งานวิจัยพบเลือกคุ่ผิดชีวิตสั้นลง อยุ่กับคนเครืยด ความสูขบินหาย

งานวิจัยพบเลือกคู่ผิดชีวิตสั้นลง อยู่กับคนเครียด-ความสุขบินหาย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 มกราคม 2555 22:31 น.
Share5
{lang: 'th'}
  นักวิจัยเชื่อว่า มนุษย์เราก็เหมือนกับนกฟินช์ หากคนที่อยู่ด้วยมีแต่ความเครียด เราก็จะพลอยทุกข์และหาความสุขยากไปด้วย แม้ว่าจะพยายามมองชีวิตแง่บวกแล้วก็ตาม        เดลิเมล์ - ชี้อยู่กับคนเครียดขึ้นสมอง ทำให้อายุสั้นลงได้ ทั้งที่คุณพยายามคิดบวกกับชีวิตแล้วก็ตาม
       
       การศึกษานกฟินช์พบว่า อัตราการตายพุ่งขึ้นชัดเจนในหมู่นกที่มีคู่ที่วิตกกังวล สะท้อนว่าความเครียดติดกันได้ระหว่างคู่ผัวตัวเมีย
       
       นักวิจัยเชื่อว่า ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นกับมนุษย์เช่นเดียวกัน เหตุผลส่วนหนึ่งคือ คนวิตกจริตเป็นคนที่อยู่ด้วยลำบากและทำให้เกิดความไม่สบายใจอย่างแรง
       
       ศาสตราจารย์แพต โมนาแกน จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สก็อตแลนด์ ระบุว่านกที่ไม่เครียดมีอัตราตายสูงกว่าปกติถึง 4 เท่า หากมีคู่ที่มีประสบการณ์เครียดตั้งแต่เกิด
       
       “สาระที่อยากฝากไว้ก็คือ การเลือกคู่ผิดอาจทำร้ายสุขภาพของคุณอย่างมาก”
       
       งานวิจัยที่เผยแพร่ในโปรซีดดิงส์ ออฟ เดอะ รอยัล โซไซตี้ บี ยังพบว่าผลจากความเครียดที่มีต่ออายุคาดเฉลี่ยไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการ ใช้ชีวิตในปัจจุบันของเราเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของชีวิตด้วย
       
       การได้รับฮอร์โมนความเครียดเพิ่มเพียงระยะเวลาสั้นๆ ตอนเล็กๆ ทำให้นกฟินช์มีปฏิกิริยาต่อความเครียดมากขึ้นเมื่อโต และส่งผลให้อายุคาดเฉลี่ยลดลงอย่างมากในวัยผู้ใหญ่
       
       ผลการค้นพบที่น่าประหลาดใจคือ ผลลัพธ์แง่ลบนี้ไม่ได้จำกัดอยู่กับนกตัวนั้นเท่านั้น แต่นกที่เป็นคู่ของมันพลอยมีอายุคาดเฉลี่ยลดตามไปด้วย
       
       สัตว์มีกระดูกสันหลังตอบสนองต่อความเครียดในรูปแบบเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นนกฟินช์หรือคน และสัตว์ประเภทนี้ยังมีความผูกพันแน่นหนากับคู่ของตนด้วย
       
       ในการทดลองที่ครอบคลุมนกเกือบ 200 ตัว นักวิจัยให้ฮอร์โมนความเครียดธรรมชาติกับนกครึ่งหนึ่งหลังเกิด 2 สัปดาห์ หลังจากนั้น นกทั้งหมดถูกจับมาอยู่รวมกันในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากความเครียดจนถึงวัย ผู้ใหญ่
       
       นักวิจัยพบว่า การได้รับความเครียดอย่างมากในช่วงต้นของชีวิต ทำให้นกกลุ่มแรกมีปฏิกิริยาต่อความเครียด เช่น การได้อาหารในปริมาณที่คาดเดาไม่ได้ มากกว่าเมื่อโตขึ้น ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับนกที่ไม่ได้รับฮอร์โมนความเครียด
       
       แม้สิ่งนี้อาจดีสำหรับนกในการหลีกหนีการตกเป็นเหยื่อของสัตว์อื่น แต่ความเครียดที่เพิ่มขึ้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
       
       จากนั้น นักวิจัยแยกนกให้อยู่เป็นคู่เพื่อผสมพันธุ์ และติดตามผลอายุคาดเฉลี่ยนาน 3 ปี
       
       สิ่งที่พบคือ นกที่ได้รับฮอร์โมนความเครียดอายุสั้นกว่า เช่นเดียวกับคู่ของมันที่แม้ไม่ได้รับฮอร์โมนเลยก็ตาม
       
       สถานการณ์เลวร้ายที่สุดคือ เมื่อนกที่เครียดตั้งแต่เด็กมาจับคู่กัน อัตราตายพุ่งสูงกว่าปกติถึง 8 เท่า
       
       “ถ้าพิจารณาเรื่องนี้ในสถานการณ์ของมนุษย์ เราอาจตั้งสมมติฐานได้ว่าช่วงเศรษฐกิจถดถอย คนที่เครียดตั้งแต่เด็กจะยิ่งเครียดมากกว่าคนอื่นๆ ซึ่งถือเป็นข่าวร้ายสำหรับคู่ของคนๆ นั้น”

Credit: ผุ้จัดการออนไลน์
#งานวิจัย
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
11 ม.ค. 55 เวลา 07:07 1,401 1 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...