เมฆ ชนิดนี้เป็นที่รู้จักในหลากหลายชื่อดังนี้ เมฆคลื่น(billow cloud), เมฆแรงโน้มถ่วงเฉือน(shear-gravity clouds), และเมฆเคลวิน-เฮลม์โฮลตซ์(Kelvin-Helmholtz หรือเรียกย่อๆว่า เมฆKHI ซึ่งตั้งเป็นเกียรติต่อท่านลอร์ด Kelvin และ Hermann von Helmholtz)
เมฆนี้ลักษณะคล้ายเกลียวคลื่น และมันยังเป็นตัวชี้วัดถึงสภาพความปั่นป่วนในชั้นบรรยากาศำหรับอากาศยานต์ได้เป็นอย่างดีหากพบเห็นพวกมัน หมายความว่าอากาศปั่นป่วน
สาเหตุของการเกิดเมฆคลื่นหัวแตกนี้เกิดจาก ความเร็วในการเคลื่อนตัวของชั้นอากาศ 2 ชั้น(หรือมากกว่า2ชั้น)ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน โดยอากาศชั้นบนเคลื่อนที่เร็วสูงกว่าชั้นล่าง เมื่ออากาศด้านบนเคลื่นที่ด้วยความเร็วสูงกว่าชั้นล่างจะก่อให้เกิดแรงดันอากาศที่แตกต่างกันโดย กล่าวคืออากาศที่เคลื่อนที่เร็วกว่าจะมีความดันต่ำกว่า ทำให้อากาศด้านล่างจะมีแรงดันสูงจะยกตัวขึ้น ส่วนอากาศด้านบนที่เคลื่อนตัวด้วยความเร็วสูงจะมีแรงดันต่ำก็จะกดตัวลง ทำให้เกิดความปั่นป่วนในเมฆทำให้เมฆม้วนตัวดังภาพด้านล่าง เมฆคลื่นหัวแตกนี้มักจะพบได้ในวันที่มีลมแรง ในสถานที่มีความหนาแน่นของอากาศที่แตกต่างกันอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุญหภูมิ
สาเหตุของการเกิดเมฆคลื่นหัวแตกนี้เกิดจาก ความเร็วในการเคลื่อนตัวของชั้นอากาศ 2 ชั้น(หรือมากกว่า2ชั้น)ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน โดยอากาศชั้นบนเคลื่อนที่เร็วสูงกว่าชั้นล่าง เมื่ออากาศด้านบนเคลื่นที่ด้วยความเร็วสูงกว่าชั้นล่างจะก่อให้เกิดแรงดันอากาศที่แตกต่างกันโดย กล่าวคืออากาศที่เคลื่อนที่เร็วกว่าจะมีความดันต่ำกว่า ทำให้อากาศด้านล่างจะมีแรงดันสูงจะยกตัวขึ้น ส่วนอากาศด้านบนที่เคลื่อนตัวด้วยความเร็วสูงจะมีแรงดันต่ำก็จะกดตัวลง ทำให้เกิดความปั่นป่วนในเมฆทำให้เมฆม้วนตัวดังภาพด้านล่าง เมฆคลื่นหัวแตกนี้มักจะพบได้ในวันที่มีลมแรง ในสถานที่มีความหนาแน่นของอากาศที่แตกต่างกันอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุญหภูมิ
เมื่ออากาศแต่ละชั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน เมื่อชั้นบนเคลื่อนที่เร็วจะเกิดความดันต่ำกว่าบรรยากาศชั้นล่าง เมื่อความดันไม่สมดุลย์กันอากาศความดันสูงจะยกตัวขึ้นส่วนที่ความดันต่ำจะกดตัวลง ก่อนให้เกิดการม้วนตัวดังภาพ