ปราสาทศพ วัฒนธรรมหลังความตายของคนล้านนา

 

เนื่องจากคนล้านนามีความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย เมื่อมีคนตายจึงต้องจัดพิธีงานศพขึ้นเพื่อเป็นการไว้อาลัยแก่คนตายอย่างสมเกียรติ พิธีงานศพของคนล้านนาจะมีการจัดแต่งปราสาทใส่ศพประดับประดาด้วยดอกไม้สดหรือแห้งให้แลดูสวยงาม นับว่าเพื่อเป็นการยกย่องผู้ตายให้ได้ขึ้นไปสู่สรวงสรรค์ชั้นฟ้า 

ขั้นตอนการทำพิธีศพของคนในภาคเหนือนั้น เมื่อมีคนตายขึ้น ทางบ้านโดยลูกหลานหรือญาติพี่น้องก็จะรีบไปติดต่อซื้อโลงศพและปราสาททันที การตั้งศพจะประกอบด้วยโลงศพมีการประดับประดาด้วยไฟสีหรือไฟกะพริบอย่างสวยงาม ก่อนที่จะนำโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท จะมีการทำพิธีกรรมทางสงฆ์คือการทานปราสาทเสียก่อน โดยจะนิมนต์พระสงฆ์มาเป็นผู้ทำพิธีก่อนที่ชาวบ้านและบรรดาลูกหลานของคนตายจะช่วยกันยกโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท 

ซึ่งพิธีทานประสาทมักจะกระทำก่อนวันเผา 1 วันในพิธีงานศพแถบหมู่บ้านรอบนอกจะนิยมจ้างวงดนตรีบรรเลงปี่พาทย์ หรือ วงสะล้อซอซึง มาเล่นประกอบพิธีศพกันอย่างครึกครื้น การสวดศพส่วนใหญ่แล้วจะตั้งสวด 3 - 5 วันนิยมตั้งศพไว้ที่บ้าน นิมนต์พระสงฆ์ไปสวดที่บ้าน แต่ปัจจุบันความนิยมดังกล่าวลดลงจะมีให้เห็นและเหลืออยู่ก็เพียงชาวบ้านที่อยู่ในชนบท ที่มีบริเวณบ้านกว้างขวางพอที่จะตั้งปราสาทและทำพิธีศพได้ ส่วนคนในเมืองที่มีบริเวณบ้านคับแคบก็จะเอาศพไปตั้งไว้ที่วัด

 

ปราสาทศพของชาวบ้านศิลปะไทยใหญ่

 


ปราสาทศพของชาวบ้านคนทั่วไป

 

ตุงสามหาง แทนวิญญาณของคนตาย

 

ปราสาทศพเจ้านายล้านนา จะเป็นปราสาทอยู่บนหลังสัตว์หิมพานต์

โดยส่วนใหญ่จะเป็นนกหัสดีลิงค์ มีลักษณะคล้ายกันกับของพระเถระและพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่



ปราสาทศพเจ้านายล้านนา (งานศพแม่เจ้าแสงแก้ว วังซ้าย ที่บ้านกุหลาบน้อย จ.แพร่)

 



ปราสาทศพพระเถระล้านนา

 

เราไม่อาจรู้ได้ว่าชาติภพภายหน้าจะมีจริงหรือไม่ ทางที่ดีเราควรตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท และมั่นทำความดีเพื่อให้เราอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและไม่เบียดเบียนผู้อื่นดีที่สุด สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ

Credit: โพสจัง
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...