สงครามเย็น

 

 

1 ความหมายของสงครามเย็น 

สงครามเย็นคือลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ช่วง ค.ศ.1945-1991 ที่ กลุ่มประเทศโลกเสรีและกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ ต่างพยายามต่อสู้โดยวิธีการต่างๆ ยกเว้นการทำสงครามกันโดยเปิดเผย เพื่อขัดขวางการขยายอำนาจของกันและกันสงครามเย็นมีผลสืบเนื่องมาจากสภาพบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ ทั้งประเทศผู้ชนะและแพ้สงคราม ได้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ทวีปยุโรปซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาพทรุด โทรมอย่างยิ่ง ต้องสูญเสียอำนาจและอิทธิพลในสังคมโลกให้กับสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีฐานะเศรษฐกิจมั่นคงจนเป็นหลักในการบูรณะฟื้นฟูประเทศ อื่นๆ สหรัฐอเมริกาก้าวสู่ความเป็นผู้นำของโลกเสรีประชาธิปไตย ในขณะที่สหภาพโซเวียตมีอำนาจและอิทธิพลเนื่องมาจากความสำเร็จในการขยายลัทธิ คอมมิวนิสต์สู่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก อยู่ในฐานะประเทศผู้นำของโลกคอมมิวนิสต์ คำว่า อภิมหาอำนาจ จึงหมายถึง ความเป็นผู้นำโลกของประเทศทั้งสอง ซึ่งแข่งขันกันขยายอำนาจและอิทธิพล จนทำให้ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันเกิดความตึงเครียดสูงสาเหตุ ของสงครามเย็นเกิดจากการแข่งขันกันของประเทศอภิมหาอำนาจจากประเสบการณ์ที่ ผ่านมาในสงครามโลกทั้งสองครั้ง ทำให้สหรัฐอเมริกาเสียหายน้อยกว่าประเทศคู่สงครามในยุโรป ทั้งยังเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง และเป็นประเทศแรกที่สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีความรู้สึกว่าตนเป็นตำรวจโลกเพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งวิถีทางประชาธิปไตยและเสรีภาพ ส่วนสหภาพโซเวียตฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่าง รวดเร็ว เพราะพื้นที่กว้างใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติมาก สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ สหภาพโซเวียตต้องการเป็นผู้นำในการปฏิวัติโลกเพื่อสถาปนาระบบสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ตามแนวคิดของมาร์กซ์ขึ้น ดังนั้น ทั้งสองอภิมหาอำนาจจึงใช้ความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพล อำนาจ และอุดมการณ์ของตน เพื่อหาประเทศที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกันมาเป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจกับฝ่าย ตรงข้าม 

 

2 สาเหตุของสงครามเย็น  

   สาเหตุ ของสงครามเย็นเกิดจากการแข่งขันกันของประเทศอภิมหาอำนาจจากประเสบการณ์ที่ ผ่านมาในสงครามโลกทั้งสองครั้ง ทำให้สหรัฐอเมริกาเสียหายน้อยกว่าประเทศคู่สงครามในยุโรป ทั้งยังเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง และเป็นประเทศแรกที่สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีความรู้สึกว่าตนเป็นตำรวจโลกเพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งวิถีทางประชาธิปไตยและ เสรีภาพ ส่วนสหภาพโซเวียตฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างรวดเร็ว เพราะพื้นที่กว้างใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติมาก สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ สหภาพโซเวียตต้องการเป็นผู้นำในการปฏิวัติโลกเพื่อสถาปนาระบบสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ตามแนวคิดของมาร์กซ์ขึ้น ดังนั้น ทั้งสองอภิมหาอำนาจจึงใช้ความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพล อำนาจ และอุดมการณ์ของตน เพื่อหาประเทศที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกันมาเป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจกับฝ่าย ตรงข้าม                

    

 3   ความขัดแย้งของมหาชาติอำนาจในยุคสงครามเย็น         

           ส่วน สหภาพโซเวียตฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างรวดเร็ว เพราะพื้นที่กว้างใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติมาก สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ สหภาพโซเวียตต้องการเป็นผู้นำในการปฏิวัติโลกเพื่อสถาปนาระบบสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ตามแนวคิดของมาร์กซ์ขึ้น ดังนั้น ทั้งสองอภิมหาอำนาจจึงใช้ความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพล อำนาจ และอุดมการณ์ของตน เพื่อหาประเทศที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกันมาเป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจกับฝ่าย ตรงข้ามการแข่งขันเพื่อความเป็นใหญ่ในยุคสงครามเย็นนั้นมีหลายรูปแบบ ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามโฆษณาชวนเชื่อให้เห็นความสำเร็จของอุดมการณ์ทางการ เมืองของฝ่ายตน ฝ่ายเสรีประชาธิปไตยเน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในขณะที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ชี้ความเสมอภาคของประชาชน เครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของแต่ละฝ่ายคือ สำนักงานข่าวสารเผยแพร่ข่าวสาร สำนักงานวัฒนธรรม โครงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา บางครั้งใช้วิธีการทางการเมืองและการฑูตเพื่อแสวงหาพันธมิตรในการเมืองระดับ ประเทศ หรือใช้วิธีการเศรษฐกิจแก่ประเทศพันธมิตรในรูปของเงินช่วยเหลือเงินกู้ระยะ ยาว เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ในทางตรงกันข้าม อาจใช้มาตรการทางเศรษฐกิจตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม เช่น การงดความสัมพันธ์ทางการค้า กับบางประเทศ นอกจากนั้นวิธีการทางทหารนับว่าเป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุด มีการสะสมกำลังอาวุธ การให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศพันธมิตรด้านกำลังทหาร กำลังอาวุธ จัดส่งเจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญทางการทหาร ตลอดจนการส่งกองกำลังของตนเข้าไปตั้งมั่นในประเทศพันธมิตร จนในที่สุดก็ได้ตั้งองค์การป้องกันร่วมกันในภูมิภาคต่างๆ เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (Nato) องค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Seato) และกลุ่มกติกาสนธิสัญญวอร์ซอ (Warsaw Pact) วิธีการเผยแพร่อิทธิพลวิธีสุดท้าย คือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ความพยายามแสดงออกถึงความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การคิดค้นอาวุธ สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ รวมทั้งโครงการสำรวจอวกาศเพื่อสร้างความศรัทธาแก่ประเทศพันธมิตรและสร้าง ความยำเกรงแก่ประเทศฝ่ายตรงข้าม           หลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดการเผชิญหน้าของสองอภิมหาอำนาจในภูมิภาคต่างๆ เริ่มต้นจากปัญหาความมั่นคงในยุโรป สหภาพโซเวียตขยายอิทธิพลเข้าไปในยุโรปในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกกลายเป็นกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์           สหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายสกัดกั้นลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยการประกาศหลักการทรู แมน ในเดือน มีนาคม ค.ศ.1947 ซึ่งมีสาระสำคัญว่าสหรัฐอเมริกาจะได้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆ เพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตยให้พ้นจากการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ ทั้งภายนอกและภายในประเทศ รัฐสภาอนุมัติเงินและให้ความช่วยเหลือตุรกีและกรีกให้รอดพ้นจากเงื้อมมือ ลัทธิคอมมิวนิสต์ ในปีเดียวกันสหภาพโซเวียตได้ตั้งสำนักงานข่าวคอมมิวนิสต์ (Cominform) ขึ้นที่กรุงเบลเกรด ทำหน้าที่เผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์และเป็นเครื่องมือของสหภาพโซเวียต เพื่อป้องกันมิให้โลกเสรีเข้าแทรกแซงในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก เป็นการตอบโต้หลักการทรูแมน การประกาศหลักการทรูแมนของสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นการเริ่มต้นอย่างแท้จริง ของสงครามเย็นระหว่างสองอภิมหาอำนาจ           สหรัฐอเมริกาพยายามกอบกู้และฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปเป็นเป้าหมายต่อไปโดยการ เสนอให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ทุกประเทศในยุโรป ตามแผนการณ์มาร์แชล ซึ่งแผนการนี้มีระยะเวลา 4 ปี ด้วยงบประมาณ 13,500 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาในรูปของเงินทุน วัตถุดิบ อาหารและเครื่องจักรกล ส่วนประเทศในยุโรปตะวันออกถูกสหภาพโซเวียตกดดันให้ปฏิเสธข้อเสนอของอเมริกา โดยสหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกได้ร่วมมือกันจัดตั้งสภาความ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจหรือโคมีคอน (Comecon)ด้วยเหตุนี้ การฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปจึงแยกเป็น 2 แนวทางตั้งแต่นั้นมา           นอกจากนี้สหรัฐอเมริกายังสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้านการเมืองการทหารแก่กลุ่ม ประเทศยุโรปตะวันตก ในค.ศ.1949 สหรัฐอเมริกาและแคนาดาร่วมกับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก 10 ประเทศ จัดตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกทั้งด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งการตั้งนาโตถือว่าเป็นจุดสำคัญของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในการ ต่อต้านอิทธิพลของสหภาพโซเวียต โดยใช้ความร่วมมือทางทหารของกลุ่มประเทศโลกเสรี กฏบัตรขององค์การนาโต กำหนดไว้ว่า หากยุโรปตะวันตกถูกรุกราน สหรัฐอเมริกาจะเข้าร่วมสงครามโดยทันทีตามหลักการป้องกันตนเอง ส่วนสหภาพโซเวียตก็จำเป็นต้องมีกองทหารไว้ควบคุมเขตอิทธิพลของตน จึงมีการประชุมเพื่อดำเนินการจัดตั้งระบบพันธมิตรทางทหารของกลุ่มประเทศ ยุโรปตะวันออกขึ้นที่กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ ก่อให้เกิดกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ ทำให้สหภาพโซเวียตสามารถมีกองกำลังของตนไว้ในประเทศสมาชิกได้     

 

4 ความขัดแย้งและสงครามเย็นตัวแทนในภูมิภาคเอเชีย    

ใน ตะวันออกลาง หรือเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับด้วยกันเอง และระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับกับประเทศอิสราเอล สหภาพโซเวียตฉวยโอกาสขยายอิทธิพลของตนด้วยวิธีารต่างๆ เช่น เสนอให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารแก่ประเทศอิยิปต์ ในการปฏิรูปประเทศในสมัยประธานาธิบดีนัสเซอร์ด้วยการให้เงินสร้างเขื่อนอัส วาน อืยิปต์เป็นผู้นำของกลุ่มประเทศอาหรับที่สหภาพโซเวียตต้องการส่งเสริม อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ให้แพร่หลายในภูมิภาคตะวันออกลาง ฝ่ายโลกเสรีจึงหาทางสกัดกั้นด้วยการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเซ็นโต หรือองค์การสนธิสัญญากลาง (Central Treaty Organization:CENTO) ซึ่ง มีสมาชิก 5 ประเทศ คือ สหราชอาณาจักร ตุรกี อิรัก อิหร่าน และปากีสถาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแทรกแซงและขยายอำนาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ใน ภูมิภาคนี้ ส่วน ในทวีปแอฟริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆ ได้รับเอกราช โดยส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง เช่น คองโก จึงเกิดการจลาจลแย่งอำนาจระหว่างชนเผ่าต่างๆ คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติเกรงว่าความวุ่นวายนี้จะเป็นภัยต่อ สันติภาพของโลก จึงมีมติให้ส่งกองกำลังของสหประชาชาติเข้าไปรักษาความสงบเรียบร้อยในคองโก สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ความช่วยเหลือแก่ประธานาธิบดีลูมุมบา ของคองโก และนายครุฟเซฟผู้นำสหภาพโซเวียตประนามการแทรกแซงสหประชาชาติ ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในแทนซาเนียด้วยการช่วยเหลือใน การสร้างทางรถไฟยาว 1,000 ไมล์ ในขณะที่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้พยายามรักษาอิทธิพลในแอฟริกาอาณานิคมของตน   

 

  

5 การสิ้นสุดสงครามเย็น

สิ้นสุดของทศวรรษ 1980 เป็นการสิ้นสุดของยุคสมัยแห่ง “สงครามเย็น” ซึ่งดำเนินมาเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้การขัดแย้งทางอุดมการณ์และการแข่งขันกันเป็น ผู้นำของโลก ระหว่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียตสิ้นสุดลง สืบเนื่อง มาจากการล่มสลายของระบบ การปกครองคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก และความเปลี่ยนแปลงในสหภาพโซเวียต อันเป็นผลมาจากนโยบาย ปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งนายมิคาอิล กอร์บาชอฟ เห็นว่าเป็นความ จำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การปรับเปลี่ยนนโยบายดังกล่าวทำให้เกิด ความไม่พอใจในกลุ่มผู้นำคอมมิวนิสต์หัวเก่าและนำไปสู่การปฏิวัติที่ล้มเหลว การหมดอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ ประเทศบริวารของสหภาพโซเวียต ในยุโรปตะวันออก ต่างแยกตัวเป็นอิสระและท้ายที่สุดรัฐต่างๆ ในสหภาพ โซเวียต ต่างแยกตัวเป็นประเทศอิสระปกครองตนเอง มีผลทำให้ สหภาพโซเวียต ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1991 จากการล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก ส่งผลให้มีการ สลายตัวของ “กลุ่มโซเวียต” และ “องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ” รวม ทั้ง องค์การโคมีคอน ซึ่งเป็นองค์การร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สังคมนิยม ปรากฏการณ์นี้จึงทำให้การเผชิญหน้าระหว่าง ประเทศมหา อำนาจตะวันออก–ตะวันตกได้สลายตัวลงด้วย เหตุการณ์ที่เป็นนับว่าเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดของ “สงครามเย็น”
คือ การทำลายกำแพงเบอร์ลิน ในปี ค.ศ. 1989 และการรวมประเทศ เยอรมนีทั้งสองเข้าเป็นประเทศเดียวกัน ในปี ค.ศ. 1990 การที่ทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดหย่อนท่าที และเงื่อนไขของฝ่ายรัสเซีย ยอมให้ ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นจุดสำคัญของความขัดแย้งในยุโรป กลับมารวมกัน ได้ย่อมแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจและมีไมตรีต่อกันที่กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง

 

Credit: thaigoodview
25 ม.ค. 55 เวลา 10:50 10,065 7 160
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...