โรคพิลึก ไม่สยอง ไม่ประหลาด แค่ดูไม่ฉลาดเท่านั้นเอง
สมองดี แต่เกรดไม่ดี มันมีสาเหตุ
Post : 22 ธันวาคม 2554 , View : 6,601
Tag : เกรดไม่ดี, Academic Underachievement, พัฒนาสมอง, เรียนเก่ง
เก็บบทความนี้ไว้ใน My.iD | พิมพ์บทความนี้
window.___gcfg = {lang: 'th'};
(function() {
var po = document.createElement('script'); po.type = 'text/javascript'; po.async = true;
po.src = 'https://apis.google.com/js/plusone.js';
var s = document.getElementsByTagName('script')[0]; s.parentNode.insertBefore(po, s);
})();
โรคพิลึก ไม่สยอง ไม่ประหลาด แค่ดูไม่ฉลาดเท่านั้นเอง
Academic Underachievement เป็นลักษณะอาการแปลกๆ ที่เกิดกับเด็กที่มีระดับเชาวน์ปัญญา (I.Q.)ปกติ แต่ผลการเรียนกลับไม่ได้ผลดีตามระดับสมองเลย เกรดต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ โดยวัดจากระดับผลการเรียนทางวิชาการเท่านั้น academic หมายถึง วิชาการ underachievement คือ ผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าที่ควร เป็นลักษณะที่เห็น ได้ในเด็กที่อาจที่ทำกิจกรรมเก่ง ตอบคำถามในห้องได้ หัวไว เรียนรู้เร็ว เราเองก็มอง ว่าเจ้าเพื่อนคนนี้ ต้องเรียนเก่งแน่ๆ เลย แต่ผลกลับออกมาว่า ไม่ยักเรียนเก่งแฮะ คนที่มีลักษณะของ Academic Underachievement นี้ บางคนก็กังวลใจมากที่ผลการเรียนไม่ดีเท่าไหร่ แต่ส่วนใหญ่กลับเป็นกลุ่มที่เฉยชา ไม่สนใจการเรียน หรือไม่สนใจว่าผลการเรียนจะเป็นอย่างไร
ลักษณะสำคัญที่ปรากฎ เช่น
1. ทำงานที่ได้รับ มอบหมายได้ล่าช้ากว่ากำหนด ไม่สนใจงาน ครูไม่ทวง ตัวเองก็ไม่ทำ
2. ระดับผลการเรียน ต่ำกว่าระดับเชาวน์ปัญญา
3. เรียนไม่เก่ง แต่ทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ดี มีความรู้อื่นๆ นอกเหนือตำราเรียนดี
4. มีเรื่องวิตกกังวล ตึงเครียดมาก จากเรื่องการเรียนหรือเรื่องอื่นๆ จนขัดขวางความสามารถที่แท้จริงของเด็ก
5. ไม่เห็นคุณค่าใน ตนเอง ทำให้ไม่รู้จักพัฒนาตนเอง (ไม่รู้จะทำให้สำเร็จไปทำไม)
6. ระบบการเรียน วิธีการสอน สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนไม่เหมาะกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก
สาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดลักษณะ ของโรคนี้ ส่วนมากจะเป็นสาเหตุทางจิตใจที่เกิดได้จากทั้ง ปัจจัยภายนอก อย่างเรื่อง (1) กดดันในครอบครัว พ่อ แม่เป็นไม่สนใจหนังสือหนังหาอยู่แล้ว อยากให้ลูกรีบๆ เรียนให้จบจะได้ออกมาช่วยทำมาหากิน พ่อแม่เองก็ไม่เห็นคุณค่าของการเรียน แล้วลูกจะไปสนใจเรียนได้อย่างไร (2)ครู ครูส่วนหนึ่งแนวโน้มว่าจะสนใจคนเรียน เก่งมากกว่าเรียนไม่เก่ง เลยยิ่งไม่ได้รับความสนใจจากครู (3)เพื่อน เด็กและวัยรุ่นมีแนวโน้มจะทำตามกลุ่ม ถ้าเพื่อนเป็นกลุ่มไม่เรียน ก็ไม่เรียนตามเพื่อนด้วย และ(4)ปัจจัยในใจตน เองอย่าง นิสัยเอื่อยเฉื่อย ไม่สนใจอะไรรอบตัว หรือกลัวถูกคาดหวังและความผิดพลาด จากวันหนึ่งที่เรียนเก่งแต่ จู่ๆ ก็กลัวพลาด กลัวพ่อแม่จะว่า กดดันตัวเองมากจนเป็นปัญหาทางจิตใจและส่งผลต่อการเรียนในที่สุด ยิ่งถ้าเป็นเด็กอัจฉริยะ อาจรำคาญใจที่มาเรียนในชั้นที่ไม่ใช่ระดับความสามารถตนเอง อย่างอายุจริงเท่า ม.1 สมองเท่าม.4 แต่เรียนม.2 ตัวเองก็เบื่อ เลยพาลไม่ตั้งใจเรียนไปซะเลย มีงานก็ไม่ส่ง ครูสอนก็ไม่ฟัง อาจไม่มาสอบด้วยซ้ำ เลยทำให้ไม่มีคะแนนและผลการเรียนก็ออกมาไม่ดี หรืออาจเข้ากับเพื่อนต่างวัยไม่ได้ เป็นต้น รวมๆ แล้วสาเหตุที่จะทำให้เกิดลักษณะอาการของโรคนี้เองก็ยังคาบเกี่ยวกับสาเหตุ ของโรคอีกหลายๆ โรคเลยค่ะ
เศร้าใจ เครียด กังวล เป็นสาเหตุของโรคทางจิตใจอีกหลายอย่าง
ลักษณะอาการแบบนี้ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดง่ายๆ นะคะ ส่วนใหญ่ก็ต้องเป็นปัจจัยที่เกิดจากความกดดันคะ เรียกว่า เป็นอาการที่เกิดจากจิตใจมากกว่าพฤติกรรม ดังนั้น ถ้าใครขี้เกียจเฉยๆ เกียจคร้านไปตามเรื่องตามราวด้วยตนเอง ก็ไม่ได้เป็นโรคนี้นะ แล้ว โดยส่วนมากแล้วจะมีแนวโน้มว่าจะเกิดกับเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางด้าน วิชาการ กลุ่ม Gifted มากกว่าเด็กทั่วไปค่ะ แล้วอาจถูกวินิจฉัยร่วมกับอาการสมาธิสั้น บกพร่อง ทางการเรียนรู้ หรือปัญหาทางอารมณ์และสังคมก็ได้ แต่ต้องสังเกตและ พิจารณาควบคู่ไปกับพฤติกรรมที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย คือ เคยมีผลการเรียนดีอยู่ แล้วค่อยๆ ผลการเรียนต่ำลงเรื่อยๆ ทั้งที่ดูไม่มีปัญหาอะไรเป็นเกรดพรวดพราด เป็นครั้งคราว แล้วกลับมาเกรดเท่าเดิมก็ไม่ใช่ค่ะ
ที่สำคัญกลุ่มอาการแบบนี้ต้องได้รับการวินิจฉัย จากแพทย์หรือนักจิตวิทยาเท่านั้นนะคะ ไปคิดเอง เออเอง ว่าตัวเองมีอาการ Academic Underachievement ไม่ได้นะจ๊ะ และไม่ว่าจะเรียนเก่งหรือไม่ก็ตาม หรือไม่ว่าจะเกิดจากเหตุผลอะไร เราก็ไม่ควรไปตราหน้าเพื่อนคนไหนว่า "แกมันเรียนไม่เก่ง แกต้องเป็นโรคนี้แน่ๆ" การถูกตราหน้าจากคนอื่นไม่เป็นผลดีกับใครเลย แม้จะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงมากๆ ก็ตาม รังแต่จะทำให้เสียความมั่นใจในตนเองมากขึ้นด้วยซ้ำ
ที่พี่เกียรตินำมาให้อ่านกัน ก็ถือว่าเป็นความรู้ค่ะ เพราะ จริงๆ คนเราอาจจะเจอกับเรื่องกดดันอะไรในชีวิตจนทำให้คิดและเป็นอย่างที่ไม่ควรแบบ นี้ เช่น ตนเองคิดอยู่เสมอว่า ทำไมต้องพยายาม ทำอะไรทั้งที่ไม่มันไม่มีอะไรดีขึ้น หรือถ้าได้คะแนนดี ก็จะคิดว่ามันบังเอิญ ฟลุ๊กมากกว่า คือ ถ้าเราคิดกับตนเองแบบนี้แต่แรก ผลของมันก็คือการไม่เชื่อว่าตนเองจะทำอะไรได้สำเร็จอยู่แล้วค่ะ ที่เขาเรียกกันว่า การเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ หรือ low self-esteem และมันก็อาจเป็นลักษณะหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำนี่แหละค่ะ พี่เกียรติไม่อยากให้ใครมีความคิดในใจแบบไม่เชื่อกระทั้งใจตนเองแบบนี้นะ
บางทีเรื่องจิตใจก็เข้าใจยากนะคะ บางทีสมองดีก็จริง
แต่หัวใจหม่นหมอง ก็ไม่ทำให้เรามี ความสุขหรอกเนอะ
เพราะฉะนั้นจงมั่นใจในสมองและสองมือของ ตนเอง และทำสิ่งที่ดีด้วยความตั้งใจกันเถอะ!
Credit:
เด็กดีดอดคอม