ตรุษจีนปากน้ำโพ นครสวรรค์ 2554


 


ตำนานงานตรุษจีนปากน้ำโพ

นครสวรรค์ เมืองต้นแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่ออีกชื่อที่คนทั่วไปรู้จักคือ 'ปากน้ำโพ' เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ระหว่างภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นครสวรรค์นับว่าเป็นประตูสู่ภาคเหนือ ส่วนปากน้ำโพจัดเป็นศูนย์ลางทางการค้า เป้นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด

ชาวจีนหลายเชื้อสายที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากทำมาหากินจะอาศัยอยู่ตามริมแม้น้ำ น่าน เรียกว่า 'แควใหญ่' และบริเวณ 'ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา' คือตลาดปากน้ำโพ ซึ่งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตก

บรรพบุรุษของชาวจีนนับถือเทพเจ้า เมื่อมาตั้งรกรากที่ใด ได้อัญเชิญเอาเทพเจ้าที่ตนนับถือติดตัวมาด้วย ชาวจีนในตลาดปากน้ำโพก็เช่นกัน พากันนับถือ เจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าพ่อกวนอู-เจ้าแม่ทับทิม-เจ้าแม่สวรรค์ เมื่อมาอยู่ได้จัดตั้งศาลเพียงตาสำหรับเป็นที่ประทับของเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ เพื่อกราบไหว้บูชา โดยตั้งขึ้น ๒ ศาล คือ ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันออกของตลาดปากน้ำโพ และศาลเจ้าแม่หน้าผา ริมฝั่งแม่น้ำปิงที่บ้านหน้าผา ขึ้นไปทางเหนือของตลาดปากน้ำโพ

เมื่ออดีตประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว ตลาดปากน้ำโพได้เกิดโรคอหิวาตกโรค ระบาดครั้งใหญ่ ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก บรรดาชาวจีนในปากน้ำโพ ได้นำเอา 'กระดาษฮู้' (กระดาษยันต์) จากศาลเจ้าไปเผาไฟแล้วเอาเถ้ากระดาษมาชงน้ำดื่มทำให้หายจากโรคระบาด เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว

ตั้งแต่นั้นมาชาวจีนในปากน้ำโพจึงได้อัญเชิญองค์เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ทุกองค์แห่รอบตลาดปากน้ำโพ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปีจนกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมากกว่า ๘๐ ปี เพื่อเป็นศิริมงคล และความเจริญก้าวหน้าด้านการค้า การเคารพกราบไหว้เปรียบเสมือนเทพเจ้าได้มาอวยชัยให้พรยังร้านค้าอันเป็น แหล่งทำกิน ในพิธีจะมีขบวนแห่มากมาย อาทิ เช่น สิงโต จากคณะเชื้อสายจีนต่าง ๆ เอ็งกอ ล่อโก้ว มังกรทอง ขบวนสาวงาม นางฟ้า ขบวนเจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น

ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม(แควใหญ่) ตั้งอยู่บนถนนสาย นครสวรรค์-ชุมแสง หันหน้าลงสู่ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณที่มีแม่น้ำสองสี สี่สายมารวมกันเรียกว่าปากน้ำโผล่ หรือปากน้ำโพ ศาลเดิมเป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง จากจารึกในระฆังโบราณคู่ศาล ระบุปีที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาถวายใน ค.ศ. ๑๘๗๐(พ.ศ. ๒๔๑๓) แสดงให้ทราบว่าศาลเจ้าแห่งนี้มีอายุนานกว่า ๑๓๐ ปี จึงมีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้ง จากป้ายไม้กลางศาลเขียนว่า บุ๊นเถ่ากงเบียว ระบุปีที่สร้างศาลใหม่เป็นภาษาจีน หรือ ค.ศ. ๑๙๐๙(พ.ศ.๒๔๑๒) ปัจจุบันลักษณะศาลเจ้าเป็นครั้งตึกครึ่งไม้ แบ่งเป็น ๓ ส่วน หน้าสุดคือส่วนที่สร้างใหม่ประดิษฐานแท่นบูชาเทพยดาฟ้าดิน ตอนกลางเป็นอาคารไม้ดั่งเดิม ตอนในสุดเป็นส่วนที่สร้างใหม่มีแท่นที่ประดิษฐานองค์เทพเจ้าบุ๊นเถ่ากง เป็นองค์ประธานอยู่กลางเทพเจ้ากวนอู อยู่ด้านขวา เจ้าแม่ทับทิม- เจ้าแม่สวรรค์ อยู่ด้านซ้าย หลังคาศาลประดับด้วยมังกรคู่ชูลูกแก้ว ปลายสันหลังทอดยาวลงมาเป็นหัวหงายที่สวยงามตระการตา เด่นตระหง่านคู่เมืองนครสวรรค์






ประวัติมังกรทอง เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ

มังกรทอง ของชาวจีนเป็นตัวแทนขององค์จักรพรรดิ เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรืองและความมีอำนาจ ดังนั้นจึงถือเป็นสัตว์ที่เป็นมงคล ถ้าได้พบเห็น หรือเยี่ยมกรายผ่านบ้านใคร ถือได้ว่าเสมือนได้รับพรจากมังกร คนจีนเชื่อกันว่า ฝูชี บรรพบุรุษของชาวฮั่นในตำนานเป็นลูกของมังกร คนจีนจึงถือว่าตนเป็นลูกหลานของมังกร ถ้ามองอีกแง่หนึ่งตามตำนานมังกรเป็นผู้ให้น้ำแก่โลกมนุษย์ ซึ่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ จึงอาจถือได้ว่ามังกรเป็นผู้ที่นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ก็ได้ การจัดแห่มังกรทองจะทำได้ต่อเมื่อท้องถิ่นนั้นมีแม่น้ำมีภูเขา และเป็นเมืองใหญ่เท่านั้น

การแห่มังกร ของชาวปากน้ำโพได้ริเริ่มขึ้นในสมัยนายหม่งแจ๋ แซ่เล้า เป็นประธานจัดงานในปี พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๐๗ โดยได้ปรึกษา นายเป็งไฮ้ แซ่ตั้ง และ นายเต็งลิ้ม แซ่เอ็ง ไปติดต่อให้อาจารย์ เล่งจุ้ย แซ่ลิ้ม เป็นครูสอน และมีนาย ตงฮั่ง แซ่ตั้ง เป็นผู้ทำมังกรตัวแรก ซึ่งได้ใช้จนปี ๒๕๓๕

ปัจจุบันได้จำลองแบบออกมาเป็นหัวมังกรที่มีความงดงามมาก มังกรทองเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพมีลีลา การเชิดที่เข้มแข็งสง่างาม ด้วยลำตัวที่ยาว ๕๒ เมตร และผู้เล่น ๑๘๐ คน ทำให้ผู้ชมสามารถสัมผัสถึงพลังแห่งอำนาจแห่งพญามังกรได้อย่างประทับใจไม่รู้ ลืม ลีลาการเชิดมังกรทองนี้เป็นลีลาเฉพาะตัวที่แตกต่างจากที่มีการเชิดมังกรใน ประเทศจีนและญี่ปุ่น และถือได้ว่าเป็นต้นตำรับการเชิดมังกรในประเทศไทยซึ่งมีการแสดงเป็นที่ เลื่องลือไปทั่วเอเซีย

23 ม.ค. 55 เวลา 00:12 7,140 3 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...