ฉลามประหลาด ฉลามพู่ รูปร่างเหมือนปลาไหล (Frilled shark)

 

 

 

 

 

ฉลามประหลาด ฉลามพู่ รูปร่างเหมือนปลาไหล (Frilled shark)


 

 


ต้องบอกว่าเคยเห็นคลิปปลาตัวนี้มานานพอสมควร และคิดว่าเป็นของปลอมเนื่องจากรูปร่าง ลักษณะ และการว่ายน้ำในคลิปนั้นออกจากพิกลพิการผิดเพี้ยนไปหมด มันแลดูขัดหูขัดตาอย่างแรงพอดีหาข้อมูลเรื่อง ฉลาม แล้วไปเจอรูปมันเข้าพร้อมข้อมูลจากเว็บที่น่าเชื่อถือ(http://www.arkive.org) ทำให้รู้ว่าพวกมันคือ ฉลามประดับพู่(Frilled shark)
ข้อมูลของฉลามพู่นั้นมีอยู่น้อยมากเนื่องจากพวกมันเป็น ปลาน้ำลึก ซึ่งจะพบเห็นพวกมันในน้ำตื้นได้น้อยมาก ปลาฉลามประดับพู่(Frilled Shark ในบ้านเราเรียกว่า ฉลามครุย แต่ผมว่ามันเหมือนมีพู่ติดอยู่บ้างเหงือกมากกว่าก็ขอเรียกว่า ฉลามประดับพู่แล้วกันครับ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chlamydoselachus anguineus โดยคำว่า anguineus มาจากภาษาลาตินที่มีความหมายว่า เหมือนงู(snakelike) พวกมันเป็น 1 ในสายพันธุ์ฉลามโบราณ ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ฉลามประดับพู่ มีรูปร่างลักษณะที่แปลกประหลาดอย่างมาก โดยมีร่างกายคล้ายปลาไหลคดงอ ตัวมีสีน้ำตาลเข้มหรือเทา โดยมีหัวมีลักษณะคล้ายกิ้งก่า มีจมูกป้านตัด มีปากขนาดใหญ่ที่ภายในมีพันเรียงเป็นแถวตอนลึกประมาณ 30 ซี่โดยฟันแต่ละซี่มีลักษณะเป็นสามง่ามเล็กๆจำนวนมาก ที่ทำหน้าที่เป็นตะขอนับพันเพื่อใช้เกี่ยวเหยื่อ ลักษณะเด่นอีกอย่างของพวกมันคือ มีแถบเหงือกอยู่ข้างละ 6 ริ้ว โดยเหงือกแต่ละแถบจะปรากฏเป็นพู่ฝอ ยยื่นโผล่ออกมาอย่างชัดเจนโดยเฉพาะเหงือกแถบหน้าสุดจะมีพู่ยื่นใหญ่กว่าเหงือกแถบอื่นๆจนเหมือนมีพู่คล้องไว้รอบคอ และเหงือกแต่ละริ้วก็มีลักษณะลึกเข้าไปในลำคอมากจนเหมือนพวกมันถูกแล่ด้วยมีดจนคอเกือบขาด(แต่ก็เป็นลักษณะตามธรรมชาติของพวกมัน) ไม่เคยมีใครเคยเห็นทักษะในการล่าเหยื่อของพวกมัน แต่คาดว่าจะใช้การพุ่งโจมตีอย่างรวดเร็วเหมือนงู โดยซ่อนตัวอยู่ตามซอกหิน โดยจากการวิเคราะห์เศษอาหารที่อยู่ในกระเพาะพวกมันพบว่า 61% ของอาหารที่พบเป็นกลุ่มปลาหมึก ทำให้สามารถอธิบายได้ถึงลักษณะฟันของพวกมันที่เหมือนส้อมแหลมที่เหมาะในการเจาะเข้าฝังในเนื้อนุ่มๆ ลื่นของปลาหมึกเพื่อป้องกันการลื่นหลุด

 
เมื่อดูรูปด้านข้างก็ยิ่งเหมือนปลาไหลมากกว่า ฉลาม
 
 
 
Credit: http://wowboom.blogspot.com/
5 ม.ค. 55 เวลา 13:41 9,016 1 130
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...