แรมเก่าก็แรงได้ ไม่ต้องเสียตังค์

 

 

 

 

 

แรมเก่าก็แรงได้ ไม่ต้องเสียตังค์

 

 

หลายคนพอเครื่องช้าลงหน่อยก็อยากจะเพิ่ม อยากเปลี่ยน แต่ไม่เคยตรวจเช็คเลยว่าสามารถปรับปรุงหรือปรับแต่งฮาร์ดแวร์ที่มีให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จริงๆ แล้วคอมพ์ส่วนใหญ่มีฟังก์ชันสำหรับการปรับแต่งในส่วนต่างๆ อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะมีใครสนใจหรือเข้าใจในการใช้งานหรือไม่เท่านั้น ซึ่งฟังก์ชันเหล่านั้นก็เป็นอะไรที่ง่ายๆ แต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีพอสมควร แบบไม่ต้องไปเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกด้วย เช่นเดียวกับแรม ที่เป็นปัจจัยสำคัญของระบบ

ในภาพรวมของการปรับแต่ง หากเป็นขั้นตอนแบบง่ายๆ เบสิกที่สุดก็คือ อันดับแรกปรับค่าบัส สเต็ปต่อไปก็คือ การเล่นกับค่า CL (Clock Latency) ส่วนสุดท้ายที่ควรทำหลังสุด ถือเป็นไม้ตายสุดท้าย ก็คือการปรับค่าแรงดันไฟ ในจุดนี้อาจส่งผลต่อตัวแรมได้โดยตรง หากไม่ทำด้วยความรอบคอบ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ เช่นการดันความเร็วบัสให้สุดๆ บางครั้งก็ต้องอาศัยแรงดันไฟด้วย ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ ถ้ามีการปรับให้สอดคล้องกันดี ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบได้อย่างยอดเยี่ยม แถมยังเสถียรอีกด้วย

ในขั้นแรกที่ใช้ในการปรับแต่งไบออสเพื่อโอเวอร์คล็อก พื้นฐานต้องรู้ว่าแรมเดิมบัสหรือ DRAM Frequency และค่า CL เท่าใด จากนั้นเลือกว่าต้องการเพิ่มความเร็วบัสหรือลด CL เพราะทั้ง 2 อย่างนี้ต้องแลกกัน หากจะให้บัสสูง ก็ต้องดันค่า CL ให้สูงตามไปด้วย ไม่อย่างนั้นโอกาสที่พาให้บัสขึ้นไปสูงๆ มีได้น้อย ถ้าไม่มั่นใจให้เลือกปรับเฉพาะบัสในช่วงแรก เพราะไม่ค่อยยุ่งยาก แถมยังเห็นผลได้ชัด


เข้าไปดูที่ DRAM Frequency หรือ Advance DRAM Configuration ส่วนใหญ่เมนบอร์ดจะมีขั้นความเร็วเป็น ระดับขั้นให้อยู่แล้ว โดยจะบอกเป็นความเร็วบัสชัดเจน ให้เลือกไปตามความเร็วที่ต้องการ แต่ในขั้นตอนนี้จะมีสเต็ปที่ไม่ค่อยละเอียดนัก รวมถึง DRAM bus จะแปรผันไปตามความเร็วบัสซีพียูด้วย ซึ่งหากมีการโอเวอร์คล็อกซีพียู ก็คงต้องพิจารณาบัสแรมด้วยเช่นกันหรือเมนบอร์ดบางตัว ก็จะมีให้กำหนดค่า Memory Ratio ว่าจะให้มีสัดส่วนความเร็วของซีพียูและแรมเป็นเท่าใด เช่น 1:1, 1:2 หรือ 1:5 เป็นต้น
แต่บางรุ่นจะสามารถกำหนดความเร็วบัสได้เองหรือมีฟังก์ชัน Memory Clock เข้ามาช่วย ในกรณีที่จะตั้งให้เป็นสัดส่วนตามความเร็วบัสซีพียู โดยจะเลือกเป็น x2.00/ x2.66/ x3.33/ x4.00 หรือ x5.33 เช่นซีพียูบัส 200MHz เมื่อปรับตัว Clock ร่วมกับ x4.00 ก็จะกลายเป็นแรมบัส 800MHz เมื่อโอเวอร์คล็อกซีพียูไปเท่าใด ความเร็วในจุดนี้ก็ปรับตามไปเท่านั้น ซึ่งหาก x4.00 ไม่สามารถดันขึ้นไปต่อได้ ก็อาจจะเลือกใช้ x3.30 หรือ x2.66 แทน ก็จะช่วยให้ประสบความสำเร็จง่ายขึ้น


แต่ถ้าหากต้องการที่จะเน้นค่า CL ล้วนๆ ก็คงต้องหันไปดูที่บัสด้วย ซึ่งอาจจะต้องลดบัสลงในกรณีที่เมื่อปรับแล้วเกิดปัญหา โดยการเข้าไปดูที่ CAS Latency สเต็ปที่มีให้ก็จะอยู่ในช่วงประมาณ 5-6 ขั้น ให้ดูจาก CL เดิมของแรมเป็นหลัก จากนั้นปรับลดทีละ 1 ขั้น แล้วลองรีสตาร์ท เช่น ค่าเดิมแรม CL8 ก็ลดลงที่ CL7 หากจะให้ลดกว่านั้น ก็ให้ไปลดค่าบัสแรมลง เพื่อให้เสถียรมากขึ้น ส่วนเรื่องแรงดันไฟให้ระลึกไว้เสมอว่า ไม่จำเป็นก็อย่าไปแตะ แต่ถ้ามั่นใจก็ค่อยๆ ทำไป ลองดันไปทีละ 0.05V เรื่อยๆ จนกว่าจะบูตและทำงานได้เสถียรตามปกติไม่เกิด Error
การปรับแต่งแรมในปัจจุบันไม่ได้เป็นเรื่องอันตรายนัก หากไม่ฝืนจนเกินไป เพราะเมื่อค่าที่เกิดขึ้นไม่เหมาะสมหรือไม่ผ่าน เมนบอร์ดก็จะปรับให้เป็น Defualt อัตโนมัติ ก็เท่ากับว่ากลับมาสถานะเดิม แต่บางรุ่นก็จะให้เซฟเป็นโพรไฟล์ไว้ได้ ก็จะทำให้การปรับแต่งง่ายขึ้นเยอะเลย หากว่าลองปรับดูแล้วยังไม่ดีขึ้น การเปลี่ยนใหม่ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย

Credit: http://www.arip.co.th/tips/414655/แรมเก่าก็แรงได้%20ไม่ต้องเสียตังค์.htm
12 ธ.ค. 54 เวลา 16:22 11,648 16 220
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...