โครงการป่ารักน้ำในพระราชดำริ

วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๓๕ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมราษฎรที่่วัดป่าสุขเกษมนิราศภัย บ้านหนองไผ่ ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ทรงพบว่าในหมู่บ้านนี้มีราษฎรอยู่ ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีฐานะดี สอบถามแล้วกลุ่มที่มีฐานะดีมีอาชีพตัดไม้ขาย มีเรือนหลังใหญ่มีที่ดิน ครอบครองคนละ ประมาณ ๕๐ - ๖๐ ไร่แต่อีกกลุ่ม
มีฐานะ ยากจนมาก สภาพความเป็นอยู่ แร้นแค้น น่าอนาถนัก ไม่มีที่ดินทำกินสุขภาพทรุดโทรมมาก เมื่อเสด็จกลับถึง
พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์แล้วทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ พันเอกเรวัต บุญทับ (ยศในขณะนั้น) เข้าเฝ้าฯและทรงมี
พระราชดำริิว่า "ต้องมีคนอธิบาย ให้ราษฎรเหล่านี้ฟัง ถึงสภาพแวดล้อม ที่เขาทำลายอนาคตของประเทศชาติและชีวิตของ
พวกเขา โดยไม่รู้ตัวด้วยการตัดไม้ทำลายป่าแล้วจับจองที่ทำกินไว้คนละมากๆ แต่ทำกินไม่หมดปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า
อย่างน่าเสียดายจะให้เนรมิตน้ำให้ จะสร้างสักกี่อ่าง ถ้าฝนไม่ตกอ่างจะไปเก็บอะไรได้ คุณเรวัตช่วยแบ่งจำนวนไร
่ที่ฉันเ่ช่้าให้กับพวกซึ่งไม่มีที่ทำกินเราต้องไปสร้างบ้านป่ารักน้ำเป็นบ้านน้อยในป่าใหญ่ให้ราษฎรมีสภาพ ความเป็นอยู่ 
น่าอนาถเหล่านั้น ได้อาศัยและสอนให้เขา รู้จักใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้วให้เกิดประโยชน์ในขั้นแรกจะต้องช่วยเหลือให้มี
เงินเดือน มีฉางข้าว มีถึงเก็บน้ำฝน สำหรับดื่มได้ตลอดปี มีโค มีเกวียน สำหรับบรรทุกสิ่งของเกวียนสมัยโบราณสามารถ
ใช้ขนของอะไรก็ได้ ให้ทุกครอบครัวเลี้ยงไก่ นำไข่ไก่ให้ลูกรับประทานบ้างจะได้ไม่เป็นโรคขาดอาหารและสมองเจริญ
ทันอายุ ให้ทุกบ้านมีกี่สำหรับทอผ้า มีแปลงหม่อน สำหรับปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้าไหมใช้เอง และส่งไปขายมูลนิธ
ิศิลปาชีพพิเศษ แนะนำการทำสวนของหมู่บ้านที่เขา จะได้รับประโยชน์ เช่น เพาะเห็ด ไข่ ปลูกมะม่วง กล้วย มะขาม
ต้นแค มะละกอ กระบก พริก พืชผักสวนครัว เช่น ต้นหอม ฟักทอง แตงกวา ผู้ชายจะต้องหัดเพาะชำกล้าไม้และ
ปลูกป่าให้เป็น ปลูกไม้เนื้อแข็งที่สูงค่า เป็นพี่เลี้ยงให้ใบหล่นเป็นปุ๋ยหมักรักษาหน้าดิน ปลูกต้นนุ่นรอบๆ บ้านเพื่อเก็บฝัก
มาทำผ้านวมส่งขายให้มูลนิธิศิลปาชีพพิเศษ เพื่อนำไปพระราชทานทหาร, ตำรวจ เมื่อเสด็จเยี่ยม ฐานปฏิบัติการต่างๆ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเช่าที่ดินของนางเหง้า เพิ่มพูล ราษฎรบ้านหนองไผ่ ต.โคกสี
อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร จำนวน ๑๐ ไร่ ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน ซึ่งรกร้างว่างเปล่าทำนาไม่ได้ผลเต็มไปด้วยหญ้าคา
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชประสงค์ จะสอนให้ราษฎรได้รู้จักใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ทุก
ตารางนิ้ว มิใช่จับจองที่ป่าสงวนไว้คนละมากๆ แล้วทำกินไม่หมด ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าดังกล่าว โดยจะทรงคัดเลือก
ราษฎร บ้านหนองไผ่ ที่ยากจนไม่มีที่ดินทำกิน แต่มีความขยันขันแข็งเข้ามาอยู่อาศัยในที่ดิน ๑๐ ไร่ นี้ต่อมา เมื่อวันที่
๒ มกราคม ๒๕๒๖ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ พันเอก เรวัต เข้าเฝ้าฯ    ณ    
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน รับพระราชทานนโยบายในการจัดตั้งหมู่บ้านป่ารักน้ำ ขึ้น ทรงคัดเลือกราษฎรที่ยากจน
ไม่มีที่ดินทำกินจาก บ้านหนองไผ่ ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร จำนวน ๕ ครอบครัวและทรงคัดเลือกราษฎร
จาก บ้านห้วยไหล่ ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม จำนวน ๔ ครอบครัว รวมเป็น ๙ ครอบครัวมาอยู่ในหมู่บ้าน
ป่ารักน้ำลักษณะของบ้านพระราชทานเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง ฝาขัดแตะ ชั้นบนมี ๒ ห้องนอน ๑ ห้องพักผ่อนชั้นล่าง
ดัดแปลงเป็น ห้องครัว ห้องสุขา, ห้องเลี้ยงไหม และตั้งกี่ทอผ้าได้ พระราชทานถังเก็บน้ำฝน, บ่อน้ำตื้น, โค ๒ ตัว,
เกวียน ๑ เล่ม , ยุ้งเก็บข้าว, ไก่และเล้าไก่ ,พันธุ์ไม้ผลทุกครอบครัว พระราชทานเงินเดือน ครอบครัวละ ๑,๕๐๐ บาท
ทรงมอบหมายให้ราษฎรช่วยปลูกต้นไม้และรักษาป่า ครอบครัวละ ประมาณ ๕ ไร่ โดยทรงเช่าที่ดินรกร้างว่างเปล่าจาก
ราษฎรใกล้เคียงเพิ่มเติมขึ้นอีก ตามจำนวนครอบครัว ที่จะช่วยปลูกป่า ต่อมาเมื่อปี ๒๕๒๗ สมเด็จพระนางเจ้าฯ 
พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมราษฎร พื้นที่ จ.อุดรธานี ทรงพบราษฎรยากจนขาดแคลนที่ทำกินและมีสภาพความเป็นอยู่
น่าสงสารอีกหลายครอบครัว ได้ทรงรับราษฎรเหล่านั้นจาก อ.หนองวัวซอ และ อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี มาอยู่ที่
บ้านป่ารักน้ำ เพิ่มขึ้นอีก ๑๘ ครอบครัว ปี ๒๕๒๘ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้รับราษฎรจาก อ.ส่องดาว อ.บ้านม่วง
จ.สกลนคร มาอยู่บ้านป่ารักน้ำเพิ่มอีก ๙ ครอบครัว รวมสมาชิกในโครงการชั้นต้น ๓๖ ครอบครัว ปี ๒๕๓๓ ได้มีการ
จัดตั้งให้หมู่บ้านป่ารักน้ำเป็นหมู่บ้านถูกต้อง ตามประกาศ ของกระทรวงมหาดไทย โดยตั้งเป็น หมู่บ้านป่ารักน้ำ หมู่ที่ ๔
ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน ที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสว่างแดนดิน ๒๘ กิโลเมตร.....

Credit: สำนักงานประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กองทัพภาคที่ 2 (สปร.ทภ.2)
21 ม.ค. 55 เวลา 07:23 11,094 1 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...