เชื่อหรือไม่ !!! ไทยกิน หนู วันละ (หลาย) ตัน

   มารู้จัก 'หนู' กันเถอะ
   
   
ก่อน อื่นที่จะไปรู้จักว่า ทำไมคนถึงกินหนู เรื่องแรกที่ควรรับรู้กันก่อนเลย เมืองไทยนั้นมีหนูกันกี่แบบและแบบไหนที่คนเรานิยมกินกันมาก และแบบไหนที่คนไม่นิยมกิน  จากปากคำของผู้เชี่ยวชาญเรื่องหนูอย่าง พวงทอง บุญทรง อดีตนักสัตววิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำให้ทราบว่า ปัจจุบันนี้ สังคมไทยมีการแบ่งแยกหนูออกเป็นหนูแบบหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการใช้ประโยชน์ หรือแม้แต่สายสกุลพันธุ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ แต่ที่นิยมกันมากก็คือ การแบ่งสภาพการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือหนูที่อยู่ในป่า หนูที่อยู่ในพื้นที่การเกษตร และหนูที่อาศัยอยู่ในบ้านเรือนมนุษย์
   
  
 “เดิม หนูในธรรมชาติก็อยู่ในป่านั้นแหละ หนูจะเป็นสัตว์ที่เกินธัญพืชเป็นหลัก แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไปมนุษย์ก็เริ่มมาแย่งที่กินของมัน มาถางป่าเป็นพื้นที่การเกษตร แถมก็มาปลูกอาหารพืชอาหารให้ แต่ตัวไหนที่ปรับตัวได้มากก็เข้ามาอยู่ในบ้าน บางตัวก็สามารถปรับจนกินเนื้อสัตว์ได้ด้วย”  ซึ่งในแต่ละประเภทนั้น ก็จะเป็นการแบ่งแยกย่อยลงไปอีกโดย หนูที่อาศัยอยู่ในพื้นที่การเกษตร หรือหนูที่อาศัยอยู่ตามท้องนา ท้องไร่ และมักเป็นศัตรูของพืช แบ่งออกเป็น 3 สกุลใหญ่ๆ คือ
   
1. กลุ่มหนูพุก เป็นหนูขนาดใหญ่ ตัวโตเต็มวัยน้ำหนักตั้งแต่ 180 กรัมขึ้นไป และมีความยาวของตีนหลังมากกว่า 40 มิลลิเมตร และแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
   
   
หนูพุกใหญ่หรือหนูแผง ลักษณะเด่นคือ ตีนหลังดำ หางสีดำทั้งด้านบนและล่าง สีขนกลางหลังดำ มีขนที่หลังดำยาวมากกว่าปกติขึ้นแซมกลางหลังถึงบั้นท้าย ขนที่ท้องสีเทาเข้ม หนักราว 480 กรัม พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีดงหญ้าคา หญ้าขน เป็นศัตรูสำคัญในนาข้าว นิสัยโดยทั่วไป ดุร้าย เมื่อตกใจจะขู่ฟ่อๆ ในลำคอ และ แผงขนหลังจะตั้งชัน ไม่ชอบปีนป่ายที่สูง ชอบกินเมล็ดธัญพืช และวัชพืชในนาข้าว แล้วยังชอบกินหอยและปูในนาข้าวด้วย
   
   
หนูพุกเล็ก ลักษณะ เด่นคือ สีของตีนหลัง หาง และขนกลางหลังสีเทาเข้ม หางสีเดียวกันทั้งด้านบนและล่าง ไม่มีแผงขนขึ้นแซมกลางหลัง หนักราว 215 กรัม พบได้เกือบทั่วประเทศ เว้นภาคใต้ เป็นศัตรูพืชที่สำคัญ นิสัยไม่ดุร้าย ไม่ชอบปืนป่าย แต่จะขุดรูตามคันนาและดงหญ้าเหมือนหนูพุกใหญ่
   
   

2. กลุ่มหนูท้องขาว เป็นหนูขนาดกลาง ตัวเต็มวัยจะมีน้ำหนักตั้งแต่ 40-250 กรัม ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ออกไปในทางป่า แบ่งออกเป็นหลายประเภทเช่นกัน คือ
   
   
หนูนาใหญ่ หรือหนูนาท้องขาว ลักษณะ เด่นคือ ตีนหลังขาวมีแถบดำ ขนท้องสีขาว ปนสีเงิน ขนกลางหลังสีน้ำตาลปนดำ หนักราว 212 กรัม พบในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางจังหวัด เช่น ชัยภูมิ นครราชสีมา ภาคตะวันตก และภาคใต้ เป็นศัตรูข้าวที่สำคัญที่สุดในภาคกลางและภาคใต้ ปีนต้นไม้ได้ แต่ชอบขุดรูตามคันนาหรือที่ที่มีวัชพืชปกคลุมมากกว่า
   
   
หนูนาเล็กหรือหนูสวน ตีน หลังสีน้ำตาลปนดำ ขนท้องสีน้ำตาลเทา หนักราว 80 กรัม พบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้พบเฉพาะที่จังหวัดพัทลุง เป็นศัตรูพืชที่สำคัญในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดรูตามคันนาคล้ายหนูนาใหญ่ ชอบอาศัยในพื้นที่ลุ่ม
   
   
หนูป่ามาเลย์ ขนด้านหลังสีน้ำตาลมะกอก และจะเข้มขนในบริเวณกลางหลัง ขนเรียบ ไม่มีขนแข็งปนขนด้านด้านหลังท้องขาวอมเทาจางๆ หนักราว 55-125 กรัม พบได้เฉพาะภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป ถือเป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของสวนปาล์มน้ำมัน ปีนต้มไม้ว่องไว ชอบกินลูกปาล์มทั้งดิบและสุกตลอดจนตัวอ่อนของด้วงผสมเกสรในสวนปาล์มน้ำมัน
   
   
หนูฟันขาวใหญ่ เป็น หนูขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับหนูพุกใหญ่ต่างกันที่หนูฟันขาวใหญ่จะไม่มีแผงขนที่ หลังเหมือนหนูพุกใหญ่ และขนทีท้องสีครีม มีแถบดำบนหลังตีนแต่นิ้วตีนขาว หางสีดำทั้งด้านบนและด้านล่าง หนักถึง 420 กรัม พบมากในสวนปาล์มน้ำมันที่อยู่บริเวณธารน้ำระหว่างเนินเขาและชายป่าในภาค เหนือและภาคใต้ ชอบทำลายต้นปาล์มอ่อนใหญ่เช่นเดียวกับหนูพุกใหญ่ แต่นิสัยจะเชื่องช้า ไม่ดุร้าย และไม่ชอบปีนป่ายที่สูง
   
   

3. กลุ่มหนูหริ่ง เป็น หนูขนาดเล็ก โตเต็มวัยน้ำหนักไม่เกิน 40 กรัม ความยาวตีนหลังน้อยกว่า 23 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่จะอยู่ตามท้องไร่ ทนแล้ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
   
   
หนูหริ่งนาหางยาว ลักษณะคือสีผิวด้านหน้าของฟันแทะด้านบนสีส้ม ด้านล่างสีขาว หาง 2 สี ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีเขียว หนักประมาณ 12 กรัม พบมากในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เป็นศัตรูข้าวและพืชไร่ นิสัยชอบปีนป่าย
   
   
หนูหริ่งนาหางสั้น ลักษณะคล้ายกัน แต่ความยาวของหาง จะสั้นกว่าความยามของหัวและลำตัวรวมกัน มีจมูกยาวค่อนข้างแหลมยื่นเกินฟันหน้า มีนิสัยและแหล่งที่พบเช่นเดียวกับหนูหริ่งนาหางยาว
   
 
ส่วน ที่อาศัยอยู่ในบ้านนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นหนูท้องขาว เว้นแต่หนูหริ่งบ้าน ลักษณะเด่นคือเป็นหนูที่ปรับตัวได้ดีมาก เท่าที่พบโดยมากจะมี 4 ประเภทด้วยคือ
   
   
หนูนอร์เวย์ หนูท่อ หรือหนูขยะ ถือ เป็นหนูขนาดใหญ่ ตีนหลังขาว ขนท้องสีเทา ขนกลางหลังสีเทา หน้าทู่ หูค่อนข้างเล็ก หนักราว 300 กรัม แต่บางตัวก็ใหญ่กว่าหนูพุกใหญ่เสียอีก โดยเฉพาะที่ๆ มีอาหารการกินสมบูรณ์ พบทั่วประเทศในเขตชุมชน บางครั้งพบในพื้นที่เกษตรกรรม ที่ติดต่อกับเขตอาศัยของชุมชน ชอบขุดรูตามพื้นดินใกล้กองขยะหรือใต้ถุนบ้านหรือท่อระบายน้ำ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ หนูตัวใหญ่ๆ ที่วิ่งอยู่ตามตลาดสดทั้งหลาย
   
   
หนูท้องขาวหรือหนูบ้านท้องขาว ขน กลางหลังสีขาวครีม ขนท้องขาวครีม ตีนหลังขาว หน้าแหลม หูค่อนข้างใหญ่ หนักราว 140-250 กรัม พบได้ทั่วประเทศ อาศัยอยู่ทั้งในบ้านเรือนมนุษย์และในธรรมชาติ มีนิสัยชอบปืนป่าย แต่ไม่ชอบขุดรู ขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี
   
   
หนูจี๊ด เป็น หนูขนาดค่อนข้างเล็ก เมื่อเทียบกับขนาดของหนูบ้านท้องขาว ขนด้านหลังสีน้ำตาลปนเทา สั้นและเรียบ ขนด้านท้องสีอ่อนกว่าด้านหลัง ฟันกรามซี่แรกด้านบนมีความยาวน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวของฟันกรามทั้ง หมด สีของหางทั้งด้านบนและด้านล่างเป็นสีน้ำตาลปนดำเหมือนกัน หนักราว 36 กรัม พบทุกภาคประเทศไทย เป็นศัตรูสำคัญในบ้านเรือน คลังสินค้าและโรงเก็บ ผลิตผลการเกษตรต่างๆ ปีนป่ายว่องไวมาก ชอบทำรังตามลิ้นชักตู้เสื้อผ้า ชั้นหนังสือ และเพดาน บ้าน หรือโรงเก็บ โกดังผลผลิตการเกษตรต่างๆ
   
  
 หนูหริ่งบ้าน พบ มากในพื้นที่ต่างประเทศแถบยุโรปเหนือ ยุโรปตะวันออก และยุโรปกลาง ถือเป็นปัญหาศัตรูที่สำคัญในบ้านของประเทศเหล่านั้น ส่วนในประเทศไทยนั้นไม่ค่อยมีปัญหาเท่านั้น หลังๆ มีการนำขายมากตามร้านขายสัตว์ เช่นตลาดนัดจตุจักร บางแห่งเอาสีมาทาขนเป็นลวดลายต่างๆ
   
   
ขณะที่หนูที่อาศัย อยู่ป่านั้น ส่วนใหญ่หลักๆ จะอยู่ในสกุลของหนูท้องขาวและหนูหริ่ง แต่คนไม่ได้ให้ความสนใจเท่านัก เพราะไม่ค่อยพบในชีวิตประจำวันสักเท่าใดนัก


ใครจะไปเชื่อว่า อาหารสุดโปรดที่คนไทยจำนวนไม่น้อยกินไปยิ้มไป จะมีชื่อของ 'เนื้อหนู' ติดอันดับกับเขาด้วย
   
   
เพราะด้วยปริมาณนำเข้าจากเพื่อนบ้านอันแนบชิดอย่าง 'กัมพูชา' มาก ถึงวันละ 3 ตัน แล้วยังไม่รวมกับที่ชาวไร่ชาวนาจับกินกันตามเรือกสวนไร่นาอีกไม่รู้เท่าไหร่ แค่นี้ก็ไม่ต้องแปลกใจเลยหากจะกล่าวว่า ไทยเป็นประเทศที่บริโภคสัตว์ประจำนักษัตรปีชวด มากเป็นอันดับ 3 ของทวีปเอเชีย รองจากกัมพูชา และลาวกันเลยทีเดียว
   
   
แม้ ที่ผ่านมา จะมาสะดุดกันบ้างกับข่าวเรื่องหนูปลอมปนที่ว่ากันว่า มีการยัดไส้หนูท่อหรือหนูขยะมากกับถุงใบใหญ่ แต่นั่นก็ไม่ได้ทำความคลั่งไคล้ในการกินหนูก็ดูจะไม่กระเทือนเท่าใดนัก เพราะถ้าไปสำรวจพื้นที่ที่เขากินหนูกัน แม้จะมียอดขายลดไปบ้าง แต่ก็จัดอยู่ในกลุ่มขายดีเช่นเคย แถมเกษตรกรอีกไม่น้อยเวลาเจอหนูก็ยังจับมากินราวกับไม่มีข่าวใดๆ ทั้งสิ้น
   
   
แน่ นอน ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในบ้านเราจริงๆ หรือ เพราะส่วนใหญ่เนื้อสัตว์ที่คนคุ้นเคย ส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้น หมู ไก่ เป็ด ห่าน วัว ควาย ปลา กุ้ง ปู ปลาหมึก หรือหอย จะมีแปลกๆ มาหน่อยก็พวกสุนัข จระเข้ หรือบรรดาสัตว์ป่าทั้งหลาย แต่หนูไม่ค่อยได้ยิน คราวนี้จะพาไปทำความคุ้นเคยกันแบบให้ชัดๆ ว่า ทำไมหนอ หนูไทยถึงได้กลายเป็นอาหารรสเลิศและได้รับความนิยมกันเช่นนี้

  


ยอดอาหารสุดโอชะ
   
   
พอ เห็นภาพรวมของบรรดาหนูๆ ในสังคมไทยกันไปแล้วว่าเป็นเช่นนี้ คราวนี้ก็มาถึงเรื่องที่หลายคนสงสัย ก็คือมูลเหตุสำคัญที่ทำให้หนูกลายเป็นเมนูหนึ่งในวงล้อมการกินของมนุษย์กัน บ้าง โดยหนูที่ส่วนใหญ่คนจะจับไปกินนั้น มักจะอยู่ในพื้นที่เกษตรกร เพราะคนส่วนมากเชื่อว่า เป็นหนูที่สะอาดปลอดเชื้อโรค ส่วนหนูที่อยู่บ้านนั้นไม่ค่อยมีคนกิน เพราะคิดว่าสกปรก โดยส่วนมากจะถูกกำจัดด้วยการใช้กับดักหนูบ้าง ถูกยาเบื่อฆ่าตายบ้าง  ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า หนูในพืชไร่นาสวนนั้นมีจำนวนมาก แถมยังเป็นศัตรูพืชตัวฉกรรจ์อีกต่างหาก เพราะฉะนั้นการจับกินจึงถึงเป็นการควบคุมปริมาณหนูได้ชะงักแถมยังอร่อยอีก ต่างหาก
   
   
“สาเหตุที่คนกิน เพราะมันอยู่ในท้องไร่ท้องนา ไม่จำเป็นต้องไปเสียเงินซื้อเนื้อสัตว์ และคนเรากินหนูทุกประเภท ซึ่งที่กินกันเยอะและราคาแพงก็พวกหนูพุก เพราะเนื้อมันเยอะกว่าหนูท้องขาวมาก ส่วนหนูบ้านนั้นจริงๆ กินได้ แต่ต้องทำให้สุกมากๆ ฆ่าเชื้อโรคให้มากที่สุด แต่คนไม่นิยมกิน เพราะไปคิดถึงที่มามากเกินไป เนื่องจากของแบบนี้อยู่ที่การปรุงแต่งว่าจะทำกันแบบไหน” พวงทองกล่าว
   
   
แต่ถ้ามองลึกลงไปจะพบได้ว่า นี่คือรากของวัฒนธรรมที่ฝั่งตัวอยู่ในสังคมมาอย่างยาวนาน รศ.สีดา สอนศรี คณบดี วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำให้ทราบว่า จริงๆ แล้วการกินหนูนั้นครอบคลุมพื้นที่คาบสมุทรอินโดจีน ทั้งไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา เป็นหลัก โดยส่วนมากจะมีความเชื่อว่าการกินหนูนั้นเหมือนยาดี เช่นเดียวกับการกิน งูเห่า หรือสุนัขนั่นเอง  ซึ่งวัฒนธรรมแบบนี้ยังกระจายไปอยู่ที่บริเวณทวีปอเมริกาใต้ แถบประเทศเปรู ปารากวัย ที่เชื่อว่ากินหนูแล้วจะช่วยบำรุงผิวพรรณให้กระชับ นวลเนียน ถึงขนาดที่ว่า มีเมนูหนูเสริฟกันในภัตตาคารใหญ่ๆ ซึ่งวิธีการก็จะมีตั้งแต่นำมาย่างเป็นหนังกรอบหอมเสริฟแบบแฮมเบอร์เกอร์ ส่วนหนูแรกคลอดตัวสีชมพูจะถูกหย่อนใส่ปากทั้งเป็นๆ ตามด้วยนมสด หรือไม่ก็จับลูกหนูประกบขนมปังหรือกล้วยหอมก่อนใส่ปากเช่นกัน
   
   
ขณะ ที่พื้นที่อื่นๆ ตั้งแต่ภาคใต้ของไทยลงมา ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์นั้นไม่นิยมกินหนู เพราะส่วนหนึ่งก็มาวัฒนธรรมของตะวันตกที่รับมาตั้งแต่ยุคอาณานิคม ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งข้อรังเกียจทางนี้



 “การกินหนูนั้น ไม่ได้เป็นวัฒนธรรมดังเดิม แต่เกิดวัฒนธรรมการทดลอง ทดลองกินไปเรื่อยๆ เมื่อวิเคราะห์แล้ว ไม่ได้เกิดอันตรายอะไรก็กินกัน หากจะมองว่าเพราะเราทำนา ทำให้มีหนูเยอะจึงกิน นั้นก็ไม่ใช่ เพราะอย่างฟิลิปปินส์เขาทำนาเหมือนกัน แต่ก็ไม่กินหนู เพราะฉะนั้นมันไม่ได้ชี้ว่าการทำนาจะทำให้คนกินหนู ประเทศแถบนั้นจะรับเอาวัฒนธรรมยุโรปมามาก แต่บ้านเราไม่ค่อยเอาวัฒนธรรมจากยุโรปมาใช้นัก ยกเว้นเวียดนาม แต่ตอนหลังก็มารับเอาจีนมาใช้เสียเป็นส่วนใหญ่”
   
   
และ หากเลือกโฟกัสเฉพาะประเทศไทยแล้ว พื้นที่ที่ถือว่ากินหนูมากเป็นพิเศษ ก็ต้องยกให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคกลางกันตามลำดับ ยิ่งในพื้นที่ที่เป็นท้องไร่ ท้องนาหรือเกษตรกรรมด้วยแล้ว ก็ยิ่งกินกันเยอะ ส่วนในพื้นที่ภาคใต้ก็มีปริมาณการจับหนูเพื่อบริโภคเหมือนกัน แต่กลุ่มคนนั้นไม่ใช่คนในพื้นที่ แต่เป็นคนงานที่มาจากภาคต่างๆ ที่ไปทำงานอยู่ในพื้นที่ไร่สวน ก็มักจะนำหนูพวกนี้มาเป็นกับแกล้มในวงสุรา  ยิ่งบางแห่ง ถึงกับมีแผงขายเนื้อหนูอย่างเป็นจริงเป็นจัง เช่นที่ในจังหวัดอุดรธานี ขณะที่สุพรรณบุรี ก็มีเด็กถือถาดหนูย่างมาขายตามรถด้วยซ้ำไป
   
  
 โดยหนูที่ได้รับความนิยมติดอันดับนั้น นิภา ปุยสมุทร เกษตรกร ชาวราชบุรี บอกว่าต้องยกให้เป็นหนูพุกใหญ่ แต่หนูประเภทอื่นๆ ก็กินเหมือนกัน ซึ่งรสของหนูจะให้อารมณ์เหมือนได้กินอาหารป่าดีๆ นี่เอง  “เวลา ขับรถผ่านสุพรรณเห็นเยอะมาก แต่ก็ไม่ได้ซื้อกลับมา ชอบดักเอาเองมากกว่า แล้วเนื้อมันแตกต่างจากกินหมู กินไก่ เหมือนกิน กระต่าย เนื้อหมูป่า เนื้อมันจะเหนี่ยวๆ อร่อยไปอีกแบบ”
   
   
ซึ่งวิธี สังเกตหนูนั้นว่า พวงทองบอกว่า วิธีที่ง่ายสุดก็คือ ดูที่ตีนเพราะหนูขยะตีนจะขาว ส่วนหนูพุกใหญ่ตีนจะมีขนดำ และขนาดที่ตีนหลังจะกว่าตีนหลังใหญ่กว่ามาก แต่ถ้าถูกตัดตีนไปแล้วก็ดูกะโหลก ถ้าเป็นหนูขยะจะมีสันกระดูกขนานกัน 2 ข้าง แต่หนูพุกสันกระดูกจะกว้างและตอบเข้าหากัน  โดยกระบวนการผลิตอาหารจากหนูก็มีหลากหลาย แต่ที่นิยมสุดก็คือ การนำมาย่างกินทั้งตัว แต่ควักอวัยวะที่ไม่พึงประสงค์ออกมา เช่นเครื่องใน ซึ่งถือเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นพยาธิในเลือด พยาธิตัวตืด รวมไปถึงท่อปัสสาวะซึ่งอาจจะปนเชื้อฉี่หนู
   
   
อีก วิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก การนำมาเป็นแกงคั่ว หรือไม่ก็เป็นแกงเผ็ด โดยใส่เครื่องแกงเยอะๆ ทั้งใบยี่หร่า ใบกระเพรา เพราะสมุนไพรพวกนี้จะช่วยลดกินสาบของหนูได้มาก  “เกษตรกร นิยมเอามาย่างแล้วฉีกเอาแต่เนื้อติดกระดูกเอามาคั่วกับน้ำพริกแกงคั่ว ส่วนหนูท้องขาวมักจะเอามเนื้อมาสับปนกับกระดูกชิ้นเล็กๆ เช่นซี่โครง แล้วนำมาแกงคั่วเช่นกัน ซึ่งเวลาทำออกมาเป็นอาหาร เราจะไม่มีทางแยกออกเลยว่าเป็นเนื้อหนู เพราะส่วนมากกลิ่นเครื่องเทศมันจะกลบหมดเลย” พวงทองกล่าว


สัตว์เศรษฐกิจหน้าใหม่
   
  
 เมื่อ ภาพมันฟ้องว่า คนไทยกินหนูกันหนักเป็นตันๆ ฉะนั้นถ้ามองภาพกว้างให้ดีๆ ก็จะพบว่า แท้จริงแล้วหนูตัวเล็กๆ นี้อาจจะมีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากกว่าที่คุณคาดคิดไว้ก็เป็นได้  เอาง่ายอย่างราคาหนูพุกใหญ่ ทุกวันนี้ก็พุ่งสูงถึง 180-250 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนราคาขายหนูที่ตลาดโรงเกลือ 70-100 บาทต่อกิโลกรัม และถ้าเอาไปรมควันแล้วราคาก็ยิ่งพุ่งเป็น 150 บาทกันเลยทีเดียว ส่วนปริมาณการจับไม่ต้องพูดถึงเพราะแค่ที่กาฬสินธุ์แห่งเดียว ก็จับได้วันละ 1,000 ตัวแล้ว
   
   
เพราะฉะนั้น ถ้าลองคิดกันเล่นๆ ก็จะพบว่าปีหนึ่งคนไทยกินหนูไม่ต่ำกว่า 1,000 ตัน และคิดเป็นเงินโดยนำราคาต่ำสุดคือกิโลกรัมละ 70 บาทมาคำนวณ ก็เท่าคนไทยใช้จ่ายเงินค่าเนื้อหนูไม่ต่ำกว่า 70 ล้านบาทกันเลยทีเดียว
   
   
โดยข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจาก สมควร เทพไทย เจ้าของร้านอาหารนงนุช ซึ่งขายอาหารป่าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งบอกว่า ที่ร้านได้กำไรจากการขายเมนูหนูนาค่อนข้างมาก เนื่องจากเนื้อหนูนั้นแพงกว่าเนื้อไก่ถึง 3 เท่า แถมลูกค้าที่เข้ามาก็จะต้องสั่งเมนูหนูนาอย่างน้อยหนึ่ง 1 จานเสมอ
   
   
จากช่องทางการตลาดตรงนี้เอง ทำให้พบว่า จริงๆ แล้วตลาดตรงนี้มีกลุ่มลูกค้าอยู่เป็นจำนวนมาก โดย ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้อธิบายว่า จริงๆ เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับหนูเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับของพื้นบ้าน อย่างกิ่งก่า หรืองูเห่า ด้วย เพียงแต่ความต้องการของสินค้าพวกหลังนั้นยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
   
   
“แหล่ง ใหญ่ที่ขายหนูนา จะอยู่ตามแถวเส้นสุพรรณบุรีกับอยุธยา ซึ่งย่านนี้คนจะนิยมกินหนูนากันมาก และจะใช้หนูนาแท้ หรือหนูนาของไทยเอง โดยหนูนาที่เรานำเข้าจากเขมรนั้น ไม่ได้มาจากว่าเราผลิตหนูนาไม่พอจึงต้องนำเข้า แต่มาจากราคาหนูนาของเขมรที่ถูกกว่าในประเทศไทย โดยราคาของหนูนาไทยที่ขายส่งนั่นอยู่ที่ 90บาท ส่วนหนูนาจากกัมพูชาอยู่ที่ 70 บาทเท่านั้นเอง”
   
   
อย่างไรก็ดีต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมา การต่อยอดทางธุรกิจของเนื้อหนูในเมืองไทยยังไม่มีเท่าที่ควร ทั้งที่จะว่าไป หากใครเข้ามาลงธุรกิจตรงนี้ก็มีสิทธิจะก้าวไปไกลได้ไม่น้อย เพราะยังมีช่องว่าอยู่เยอะ และตลาดก็ค่อนข้างใหญ่และกว้าง เนื่องจากคนไทยเกือบทุกภูมิภาคต่างก็กินกันทั้งนั้น
   
  
 “ตอน นี้ยังไม่มีใครยังมาสร้างแบรนด์เป็นเจ้าแรก คือถ้าทำเป็นเนื้อหนูนาที่รับประกันความปลอดภัยได้ มีใบรับรองมีการตรวจที่ได้มาตรฐาน ผมเชื่อตรงนี้ก็จะเป็นตลาดที่ใหญ่อย่างแน่นอน”


 
แม้ ภาพลักษณ์ของหนูในสายตาของผู้คนทั่วไป (โดยเฉพาะเขตเมือง) อาจจะน่ารังเกียจ หรือเป็นสัตว์ที่สกปรก แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่ง ก็จะพบว่าจริงๆ แล้วเรื่องมันก็คือเครื่องบ่งบอกวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนในสังคมแต่ละที่ นั่นเองว่าเป็นเช่นใด เพราะฉะนั้นการจะบอกว่า กินหนูแล้วผิดหรือถูกก็คงไม่ใช่เรื่องที่ควรจะนำมาถกเถียงแต่การมองไปข้าง หน้าแล้ว แล้วแสวงหาช่องทางจากตรงนี้อาจจะเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า โดยเฉพาะในยุคที่สินค้าตัวนี้ มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และคงไม่ใช่ประเทศไทยแห่งเดียวที่บริโภคหนูเท่านั้น

 

หนูจี๊ด

หนูท้องขาว

 

 

หนูขยะ

หนูนาเล็ก

 

 

 

 

หนูนาใหญ่

หนูป่ามาเลย์

หนูพุกใหญ่

หนูฟันขาวใหญ่

หนูหริ่งหางยาว

หนูหริ่งหางสั้น

 

 

 

 

 

 

 

 

   
Credit: http://atcloud.com/stories/103571
#หนู
Messenger56
1st Asst. Director
สมาชิก VIPสมาชิก VIP
24 ม.ค. 55 เวลา 09:12 8,789 15 120
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...