เจาะใจ นักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรก ร่วมทีมญี่ปุ่น สำรวจขั้วโลกใต้

 

 รายการเจาะใจออกอากาศวันที่ 2 กุมภาพันธ์ นำเสนอเรื่องราวภูมิอากาศที่กำลัง

เปลี่ยนแปลง แปรปรวนบนโลกของเรา เกิดกระแสข่าวไปต่างๆนานาว่าจะเกิดภัยพิบัติเกิด

ขึ้นอีกหรือไม่ รายการเจาะใจจะมาให้ความรู้ว่าปัจจุบันโลกของเราเกิดอะไรขึ้นในขณะนี้ ที่

ทวีปแอนตาร์กติกา หรือดินแดนชั้วโลกใต้ พื้นที่ที่หนาวที่สุด ลมแรงที่สุด ใต้สุดของ

โลก และจะบ่งชี้ว่าภูมิอากาศของโลกจะเป็นอย่างไร ทั้งเรื่องโลกร้อน น้ำแข็งละลาย

โดยนักวิทยาศาสตร์หญิงไทย ที่ได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่ดังกล่าวมาให้ข้อมูลในเรื่องนี้

รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2552 ได้เดินทางสำรวจพื้นที่แอนตาร์กติกา ร่วมกับทีมสำรวจของ

ชาวญี่ปุ่น ซึ่งนับเป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่เดินทางสำรวจขั้วโลกใต้

ดร.สุชนา กล่าวว่า แอนตาร์กติกา หรือขั้วโลกใต้มีความสำคัญ 2 ประการ คือ

1.เป็นปราการด่านแรกของโลกที่จะบอกว่าขณะนี้ โลกเราถ้าสภาพภูมิอากาศ

เปลี่ยนไปจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพราะเป็นพื้นที่รองรับของเสียของโลก ที่พื้นที่ต่างๆ

ได้ปล่อยก๊าซต่างๆออกไปจนเกิดภาวะเรือนกระจก จะเกิดรุนแรงบนขั้วโลกเหนือ

กับขั้วโลกใต้ เพราะมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าพื้นที่อื่นๆ เรา

สามารถเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในตรงนั้นเพื่อจะได้ป้องกัน

2.ปัจจุบันเราอยากรู้ว่า ถ้าสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป โลกของเราในอนาคต

จะเป็นอย่างไร จะได้ผลกระทบมากน้อยแค่ไหน เป็นข้อมูลในการทำนายอนาคต

เราถ้าขุดลงไปใต้น้ำแข็ง 3,000 เมตร เราสามารถย้อนอดีต กลับไปถึง 7 แสนปีว่า

สภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอย่างไร ขั้วโลกใต้เป็นแผ่นทวีปที่เป็นน้ำแข็ง หนา

ประมาณ 3,000 เมตร อุณหภูมิหนาวสุดที่เคยวัดได้ -89.2 องศาเซลเซียส เหมาะ

แก่การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก

ประเด็นหลักที่ทีมที่เดินทางไปสำรวจเพื่อการศึกษาวิจัย ไม่ใช่เพื่อหาผลประโยชน์ ซึ่ง

จริงๆนักวิทยาศาสตร์ได้ทำนายไว้ถ้าเกิดน้ำแข็งที่แอนตาร์กติกา หรือขั้วโลกใต้ ละลาย

หมด น้ำทะเลจะสูงขึ้นถึง 50-60 เมตร

แต่ทั้งนี้ เราก็หวังว่าเราจะยังไม่ถึงตรงนั้น ประเทศไทยอาจจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจาก

สัตว์ที่เป็นห่วงโซ่อาหาร มีผลเป็นขั้นๆ เช่นปลาลดน้อยลง กุ้งลดน้อยลง เป็นต้น

จากการที่ไปอยู่ที่นั่น รวมเวลาทั้งหมด 4 เดือน เดินทาง 2 เดือน สำรวจ 2 เดือน 

ดร.สุชนา รับผิดชอบสำรวจในส่วนของปลาทะเล ว่าสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง จะก่อ

ให้เกิดผลกระทบต่อพฤติกรรมการกินอาหารของปลาหรือไม่ มีการเก็บตัวอย่างดินมา

วิเคราะห์ว่ามีมลพิษหรือไม่ และได้มีการช่วยนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆในกลุ่มชีววิทยา และ

กลุ่มสมุทรศาสตร์ ที่มีการเก็บตัวอย่างน้ำทะเล แพลงตอน ซึ่งก๊าซเรือนกระจกจะมีผลกระ

ทบอย่างไร ต่อสัตว์เหล่านี้

การเดินทางไปพื้นที่สำรวจของทีมนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นนั้น ต้องใช้เรือตัดน้ำแข็งเข้าไป

สำรวจ เพราะเป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถนำเครืองบินลงจอดได้ ระหว่างที่อยู่บนเรือ ก็มีการเก็บ

ตัวอย่างน้ำทะเล แพลงตอน สัตว์ทะเลระหว่างทาง และมีการเตรียมความพร้อม สัมภาระ

อื่นๆก่อนลงมือสำรวจ สิ่งที่ลำบากที่สุดก็คือ การออกไปทำงานบนทะเลน้ำแข็ง เป็นงาน

กลางแจ้งที่เสี่ยง เพราะหากไม่มีความระมัดระวังอาจเกิดอุบัติเหตุ

2 เดือนที่อยู่ที่ศูนย์วิจัยนั้น จะแบ่งกลุ่มกันศึกษา เช่นวิเคราะห์ชั้นบรรยากาศชั้นสูง ดูแสง

ออโรร่า หรือส

Credit: http://news.mthai.com/hot-news/152085.html
3 ก.พ. 55 เวลา 14:51 1,387 1 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...