สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16)
“ทวารวดี” เป็นอาณาจักรที่นักโบราณคดีเรียกดินแดนระหว่างศรีเกษตร(ประเทศพม่า) และอิศานปุระ (ประเทศกัมพูชา) (คณะอนุกรรมการแต่งกายไทย, 2543: 64) มีศูนย์กลางอยู่ บริเวณลุ่มแม่นำ้เจ้าพระยาตอนล่างเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ที่มีประชาชนนับถือ ศาสนาพุทธ และฮินดู ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรมและการแต่งกายจากอินเดียเข้ามาผสมกับอารย ธรรมพื้น เมืองของตนจนมีความเจริญก้าวหน้า(โอม รัชเวทย์, 2543: 4) ลักษณะของการแต่งการ ได้บ่งบอกถึงฐานะของผู้คน เป็นตันว่า พระเจ้าแผ่นดินนุ่งผ้ายกดอกได้ ขุนนางธรรมดาใช้ได้แต่ ผ้ายกดอกสองชาย ส่วนราษฎรสามัญจะใช้ผ้ายกดอกได้แต่ผู้หญิงเท่านั้น (คณะอนุกรรมการแต่ง กายไทย, 2543: 64) อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานแสดงให้เห็นถึงการแต่งการของคนในสมัยทวาร วดี ปรากฎอยู่บนงานปฎิมากรรมต่างๆเช่นที่ พระเจดีย์จุลประโทน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ขุดพบภาพสลักลายเส้นบนแผ่นหินเป็นรูปเจ้านายชั้น สูงไม่สวมเสื้อ นุ่งโจงกระเบน รอบตัวมีหม้อน้ำ หอยสังข์ เงินตราและดาว (โอม รัชเวทย์, 2543: 4) ส่วนลักษณะการแต่งกายโดยทั่วไปมีดังนี้
ลักษณะการแต่งกายของหญิง
ผม ทำผมเกล้ามวย หรือถักเปียเป็นจอมสูงเหนือศีรษะ ใช้ผ้าสลับสีรัดเกล้าไว้ตรงกลาง แล้วปล่อยชายผมลงมาหรือเกล้าแล้วรัดเกล้าไว้ไม่ปล่อยชายผมหรือถักเปียเป็น จอมสูงเหนือ ศีรษะรัดตรงกลางให้ตอนบนสยายออก
เครื่องประดับ ต่างหูเป็นแผ่นกลม หรือเป็นห่วงกลม สายสร้อยทำเป็นแผ่นทับทรวงรูป สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเป็นลวดลายนก ต้นแขนประดับด้วยกำไลเล็ก ๆ ทำด้วยทองคำสำริด และ ลูกปัดสีต่าง ๆ สวมกำไลมือหลายเส้น
การแต่งกายสมัยทวาราวดี
ภาพเขียนเลียนแบบจากกรมศิลปากร (2511: 9)
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าซิ่นจีบพื้น หรือลวดลาย ย้อมสีกรัก (สีจากแก่นขนุน) ทบซ้อนกัน ข้างหน้าทิ้งชายแนบลำตัว ไม่สวมเสื้อ ห่มผ้าสะไบเฉียงบ่าซ้ายไพล่มาข้างขวา เป็นผ้า ฝ้ายบางจีบไม่สวมรองเท้า
ลักษณะการแต่งกายของชาย
ผม ถักเปียเป็นหลอดยาวประบ่า หรือเกล้าสูงรัดด้วยผ้า หรือเครื่องประดับแล้วปล่อย ชายผมกลับลงมา เกล้าเป็นจุกก็มี
เครื่องประดับ ใส่กรองคอ กำไลแขน ต่างหู เข็มขัดโลหะคาดเอว
เครื่องแต่งกาย มีผ้าเฉลียงบ่าบาง ๆ นุ่งผ้าจีบชายผ้าด้านหน้าทิ้งลงไปคล้ายผ้าถุงครึ่ง แข้ง ชายขมวดทิ้งลงไปข้างซ้าย คาดเข็มขัด ไม่สวมเสื้อ
การแต่งกายรูปแบบหนึ่งของชายสมัยทวาราวดี
ภาพเขียนเลียนแบบจากกรมศิลปากร (2511: 9)