เสพติดอินเทอร์เน็ต'โรค'คนรุ่นใหม่

ช่วงกลางเดือนแรกของปีมังกรทอง มีข่าวดังในวงการไอทีซึ่งน่าสนใจ แต่กระแสต่างกันอย่างสิ้นเชิงอยู่ 2 ข่าว (แม้จะเผยแพร่ออกสื่อในเวลาไล่เลี่ยกัน) โดยข่าวดังที่มาแบบ "ดังๆ" ก็คือ กฎหมายเซ็นเซอร์ฉบับใหม่ของสหรัฐ ที่รอผลลุ้นในเดือนหน้าว่าจะผ่าน-ไม่ผ่าน โดยกฎหมายฉบับนี้ซึ่งมีชื่อย่อว่า SOPA พุ่งเป้าลงดาบการละเมิดลิขสิทธิ์คอนเทนท์ต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์โดยเฉพาะ แต่สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ข่าวนี้เปรี้ยงปร้างขึ้นมา ก็เพราะสารานุกรมฟรีออนไลน์ใหญ่ที่สุดอย่าง วิกิพีเดีย (wikipedia) ประกาศปิดเว็บไซต์ภาคภาษาอังกฤษ 24 ชั่วโมงเพื่อประท้วงกฎหมายใหม่นี้ ก่อนจะมีเว็บไซต์ดังรายอื่นๆ ทยอยประท้วงตาม

 

                      ส่วนข่าวดังข่าวที่สองซึ่งมาอย่าง "เงียบๆ" ก็คือ ผลสำรวจล่าสุดถึงผลกระทบของการท่องโลกออนไลน์แบบเอาเป็นเอาตายที่มีต่อสุขภาพร่างกาย...วันนี้ก็เลยอยากมาเล่าสู่กันฟังถึงข่าวเล็กๆ แต่สำคัญยิ่งสำหรับผู้บริโภคสื่อออนไลน์เป็นประจำ

                      ที่น่าสนใจอีกอย่างก็เพราะผู้จัดทำสำรวจชิ้นนี้คือ สถาบันวิทยาศาสตร์จีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทะลุหลัก 500 ล้านคนไปแล้ว โดยกลุ่มตัวอย่างครั้งนี้เป็นคนหนุ่มสาวอายุ 14-21 ปี รวม 35 คน ซึ่งหลังการ

 

ทดสอบพบว่า ผู้ที่มีพฤติกรรมแบบ always on หรือเสพติดอินเทอร์เน็ต จะมีอาการผิดปกติของสมอง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของสมองเสื่อม โดยเป็นไปในลักษณะเดียวกับที่พบได้จากผลสแกนสมองของคนติดเหล้า หรือผู้ติดยาเสพติด

                      ผลสรุปที่พบยิ่งไปตอกย้ำข้อมูลในการศึกษาหัวข้อคล้ายๆ กันจากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็น บีบีซี ที่เคยทำการสำรวจกลุ่มเสพติดวิดีโอเกม รวมถึงการวิจัยจากนักประสาทวิทยาและแพทย์รังสีวิทยา จากมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลในจีน ซึ่งจัดทำเมื่อปี 2554 และพบจากผลสแกนว่ากลุ่มตัวอย่างนักศึกษาที่ใช้เวลาวันละ 8-13 ชั่วโมงเล่นเกมออนไลน์ สัปดาห์ละ 6 วัน จะมีความเสียหายของบริเวณเปลือกสมองด้านหน้า ซึ่งมีหน้าที่ในการประมวลผล

                      อ่านคอลัมน์นี้จบแล้ว เราลองมาสำรวจตัวเองกันว่า "คุณเป็นโรคติดอินเทอร์เน็ตแล้วหรือยัง?"

                      ถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้...ต้องระวัง !!! วันไหนไม่ได้เล่นคอมพิวเตอร์ จะรู้สึกจะมีอะไรขาดหายไป, เล่นทีไรเกินครึ่งชั่วโมงทุกที, เล่นเกมบนอินเทอร์เน็ตไม่น้อยกว่า 3 เกม, คอยเช็กว่าใครส่งเมลมาวันละ 2 ครั้ง เป็นอย่างน้อย, เวลาเขียนหนังสือมักใช้ภาษาแชท เช่น อิอิ  ใช่ป่ะ  โอเช, เวลานอนมองเพดานจะเห็นเป็นหน้าจอ, เวลาอ่านหนังสือหรือทำการบ้านก็จะออนไลน์ไปด้วยเสมอ, คุ้นเคยกับคำว่า MSN  CHAT  BLOG  HOTMAIL มากกว่าการเขียนข้อสอบ และแบบฝึกหัด

                      ...สัญญาณเตือน ก็คือ ยิ่งคำตอบคุณคือ "ใช่" มากเท่าไร...คุณก็ยิ่งติดอยู่ใน "กลุ่มเสี่ยง" สูงขึ้นเท่านั้น

Credit: http://www.komchadluek.net
29 ม.ค. 55 เวลา 10:39 1,439 1 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...