โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์มาสู่คนที่มีความรุนแรงมาก อาการคือมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว คันบริเวณรอยแผลที่ถูกสัตว์กัด อาการคันลามไปที่อื่น
ถึงสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ว่า จากการประเมินในปี 2552 พบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ถึงขณะนี้ทั่วประเทศพบผู้ป่วย 24 รายใน 10 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี 4 ราย ราชบุรี 2 ราย สุพรรณบุรี 2 ราย ระยอง 2 ราย นนทบุรี ปราจีนบุรี สมุทรสาคร ตาก จังหวัดละ 1 ราย กรุงเทพมหานคร 7 ราย สงขลา 3 ราย เนื่องจากไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันหลังถูกกัด ขณะที่ปี 2551 มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 9 ราย
ประชาชนบางส่วนเข้าใจผิดว่าโรค พิษสุนัขบ้าเกิดในฤดูร้อนเท่านั้น แท้จริงแล้วพบได้ทุกฤดูกาล โดยเฉพาะฤดูหนาวที่เป็นฤดูผสมพันธุ์ของสุนัข โดยสุนัขตัวผู้จะได้รับเชื้อจากการต่อสู้แย่งชิงตัวเมีย คนติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจะแสดงอาการป่วยประมาณ 4 วัน จนถึง 3-4 ปีก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่เกิน 1 ปี และเสียชีวิตทุกราย เพราะไม่มียารักษา ได้สั่งการให้ สสจ.ทั่วประเทศเผยแพร่ความรู้โรคพิษสุนัขบ้าให้ประชาชนทราบ เพื่อป้องกันการเสียชีวิต
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์มาสู่คนที่มีความรุนแรงมาก อาการคือมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว คันบริเวณรอยแผลที่ถูกสัตว์กัด อาการคันลามไปที่อื่น ต่อมาจะหงุดหงิด น้ำลายไหลมาก กล้ามเนื้อคอกระตุกเกร็ง บางรายอาจมีอาการแขนขาอ่อนแรง มักป่วยประมาณ 2-6 วัน และเสียชีวิตทุกราย การป้องกันที่ได้ผลที่สุดคือเลี้ยงสุนัขอย่างรับผิดชอบ นำไปรับการฉีดวัคซีน ลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกสุนัขกัด หากถูกกัดให้กักสุนัขไว้เพื่อสังเกตอาการ รีบล้างแผลใส่ยา และพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนจนครบ โดยมีผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเฉลี่ยปีละกว่า 400,000 ราย
สุนัขทุกวัยมีโอกาสเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ในลูกสุนัขจะได้รับเชื้อมาจากแม่ขณะเลียปากลูก สุนัขที่เป็นโรคนี้จะมีอาการทั้งชนิดซึมและชนิดดุร้าย ชนิดซึมสุนัขมักซุกตัวในมุมมืด ถ้าถูกรบกวนอาจจะกัด บางตัวอาจมีอาการคล้ายมีกระดูกติดคอ เจ้าของจึงเข้าใจผิดพยายามใช้มือล้วงปากสุนัขเพื่อหาเศษกระดูก ทำให้ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ ส่วนชนิดดุร้าย สุนัขจะมีอาการทางประสาท กระวนกระวาย หงุดหงิด ดุร้าย กัดทุกสิ่งที่ขวางหน้า ในระยะสุดท้ายสุนัขจะมีขากรรไกรแข็ง ปากอ้า ลิ้นห้อย น้ำลายไหล วิ่งไม่มีจุดหมาย เป็นอัมพาต และตายในที่สุด