุภาพของกระสุน .455 WEBLEY ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำอยู่ในเรื่องแรงปะทะของกระสุนเพียงแค่ 300 จุล

 


 

Tokarev TT-33

 

ประเภท           : Semi-automatic Pistol

ผู้ใช้               : โซเวียต

ประจำการปี       : 1930-1951

จำนวนผลิต        : ประมาณ1,700,000 กระบอก

หนัก               : 840 g.

ยาว                : ลำกล้องยาว196/166 mm.

ขนาดกระสุน      : 7.62x54 mm.

บรรจุ              : 8 นัด Box Magazine

ระบบการทำงาน   : Single action

 ฝ่าย               : เยอรมัน (นาซี)

 ประวัติ

ปืนพกประจำกายมาตรฐานของทหารกองทัพแดงปืนชนิดนี้ได้รับการพัฒนามาจากปืน M1911 ของสหรัฐโดยตัดแปลงทำให้มันใช้งานได้ดีขึ้นง่ายขึ้นและทนทานมากขึ้น

 

 

WALTHER P38

 

 
๙ มม.พาลาเบลลั่ม ผลิตในปี ค.ศ. ๑๙๓๙ โดย บ.วัฟเฟ่นฟาบริค. คาร์ล วอลเธอร์ ซึ่งเป็นบริษัทแรกที่ผลิตปืนออโต้ระบบดับเบิลแอคชั่น โดยเลือกระบบขัดกลอนหน่วงเวลา แบบ “Locked Block” หรือ วอลเธอร์ บล็อก แอคชั่น มาใช้กับ WALTHER P38 นับเป็นปืนที่ได้รับผลิตออกมามากรุ่นหนึ่งทีเดียว โดยผลิต ในปี ค.ศ. ๑๙๔๐-๑๙๔๕ ขึ้นมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่สองครั้งแรก ถึง ๔๗๕,๐๐๐ กระบอก และผลิตโดยโรงอื่นอีก ๕๗๕,๐๐๐ กระบอก เพื่อให้ทันกับการสั่งเข้าใช้งาน ปัจจุบันเป็นปืนที่หาได้ยากมาก

 

 

 

M3A1

 

ประเภท : Submachine Gun (SMG)

ผู้ใช้ : สหรัฐฯ

ประจำการปี : 1942-1994

จำนวนผลิตประมาณ : 2,000,000 กระบอก

หนัก : 3.7 kg.

ยาว : 570 mm.stock retracted, 745 mm.stock extended

ลำกล้องยาว : 203mm.

ขนาดกระสุน : .45 ACP.

บรรจุ : 30 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน : Blowback

อัตรายิง : 400-450 นัด/นาที

ระยะหวังผล : ~50 m

 

ประวัติ 

ปืนกลมือ M3 หรือชื่อเล่นที่ทหารสหรัฐฯเรียกก็คือ Grease Gun ระบบปฏิบัติการแบบ Blowback ในการยิง ความจุ 30 นัด/แมกกาซีน 

ปืนกล M3 เป็นปืนที่นิยมใช้กันในหน่วยพลร่ม หน่วย Ranger ,Green Beret และทหารนาวิกโยธินของฝ่ายสหรัฐฯรวมทั้งหน่วย SAS ของอังกฤษ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยปืนกลมือ UZI และ H&K MP5-SD เนื่องจากมีความสะดวกต่อการพกพาและมีความแม่นยำที่สูงกว่า

 

 

THOMPSON M1

 

ปืนเวอร์ชั่น     : THOMPSON M1
บริษัท           : AUTO-ORDNANCE
ประเทศ         : USA
กระสุน          : .45 ACP 
บรรจุกระสุน    : 20-30 นัด
น้ำหนัก         : 4.8 Kg
ระบบปฏิบัติการ : BLOWBACK , FRICTION LOCK
ระบบการยิง    : FULL AUTO
อัตราการยิง    : 700 RPM 
ระยะหวังผล    : 75 เมตร
ระยะยิงไกลสุด : 150 เมตร
ฟังก์ชัน         : ศูนย์เลเซอร์ , ไฟฉาย

ประวัติ 

 


ปืนกลมือ THOMPSON M1 หรือเรียกชื่อหนึ่งว่า TOMMY GUN , CHOPPER , CHICAGO TYPEWRITER , CHICAGO PIANO นั้นเอง สัญชาติอเมริกา ผู้ผลิตโดย JOHN T. THOMPSON ปืนกลพวกทอมสันจะมีหลายฉายามาก ถูกผลิตมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดทำให้กองทัพในตอนนั้นไม่สนใจในการใช้ในช่วงแรกปืนนี้ถูกใช้ในกลุ่ม มาเฟียแต่พอสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นทางกองทัพจึงนำมันมาใช้มันเป็นปืนที่ นน. เบามีการยิงกระสุนได้เร็วแต่ความแม่นยำไม่มากและมีการส่ายของลำกล้องสูงมาก เวลายิงเร็วๆ เป็นปืนที่ทหารนิยมใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 มากที่สุด จำนวนผลิต ประมาณ 2,000,000 กระบอก ปืนทอมสันนั้นจะนิยมใช้ไปตามหลายหน่วยงานและกองทัพมากในสมัยก่อน อานุภาพของมันที่ใช้กระสุน .45 ACP ก็ถือว่าสูงมากเอาการเลย อำนาจในการถ่ายโอนพลังงานใส่เป้าหมายถือว่าเยี่ยมมากคนธรรมดาโดนยิงด้วย กระสุน .45 แค่ 1-2 นัดก็นอนตายแล้ว ซึ่งเหนือกว่ากระสุน 9 MM นั้นเอง ซึ่งถือว่าอำนาจในการหยุดยั้งอยู่ในเกณฑ์ดีเชียวล่ะ ส่วนความทนทานถือว่าเป็นเยี่ยมใช้ได้ ลุยน้ำได้เหมือนพวกปืน M1 GARAND กับ M1903 นั้นเอง ที่ไว้ใช้ในสงครามบนน้ำเลยก็ว่าได้

 

 

THOMPSON M1927

ปืนเวอร์ชั่น     : THOMPSON M1927
บริษัท           : AUTO-ORDNANCE
ประเทศ         : USA
กระสุน          : .45 ACP
พลังทำลาย    : สูง
บรรจุกระสุน    : 20/30/50/100/120 นัด
น้ำหนัก         : 4.9 Kg
ระบบปฏิบัตการ : BLOWBACK
ระบบการยิง    : FULL AUTO
อัตราการยิง    : 700 RPM
ระยะหวังผล    : 75 เมตร
ระยะยิงไกลสุด : 150 เมตร
ฟังก์ชัน         : ศูนย์เลเซอร์ , ไฟฉาย , DRUM MAGAZINE

ประวัติ

เป็น ปืนกลมือทอมป์สัน รุ่น M1927 ผลิตเมื่อปี 1927 เป็นรุ่นที่พัฒนามาก่อน M1928 ตลับกระสุนของรุ่น M1927 เพิ่งจะมีการพัฒนาในภายหลัง สามารถบรรจุกระสุนได้ 100-120 นัด
นิยมเรียกตลับกระสุนนี้ว่า DRUM MAGAZINE

ในยุคแรกที่ กระสุนขนาด .45 ACP ได้ถือกำเนิดขึ้นมา กระสุน .45 เมื่อนำมาจะมีปัญหาเรื่องการเสียรูปทรงของกระสุน ทำให้การบรรจุกระสุนเข้ารังเพลิงมีปัญหามาก
จนในที่สุดนาย John T. Thompson ก็ได้แก้ปัญหานี่ได้และออกแบบและประดิษฐ์ปืนกลมือขึ้นมานั่นคือ "ปืนกลมือ Thompson Submachinegun หรือ M1928"

ปืนกลทอมป์สันใช้ กระสุนขนาด .45 ACP ใช้ระบบปฏิบัติการแบบ Friction lock (รุ่นแรก) และ Blowback-operated (ในรุ่น M1/M1A1) ความจุ 20-30 นัดสำหรับแมกกาซีนธรรมดา
และ 50-100 นัดสำหรับแมกกาซีนแบบ Drum ครับ เป็นปืนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากอำนาจการหยุดยั้งที่ไว้ใจได้ของกระสุนขนาด .45
ซึ่งมีอานุภาพในการหยุดยั้งเป้าหมายสูงพวกทหารญี่ปุ่นโดนกระสุนขนาด .45 เข้าไป 1-2 นัด ถึงกับล้มลงไปนอนเลยคับ และการถอดล้างที่ทำได้ง่ายด้วย
แต่มันก็มีข้อด้อยด้วยคือความแม่นยำที่ลดลงไปมากเมื่อยิงในระยะเกิน 50 หลาขึ้นไป ซึ่งปืนกลมือทุกกระบอกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เจอเหมือนกันหมด

ปืนกล THOMPSON เคยผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเเล้ว รวมไปถึง สงครามบอสเนีย สงครามจีน สงครามเวียดนาม สงครามอินโดจีน สงครามเกาหลี อารหับ อิสราเอล
ศึกเคยผ่านศึกสงครามหลายประเทศมาเเล้วนับไม่ถ้วยเจ้ากล THOMPSON กะบอกนี้นั้นเอง

 

 

Sten gun

 

ประเภท          : Submachine Gun (SMG)

ผู้ใช้              : อังกฤษ

ประจำการปี      : 1941-1960

ผู้ออกแบบ      : Major Reginald V. Shepherd Harold J. Turpin

หนัก              : 3.18 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว : 760/196mm.

ขนาดกระสุน    : 9 mm. Luger Parabellum

บรรจุ             : 32 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน : Blowback

อัตรายิง          : ~500นัด/นาที

ระยะหวังผล     : 64 m.

 

ประวัติ

ปืนกลมือที่กองทัพอังกฤษใตลอดสงครามโลกครั้งที่2ไปจนถึงสงครามเวียดนามด้วยที่มันมีลักษณะเล็ก นน. เบากระทัดรัดใช้ง่ายมันจึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว

 

 

PPSH-41

 

ประเภท          : Submachine Gun (SMG)

ผู้ใช้               : โซเวียต

ประจำการปี      : 1941-ปัจจุบัน

ผู้ออกแบบ       : Georgii Shpagin

จำนวนผลิต      : ประมาณ 6,000,000 กระบอก

หนัก               : 3.63 kg.

ยาว                : ลำกล้องยาว843/269mm.

ขนาดกระสุน     : 7.62x25 mm.

บรรจุ               -71นัด Drum Magazine

                    -35 นัด Box Magazine

ระบบการทำงาน : Blowback

อัตรายิง          : 900นัด/นาที

ระยะหวังผล     : ~200 m.

 

ประวัติ 

ปืนกลมือของกองทัพบกโซเวียตมีอัตราการยิงต่อเนื่องสูงมากบรรจุกระสุนได้เยอะมากความแม่นยำต่ำไม่เหมาะกับการยิงระยะไกลแต่เหมาะกับการต่อสู้ระยะประชิดและใช้ในหลายประเทศเช่นเวียดนามเหนือหรือเกาหลีเหนือ

 

 

MP 40

 

 

  

ประเภท                   : ปืนกลมือ
ถิ่นกำเนิด                : นาซีเยอรมัน
ระยะเวลาประจำการ   : 1939-1945

Credit: http://bossbaz.siam2web.com/?cid=1041242
#ปืน #สงคราม #ยิง
The punisher
เจ้าของบทประพันธ์
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
8 ก.พ. 55 เวลา 09:06 14,208 2 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...