ผ้าห่อพระศพแห่งตูริน คือ ผ้าลินินที่มีรอยคล้ายพระรูปของพระเยซูคริสต์ปรากฏบนผืนผ้า และมีความเชื่อว่าผ้าผืนนี้คือ ผ้าห่อพระศพของพระเยซูคริสต์
ผ้าห่อพระศพแห่งตูริน ถูกเก็บรักษาอยู่ที่โบสถ์หลวง Cathedral of Saint John the Baptist ใน เมืองตูริน(ทางตอนเหนือของอิตาลี) ส่วนภาพที่ปรากกฏบนผ้าผืนนี้มีความเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับ พระเยซูคริสต์ , การตึงกางเขน(crucifixion)เนื่องจากมีปรากฏร่องรอยคล้ายคล้ายรูปคนบนผืนผ้า ทั้งยังรอยคล้ายคราบเลือด บาดแผลในตำแหน่งข้อมือข้อเท้าจากการถูกตึงด้วยตะปู บาดแผลที่สีข้างจากการถูกแทงด้วยหอกลองกินุส และบาดแผลบนศีรษะจากการถูกสวมด้วยมงกุฎหนาม ภาพบนผ้าผืนนี้จะยิ่งปรากฏเด่นชัดเจนเมื่อถ่ายภาพออกมาเป็นแบบเนกกาทีฟ(ภาพจั่วหัว)
ในปี 1988 มีการทดสอบอายุของผ้าห่อพระศพแห่งตูรินด้วยวิธี radiocarbon dating test โดยใช้ชิ้นตัวอย่างเล็กๆจากผ้าห่อพระศพแห่งตูรินโดยทำการทดสอบในห้องแล็ปของมหาวิทยาลัย University of Oxford , the University of Arizona และ the Swiss Federal Institute of Technology ผลที่ได้นั้นปรากฏว่าผ้าห่อพระศพนั้นมีอายุอยู่ในยุคกลางประมาณปี ค.ศ.1260 ถึง 1390 ซึ่งมันไม่สอดคล้องกันเนื่องจากถ้าผ้าผืนนี้เป็นผ้าห่อพระศพของพระเยซูจริง ก็ควรมีอายุอยู่ในช่วงต้นของคริสตกาล แต่ ก็มีผู้โต้แย้งผลการตรวจสอบนี้เนื่องจากตัวอย่างที่นำไปทดสอบมีขนาดเล็กมากไม่น่าจะเป็นตัวแทนของผ้าห่อพระศพทั้งผืนได้ เศษที่นำไปทดสอบอาจจะเป็นชิ้นส่วนของผ้าหรือด้ายที่ใช้ในการซ่อมแซมผ้าห่อพระศพหลังจากที่ถูกไฟไหม้ในยุคกลาง เดือนธันวาคม 2011 นักวิทยาศาสตร์จาก Italy's National Agency for New Technologies, Energy and Sustainable Development หรือตัวย่อ ENEA ได้ออกมาประกาศว่าจากการทดลองสร้างภาพลงบนผ้าลินนินอย่างภาพบนผ้าห่อพระศพแห่งตูริน ผลการทดลองคาดว่าภาพนี้น่าจะถูกสร้างด้วยพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าบางอย่าง อย่างเช่นแสงคลื่นสั้นซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ในยุคกลางจะมีเทคโนโลยี่เช่นนี้ในการทำภาพให้ปรากฏบนผืนผ้า นอกจากสิ่งปาฏิหาริย์เหนือธรรมชาติ ยังมีการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ผ้าห่อพระศพแห่งตูริน อีกมากที่ผลการทดสอบออกมาในแง่สนันสนุน และโต้แย้ง