นายณัฐ พยงค์ศรี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์พ.ศ.2550 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวว่า หากพูดถึงตัวแอพพลิเคชั่นซิมซิมอิไม่มีความผิดอะไร
ซึ่งไอซีทีได้ทราบข่าวเรื่องการใช้งานก็มีความกังวลใจเกี่ยวกับคำหยาบและ ภาษาที่ใช้ จึงได้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(อีเมล์)ไปถึงผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นซิมซิมอิ ที่เกาหลีใต้เพื่อสอบถามว่ามีการควบคุมหรือคัดกรองคำหยาบอย่างไรบ้าง เมื่อ 1-2 วันที่แล้ว ซึ่งผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นได้ขอโทษมาในเบื้องต้น โดยบอกให้ไอซีทีและผู้ที่เกี่ยวข้องแจ้งคำที่ไม่เหมาะสมไปให้
แอพพลิเคชั่นซิมซิมอิยังต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูล ซึ่งการใช้งานช่วงแรกยังมีจำนวนผู้ใช้งานน้อยทำให้มีคำในฐานข้อมูลน้อย จึงต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูลอีกระยะหนึ่ง
ไอซีทีไม่สามารถบล็อกหรือปิดกั้นการเข้าถึงแอพพลิเคชั่นนี้ได้เพราะเป็น สิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล ทว่าการใช้งานซิมซิมอิไม่มีอะไรที่เข้าข่ายผิดตามพ.ร.บ.คอมพ์ 2550 แต่ถ้านำไปใช้ในทางไม่ดี เช่นถามชื่อคนที่ไม่ชอบแล้วโปรแกรมตอบมาด้วยคำหยาบ โดยผู้ถามก๊อปปี้หน้าจอแล้วนำไปเผยแพร่ต่อในสื่อสังคมออนไลน์ ก็อาจเข้าข่ายทำให้ผู้อื่นเสียงชื่อเสียง เป็นการหมิ่นประมาทมีความผิดตามกฎหมายอาญาได้
“ผมมองว่าแอพพลิเคชั่นซิมซิมอิสามารถใช้ประโยชน์ได้หากนำไปใช้ในเชิงสร้าง สรรค์ ซึ่งในอนาคตอาจใช้ในการเผยแพร่พจนานุกรมภาษาไทยทำให้ต่างชาติรู้จักและเรียน รู้ภาษาไทยมากขึ้น ดังนั้นจึงอยากขอให้ผู้ที่ใช้งานแอพพลิเคชั่นนี้ใช้ภาษาที่เหมาะสม เพราะแอพพลิเคชั่นนี้เก็บข้อมูลจากภาษาที่ผู้ใช้โต้ตอบ”
กระแสแอพพลิเคชั่นซิมซิมอิ (Simsimi) เริ่มระบาดหนักในหมู่ผู้ใช้งานสังคมออนไลน์ชาวไทยประมาณ 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งแอพพลิเคชั่นสุดอินเทรนด์ นี้มีสัญลักษณ์เป็นตัวการ์ตูนกลมๆ เหลืองๆ มีที่มาจากประเทศเกาหลีใต้ โดยลักษณะของโปรแกรมเป็นการพิมพ์โต้ตอบกับโรบอท (Chatting Robot) ซึ่งมีลักษณะทำออกมาเพื่อเลียนแบบโปรแกรม Siri ใน iPhone 4S และสามารถโต้ตอบการสนทนาของผู้ใช้ได้ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ เล่นได้ทั้งออนไลน์บนเว็บและโหลดมาติดตั้งในไอโฟน