ชำแหละร่างมัมมี่เก่าเก็บเจอมะเร็งต่อมลูกหมาก จุดเปลี่ยนความเชื่อมะเร็งเกิดเพราะมลภาวะหรือพันธุกรรม?
บางคนเชื่อว่า โรคมะเร็ง เกิดขึ้นในยุคที่ผู้คนสร้างมลภาวะด้านต่างๆ ประกอบกับคนสมัยนี้
เน้นกินอาหารจานด่วน เอาความสะดวกบวกรสอร่อยเป็นหลัก โดยไม่สนใจว่า อาหาร
เหล่านั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพหรือไม่ และจะสร้างโรคภัยไข้เจ็บในอนาคตอย่างไร
แต่แล้วความเชื่อข้างต้นอาจเปลี่ยนไป เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ศาสตราจารย์จาก
มหาวิทยาลัยอเมริกันในไคโร ประเทศอียิปต์ เผยว่า พวกเขาพบร่องรอยของโรคมะเร็ง
ต่อมลูกหมากในร่างมัมมี่อายุราว 2,200 ปี ซึ่งอาจชี้ให้เห็นว่า มะเร็งเกิดจากพันธุกรรม มิใช่
สภาพแวดล้อม ดังนั้น เรื่องของพันธุศาสตร์จากกรณีดังกล่าว อาจเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วย
ให้เข้าใจโรคมะเร็งมากขึ้น
ซึ่งศาสตราจารย์ซาริมา อิค-ราม หนึ่งในคณะวิจัย เล่าด้วยว่า ร่างมัมมี่ล่าสุดที่ทำการ
ศึกษานี้มาจากโปรตุเกส พวกเขาใช้เวลาค้นคว้านาน 2 ปี จึงสรุปได้ว่า มัมมี่ร่างนี้เป็นเพศ
ชาย ตายในช่วงวัย 40 ปี และมีร่องรอยมะเร็งต่อมลูกหมาก
อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยชี้ว่า สภาพความเป็นอยู่ในสมัยโบราณมีความแตกต่างหลากหลาย
มาก แต่ก็คงไม่มีมลพิษและการดัดแปลง-แปรรูปอาหารเท่ากับยุคปัจจุบัน เพราะฉะนั้น
คณะวิจัยจึงเชื่อว่า โรคมะเร็งไม่ได้เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมของสังคมอุตสาหกรรม
เท่านั้นไม่ว่ามะเร็งจะมีต้นตอมาจากสิ่งใดได้บ้าง การรู้รักษาตัวรอดจากโรคมะเร็งนั้นก็
ยังสำคัญที่สุด.
เดลินิวส์ออนไลน์