เกียรติประวัติในวิชาชีพที่นำมาซึ่งความภาคภูมิใจแก่ป้าจุ๊เป็นอย่างสูงก็คือการที่เคยได้พากย์ภาพยนตร์ถวายในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรหลายครั้ง และท่านยังได้รับรางวัลเกียรติยศจากทั้งการพากย์ และการแสดงภาพยนตร์หลายรางวัล ได้แก่
รางวัลสำเภาทอง ในฐานะผู้พากย์ยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง โบตั๋น
รางวัลตุ๊กตาทอง ในฐานะผู้พากย์ยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง นกน้อย เมื่อปี พ.ศ. 2507
รางวัลตุ๊กตาทอง ในฐานะผู้แสดงประกอบยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง วัยตกกระ เมื่อปี พ.ศ. 2522
รางวัลตุ๊กตาทอง ในฐานะผู้พากย์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ไร้เสน่หา เมื่อปี พ.ศ. 2522
รางวัลตุ๊กตาทอง ในฐานะผู้พากย์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง เทพธิดาโรงแรม เมื่อปี พ.ศ. 2525
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ในฐานะดาราสมทบยอดเยี่ยม จากละครโทรทัศน์เรื่อง สายโลหิต ประจำปี 2529
รางวัลวิก 07 ทองคำ ในฐานะดาราผู้ชนะใจกรรมการ ประจำปี พ.ศ. 2533
างวัลวิก 07 ในฐานะดาราผู้ชนะใจผู้ร่วมงาน ประจำปี พ.ศ. 2534
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักพากย์และนักแสดง) ประจำปีพุทธศักราช 2541
ภาพยนตร์
บ้านสาวโสด (2513)
ยิ้มสวัสดี (2521)
ไข่ลูกเขย (2524)
สาวจอมกวน (2525)
คนกลางเมือง (2531)
รอยไถ (2532)
ครั้งนี้โลกก็ฉุดไม่อยู่ (2535)
ธรณีนี่นี้ใครครอง... คุณย่า (2541)
อั่งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร (2543)
ก้านกล้วย (2549) .... พังนวล (พากย์เสียง)
ม.3 ปี 4 เรารักนาย (2552)[3]
มิวสิควิดีโอ
ไชน่า เกิร์ล - วงทู (2534)
รักเดียวใจเดียว - ธนพล อินทฤทธิ์ (2543) (ร่วมกับ สมชาย สามิภักดิ์)
จดหมายถึงเธอ - [Boyd-Nop] (2553)
โฆษณา
ยาบำรุงโลหิต เฮโมวิต (2545) (ร่วมกับ สมชาย สามิภักดิ์)
รถไฟฟ้ามหานคร (2547) (ร่วมกับ สมชาย สามิภักดิ์)
จุรี โอศิริ เกิดเมื่อ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 บิดาชื่อ นายเตียง โอศิริ เป็นคนไทยคนแรกๆ ที่ทำกิจการผลิตแผ่นเสียงในนามของห้างฮัมบูร์กสยาม ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผ่นเสียงตราสุนัขยืนฟังลำโพง ทำให้ได้ซึมซับกับบรรยากาศของเสียงเพลง ต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนาฏศิลป์ กรมศิลปากรในที่สุด จุรีมีความในใจด้านการเต้นรำ เช่น บัลเล่ต์ และการร้องรำทำเพลงแบบสากลต่าง ๆ จึงได้เลือกเรียนเอกทางด้านนาฏศิลป์และขับร้องเพลงสากลจนจบชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 จนได้ทำงานวงการบันเทิงเต็มตัว ในหลากหลายด้าน ทั้งขับร้องเพลงโดยเป็นนักร้องหน้าม่านสลับละครของคณะผกาวลี และคณะศิวารมย์ ต่อมาแสดงเป็นนางเอกในละครเพลงเรื่อง “นเรศวรมหาราช” และได้เข้าไปเป็นนักร้องประจำวงดุริยางค์ทหารบก วงสุนทราภรณ์ จนมาได้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก รับบทเป็นนางเอกในเรื่อง “สุภาพบุรุษจากอเวจี” กำกับการแสดงโดยครูเนรมิต ซึ่งนอกจากแสดงเป็นนางเอกแล้วยังพากย์เสียงนางเอก ถือเป็นการเริ่มต้นพากย์ภาพยนตร์เป็นครั้งแรกด้วย[2]
ทางด้านการพากย์เสียง ได้พากย์ให้กับดาราหญิงและเด็กทั้งหญิงชายในหลากหลายบทบาททั้งนางเอก นางรอง ตัวอิจฉา และตัวประกอบมากมายนับไม่ถ้วน อาทิ อมรา อัศวนนท์ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง วิไลวรรณ วัฒนพานิช กัณฑรีย์ นาคประภา เพชรา เชาวราษฎร์ พิศมัย วิไลศักดิ์ ภาวนา ชนะจิต เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ ลลนา สุลาวัลย์ ภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ นันทนา เงากระจ่าง ชูศรี มีสมมนต์ สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต มาลี เวชประเสริฐ ล้อต๊อกน้อย เด็กหญิงบรรจง นิลเพชร ฯลฯ
ผลงานการพากย์เสียงของป้าจุ๊ มีหลายคนที่ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองและสุพรรณหงส์ทองคำ ได้แก่ สมจิต ทรัพย์สำรวย จากภาพยนตร์เรื่อง ยอดอนงค์ และ ค่าน้ำนม, ภาวนา ชนะจิต จากภาพยนตร์เรื่อง แสงสูรย์, พิศมัย วิไลศักดิ์ จากภาพยนตร์เรื่อง ดวงตาสวรรค์ ไร้เสน่หา และ เงิน เงิน เงิน, เนาวรัตน์ วัชรา จากภาพยนตร์เรื่อง เดือนร้าว, เพชรา เชาวราษฎร์ จากภาพยนตร์เรื่อง นกน้อย, เปียทิพย์ คุ้มวงศ์ จากภาพยนตร์เรื่อง กลเทพพรหมจารีย์ และ อาอี๊, บุปผารัตน์ จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา, ทัศน์วรรณ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา จากภาพยนตร์เรื่อง ประสาท, ทาริกา ธิดาทิตย์ จากภาพยนตร์เรื่อง เหนือกว่ารัก, นิจ อลิสา จากภาพยนตร์เรื่อง เพื่อน-แพง, ล้อต๊อกน้อย จากภาพยนตร์เรื่อง ยอดอนงค์, เด็กหญิงบรรจง นิลเพ็ชร จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา และ มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช จากภาพยนตร์เรื่อง ป่ากามเทพ
เคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณพากย์ภาพยนตร์ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ในฝูงหงส์ สาวน้อย นกน้อย แม่นาคพระโขนง