เปิดผลวิจัยเจาะใจวัยโจ๋

10 อันดับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าของกลุ่มวัยรุ่น
- ของใช้ประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน 1.0
- ค่าซื้อกระเป๋า 2.5
- ค่ารองเท้า 7.0
- ดูหนัง 10.5
- ค่ารักษาพยาบาล 0.5
- ค่าหนังสือ 3.5
- เครื่องประดับ 4.0
- เสื้อผ้า 13.5
- ค่าเดินทาง 1.5
- อาหาร/เครื่องดื่ม 27.5

ซึ่งพฤติกรรมที่พบคือกลุ่มนี้จะไม่ลังเลในการตัดสินใจซื้อ เมื่อเทียบกับกลุ่มคนวัยทำงาน โดยเฉพาะยิ่งกลุ่มที่อายุมากขึ้น ช่วง 25-45 ปี จะยิ่งใช้เวลาในการตัดสินใจนานขึ้น ดังนั้นทำให้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ มีค่าใช้จ่ายสำหรับอาหารและเครื่องดื่มเดือนละประมาณ 3,000 บาท

การจ่ายเงินไปกับค่า “อาหารและเครื่องดื่ม”
- 6,000 บาท 1.8
- 5000 บาท 1.8
- 4,500 บาท 1.8
- 2,900 บาท 1.8
- 2,800 บาท 1.8
- 2,500 บาท 1.8
- 1,300 บาท 1.8
- 1000 บาท 3.6
- 2,000 บาท 16.4
- 4,000 บาท 18.2
- 3,500 บาท 20.0
- 3,000 บาท 29.1

รายจ่ายรองลงมาคือการเลือกซื้อเสื้อผ้า

รายจ่ายเพื่อการแต่งตัวของกลุ่มวัยรุ่น
- 3,500 บาท 3.0
- 6,000 บาท 3.5
- 5,000 บาท 3.5
- 2,500 บาท 3.5
- 4,000 บาท 6.0
- 3,000 บาท 7.5
- 500 บาท 8.5
- 1,500 บาท 9.5
- 2,000 บาท 14.5
- 1,000 บาท 15.5

ส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 2,000 บาท แต่ก็มีถึง 3.5% ที่ใช้จ่ายเดือนละ 6,000 บาท ซึ่งการเลือกซื้อจะเน้นไปที่ความเป็น ”แฟชั่น”

คำว่า “แฟชั่น” ในนิยามของกลุ่มวัยรุ่นต้อง....
- ดูดีมีสไตล์ 10.5
- ใส่เสื้อผ้าที่โชว์หน่อย 1.0
- เรียบง่ายแต่ดูดี 4.0
- ดูดีไม่เหมือนใคร 7.5
- อินเทรนด์ 14.0
- เท่ 2.5
- ค่านิยมของวัยรุ่น 3.0
- ความชอบส่วนตัว 13.0
- การเลียนแบบ 20.0
- ความทันสมัย 16.0

ซึ่งในความหมายคือ ความสวยงาม ดูเท่ และดูดี ปะปนไปด้วยทั้งการเลียนแบบ อินเทรนด์ ความชอบส่วนตัว เป็นลักษณะที่การซื้อโดยไม่ได้คิดอะไรมากนัก ถ้าชอบก็ตัดสินใจซื้อทันที

สิ่งที่กลุ่มวัยรุ่นคำนึงในการเลือกซื้อมากที่สุด
- ต้องราคาถูก 4.0
- การนำไปใช้งานหรือประโยชน์ 7.5
- Design ที่ถูกใจและโดน 12.0
- ต้องเป็นสินค้าแบรนด์เนม 13.0
- เป็นที่นิยมหรือเป็นแฟชั่น 16.0
- สไตล์ของเสื้อผ้าที่เหมาะกับตัวเองหรือรูปร่าง 19.5
- สไตล์ที่ตัวเองชอบ 28.0

สำหรับสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับความงาม ต้องให้ความสนใจกับผลวิจัยข้อนี้อย่างแน่นอน เพราะนาโนเซิร์ชพบว่า อวัยวะที่วัยรุ่นให้ความสนใจมากที่สุดคือหน้าและผม รองลงมาคือรูปร่างและดวงตา

ในด้านการจับจ่ายใช้สอยเกี่ยวกับอาหารนั้น ยังปรากฏผลวิจัยเกี่ยวกับการเข้าร้านเครือข่าย หรือ Chain Brand เช่น สตาร์บัคส์ แบล็คแคนยอน หรือแม้แต่โรตี บอย พบว่า ประมาณ 40% จะเข้าร้านเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เกือบ 30% เข้าสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ด้วยเหตุผลหลักคือเพื่อนัดเพื่อน รอเพื่อน

ขณะที่กิจกรรมที่ทำหลังเลิกเรียนมากที่สุดคือ ไปดูหนัง เพราะส่วนใหญ่เรียนแล้วเครียด ดูหนังเป็นการพักผ่อนอย่างหนึ่ง แม้จะมีอีกบางส่วนที่กลับบ้านทันที แต่ก็มีข้อมูลที่น่าสนใจตรงที่การไปพักผ่อนด้วยการคาราโอเกะก็มีสัดส่วนมากพอสมควร

กิจกรรมที่ทำหลังเลิกเรียนของวัยรุ่น
- ไปเรียนพิเศษ 1.5
- อื่นๆ (เที่ยวสถานบันเทิง) 2.0
- ไปหาซื้อหนังสืออ่าน 5.5
- เข้าร้านอาหารหาอะไรกิน 5.5
- ไปเดินซื้อเสื้อผ้า 6.5
- ไปร้องคาราโอเกะ 10.0
- กลับบ้าน 12.0
- ไปดูหนัง 16.0

ส่วนสินค้าและบริการที่วัยรุ่นอาจไม่ได้เป็นผู้หาซื้อเอง แต่มีอิทธิพลสูงต่อการตัดสินใจซื้อในครอบครัว อันดับ 1 คือ กล้องถ่ายรูป ตามด้วยคอมพิวเตอร์ เหตุผลไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะพ่อแม่ต้องยอมฟังลูก เพราะเรื่องเทคโนโลยีที่วัยรุ่นจะตามได้ทันมากกว่า ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถโน้มน้าวให้เหตุผลให้ตรงกับเป้าหมายของตัวเองได้

สิ่งของภายในบ้านที่วัยรุ่นมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ
- รถจักรยานยนต์ 3.0
- รถยนต์ 3.0
- แชมพู+ครีมนวดผม 4.5
- โทรทัศน์ 5.5
- ยาสีฟัน 6.5
- เฟอร์นิเจอร์ 6.5
- โทรศัพท์บ้าน 7.0
- ร้านอาหาร 8.5
- เครื่องเสียง/วิทยุ 8.5
- สบู่ 9.5
- สถานที่ท่องเที่ยว 11.5
- คอมพิวเตอร์ 12.5
- กล้องถ่ายรูป 13.5

หากยกตัวอย่างของกรณีการซื้อโทรทัศน์ เครื่องเสียงวิทยุ พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่อายุ 18-22 ปี ที่ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษามีส่วนร่วมในการตัดสินมากกว่า 20% หากเป็นคอมพิวเตอร์มีส่วนร่วมตัดสินใจเกือบ 90% กล้องถ่ายรูปมีส่วน 80% ขณะที่สินค้าประเภทรถยนต์ มีส่วนร่วมประมาณ 14%

ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกร้านอาหาร จำนวน 97% มีอิทธิพลโน้มน้าวพ่อแม่ให้เข้าร้านอาหารตามที่ตนเองเสนอได้ เช่นเดียวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่มีส่วนถึง 89%

เมื่อพิจารณาถึงช่องทางสื่อที่เข้าถึงวัยรุ่น พบว่าในประเด็นการรับสื่อ ซึ่งหมายถึงการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อ ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ดูสื่อเท่านั้น พบว่า 60.5% ยังรับสื่อจากโทรทัศน์ รองลงมาคือวิทยุ และสื่อเคลื่อนที่ ส่วนอินเทอร์เน็ตมีการรับสื่อน้อย แม้วัยรุ่นจะใช้อินเทอร์เน็ต แต่เพียงการเรียน และใช้เพื่อชั่วโมงสำหรับการทำงานมากกว่า

วัยรุ่นกับการรับสื่อนิยม
- หนังสือพิมพ์ 2.6
- นิตยสาร/วารสาร 2.6
- อินเทอร์เน็ต 5.3
- สื่อเคลื่อนที่ 10.5
- วิทยุ 18.4
- โทรทัศน์ 60.5

Credit: Positioning Magazine
#วัยรุ่น #วิจัย
darkmoon666
นักแสดงรับเชิญ
30 ธ.ค. 52 เวลา 17:36 1,872 9 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...