ช่องเขาขาด' อดีตเศร้าเชลยศึกสงครามโลก

หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวย้อนประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เดินตามร่องรอยอดีตส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายมรณะที่กาญจนบุรี

ในเมืองไทย ร่องรอยของสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏชัดเจนมากที่จังหวัดกาญจนบุรี เช่น

สะพานข้ามแม่น้ำแคว หรือสุสานทหารสัมพันธมิตร แต่ก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทาง

ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอีกแห่ง นั่นคือ 'อนุสรณ์สถานช่องเขาขาด' หรือ 'ช่องไฟนรก'

(Hellfire Pass) ซึ่ง 'เคทีซี' หรือบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยนางพิทยา

วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงาน Synergy Business จัดทริป “KTC

Journey Story @ Kanchanaburi” พาคณะสื่อมวลชนไปเยี่ยมเยือน

บริเวณช่องเขาขาด เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยเป็นสถานที่ซึ่งทหารญี่ปุ่นบังคับให้

เชลยศึกที่เป็นชาวออสเตรเลีย อังกฤษ ดัตช์ และอเมริกา รวมทั้งแรงงานชาวเอเชียมาส

ร้างทางรถไฟจากประเทศไทยไปพม่า เพราะญี่ปุ่นเห็นว่า การส่งกำลังที่ปลอดภัยกว่าเส้น

ทางเดินเรือทางทะเล คือ ทางรถไฟ จึงตัดสินใจสร้างทางรถไฟในระยะทางราว 415

กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่บ้านโป่งไปจนถึงตันบูซายัดในพม่า

ทว่าการสร้างทางรถไฟในสมัยสงครามโลกครั้งนั้น ทหารญี่ปุ่นสั่งให้เชลยศึกทำงานด้วย

ความเร่งรีบตลอดทั้งวัน ส่งผลให้เชลยศึกเสียชีวิตประมาณ 12,399 คน จากจำนวนราว 6

หมื่นคน เพราะขาดแคลนอาหาร กินแค่ข้าว ผักแห้ง และปลาแห้งเพียงเล็กน้อย และขาด

สิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ ล้มป่วยด้วยโรคระบาด อีกทั้งทหารญี่ปุ่นที่ดูแลการ

ก่อสร้างยังทำทารุณกรรมต่อเชลยศึกด้วย

ความน่าสะเทือนใจที่เกิดขึ้นบริเวณช่องเขาขาด จนถูกขนานนามว่า ช่องไฟนรก

เนื่องจากในห้วงเวลาเร่งด่วนที่เชลยศึกต้องเร่งสร้างทางรถไฟให้เสร็จตามกำหนดใน

เดือนสิงหาคม พ.ศ.2468 โดยในช่วงนั้น ทุกค่ำคืนที่ช่องเขาขาด มีแสงวาบๆ จากกองไฟ

ส่องกระทบร่างที่ผอมโซของเชลยศึกและคนงาน จัดเป็นสภาพที่น่าเวทนา จึงเป็นที่มา

ของชื่อช่องไฟนรกนั่นเอง

นายเจ จี ทอม มอร์ริส อดีตเชลยศึกชาวออสเตรเลีย ผู้รอดชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่ 2

คือผู้ที่กลับมาหาที่ตั้งของช่องเขาขาด ในที่สุดเขาได้เสนอข้อมูลต่อรัฐบาลออสเตรเลีย

เพื่อรองรับและสร้างพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ ที่สำคัญเพื่อระลึกถึงผู้ที่ได้

รับความทุกข์ระทม หรือเสียชีวิตระหว่างก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ

สำหรับพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานช่องเขาขาด เปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการตั้งแต่

ปี พ.ศ.2542 มีทั้งในส่วนของอาคารพิพิธภัณฑ์ และทางเดินไปชมช่องเขาขาด ที่สำคัญ

ระหว่างทางเดินยังมีจุดให้ฟังบรรยายผ่านหูฟังส่วนตัวเป็นระยะ ได้ทั้งความรู้ประวัติศาสตร์

และเรื่องราวความทุกข์ทรมานของเหล่าเชลยศึกได้เป็นอย่างดี

สถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ฯ อยู่ภายในกองการเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทหารพัฒนา

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา บริเวณกิโลเมตรที่ 64–65 บนทางหลวงหมายเลข 323

(กาญจนบุรี-ไทรโยค-ทองผาภูมิ) เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.

สอบถามเพิ่มเติมที่ 0-3453-1347, 08-1754-2098, 08-1814-7564.



ทีมเดลินิวส์ออนไลน์

Credit: http://www.zone-it.com/213141
3 ก.พ. 55 เวลา 22:05 12,434 6 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...