“ยาเสพติด” มักจะถูกอ้างอิงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของ “วิถีแห่งร็อกแอนด์โรล” เสมอ ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตอย่างสุดขั้ว ไร้ข้อจำกัด และต่อต้านสังคม เป็นวิถีที่มีสีสันน่าหลงใหลสำหรับบางคน ... แต่อีกด้านมันยังนำมาซึ่งความตกต่ำในชีวิต, ปัญหาส่วนตัวอันไร้ทางออก และความตายที่แสนเศร้า เป็นอีกด้านหนึ่งแห่ง “วิถีแห่งร็อกฯ” ที่บางคนปฏิเสธที่จะรับรู้
ต้องยอมรับความจริงว่ายาเสพติดเป็นส่วนหนึ่งของวิถีร็อกฯ มาตลอด ในปลายยุค 60s มีศิลปินหลายรายได้ทดลองใช้ LSD (Lysergic Acid Diethylamide) ยาที่มีฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง จนเกิดดนตรีแนว “ไซเคเดลิก” กับบทเพลงที่ให้ความรู้สึกหลอนประสาท สร้างประสบการณ์และบรรยากาศแห่งการใช้ยาเสพติด
ต่อมายาเสพติดไม่เพียงใช้เป็นเครื่องมือค้นหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ แต่ที่สำคัญกว่าก็คือเพื่อกลบเกลื่อนปัญหาชีวิตมากมาย ที่เกิดขึ้นจากทั้งความโด่งดัง และความล้มเหลวในอาชีพ แม้จะไม่ได้จำกัดวงใช้อยู่กับคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ชื่อของศิลปินร็อกก็ยังดูจะผูกติดกับอบายมุขประเภทนี้มากที่สุด
ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าการใช้ยาในหมู่ศิลปิน ส่งผลต่ออัตราการเพิ่มของจำนวนผู้เสพยาโดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น อย่างเมื่อกลางยุค 60s ที่ The Beatles เริ่มใช้ยาเสพติดกันอย่างเปิดเผย สารก็ส่งตรงไปถึงแฟนๆ วัยรุ่นของพวกเขาโดยทันที อย่างที่นักข่าว อัล โรโนวิตซ์ เคยเขียนไว้ว่า “ไม่ว่า the Beatles จะทำอะไรมันก็เป็นที่ยอมรับไปหมด โดยเฉพาะสำหรับพวกเด็กๆ”
อิทธิพลของร็อกแอนด์โรลจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภาพของร็อกสตาร์เป็นรู้จักสำหรับทุกคน และเป็นที่นิยมชมชอบมากในหมู่วัยรุ่น ทั้งในแง่ของการมีพรสวรรค์อันสูงส่ง และใช้ชีวิตอย่างหนักหน่วง,สุดขั้ว, ไม่บันยะบันยังในทุกแง่ ทั้งผู้หญิง, สุรา และยาเสพติด เป็นภาพแห่งชีวิตสุดเหวี่ยงอันโก้หรูน่าหลงใหล พร้อมกับตอนจบอันแสนเศร้า และอาจจะพูดได้ว่าน่าสมเพช
ตอนนั้น เฮนดริกซ์มักจะมีอารมณ์ฉุนเฉียว และใช้ความรุนแรงขณะอยู่ในอาการมึนเมา เคยใช้ทั้งโทรศัพท์ และขวดเหล้าทำร้ายแฟนสาวมาแล้ว รวมถึงก่อเรื่องพังห้องพักโรงแรมในสต็อกโฮล์ม และมิตรภาพกับเพื่อนสนิทที่ชื่อ พอล คารูโซ ก็ต้องยุติลง เมื่อ เฮนดริกซ์ ชกหน้าเพื่อนคนนี้ระหว่างที่เขามึนเมา และกล่าวหาว่าถูกอีกฝ่ายขโมยเงิน
เฮนดริกซ์ เสียชีวิตลงท่ามกลางความเศร้าสลดของแฟนดนตรีทั่วโลก ในขณะที่เขามีอายุได้ 27 ปี ที่มีสาเหตุมาจากการสำลักอาเจียนของตัวเอง หลังจากดื่มเหล้า และยานอนหลับเข้าไป เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 1970 ปิดตำนานอันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และจบลงโดยไม่มีใครคาดคิด
“เจนิส จอปลิน” ราชินีแห่งร็อกแอนโรล
นักร้องนักแต่งเพลงสาวจาก พอร์ทอาร์เธอร์ เทกซัส มีช่วงเวลาที่โด่งดังสุดขีดกับดนตรีที่ผสมแนวบลูส์และโฟล์กเข้าด้วยกัน เป็นศิลปินหญิงที่ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งยุค 60s เช่นเดียวกับพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดที่เป็นภาพติดตัวของเธอ เจนิส จอปลิน เสพทั้งยาจำพวกหลอนประสาทอย่าง LSD จนไปถึงเฮโรอีน และยังเป็นนักดื่มตัวยงโดยมีเหล้าโปรด คือ Southern Comfort
ในช่วงปี 1966 ผลแห่งการใช้ยาก็เริ่มปรากฏชัด ร่างกายของจอปลินดูซูบผอมลงไปมาก ที่ทำให้ครอบครัวและคนใกล้ตัวตัดสินใจส่งเธอไปสถานบำบัด นักร้องสาวมากพรสวรรค์เริ่มกลับมามีชีวิตที่ดีอีกครั้ง และยังสั่งให้เพื่อนร่วมวงว่าห้ามใช้ยาต่อหน้าเธออีกเป็นอันขาด แต่สุดท้ายตัวเธอเองก็กลับไปใช้อีกจนได้
จอปลิน พยายามเลิกใช้ยาอย่างหนัก แต่สุดท้ายก็ไม่สำเร็จ จนเธอเสียชีวิตลงอย่างกะทันหันในปี 1970 ระหว่างช่วงของการเข้าห้องอัด เพื่อบันทึกเสียงผลงานชุดที่ 3 ซึ่งในเช้าวันหนึ่งเธอไม่ได้มาทำงานตามนัดหมาย จนผู้จัดการส่วนตัวที่เริ่มวิตกกังวล ได้ตัดสินใจไปเช็กที่โมเต็ล และพบศพของจอปลินนอนอยู่บนพื้นใกล้ๆ กับเตียงนอน ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ตัดสินว่าเป็นการตายที่มีสาเหตุมาจากการเสพเฮโรอีนเกินขนาด
.
.
สองสุดยอดมือกลองแห่งยุค
ส่วน จอห์น บอนแฮม แห่ง Led Zeppelin คือผู้ได้รับการยกย่องว่ายอดเยี่ยมทั้งความเร็วในการหวดกลอง และสปีดเท้าขวาที่ใช้ย่ำกระเดื่อง สร้างเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ และความ “รู้สึก” แห่งจังหวะได้อย่างไม่มีใครเหมือน จนได้รับการยกย่องเป็นมือกลองที่ยอดเยี่ยมอีกคนแห่งประวัติศาสตร์ร็อก ซึ่งความยอดเยี่ยมเอกอุที่ว่าต้องกลายเป็นเพียงตำนาน ในวันที่ 24 ก.ย. 1980 หลังเขาเสียชีวิตจากการดื่มวอดก้าอย่างหนักถึง 40 ช็อต จนหลับและสำลักอาเจียนตัวเองจนถึงแก่ความตาย
ถึงกระนั้นตลอดสามทศวรรษวงก็ยังออกแสดงไปแล้วถึง 2,314 รอบ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพราะเขาต้องการใช้เงินนั้นเอง การใช้ยายังทำให้ การ์เซีย มีปัญหาทางกฎหมายอยู่เป็นระยะ สุขภาพก็ย่ำแย่น้ำหนักตัวลดลงอย่างควบคุมไม่ได้ ถึงขั้นถูกส่งเข้าห้องโคม่าในปี 1986 และไม่รู้สึกตัวไปถึง 5 วัน เขาต้องเข้ารับการบำบัดหลายครั้ง ซึ่งหนสุดท้ายก็คือในปี 1995 ที่ การ์เซีย ต้องเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย ในคลินิกบำบัดผู้ติดยาแห่งหนึ่ง โดยมีสาเหตุมาจากการใช้ยาเสพติดอย่างยาวนาน
.
“ซิด วิคเชียส” โศกนาฏกรรมแบบพังก์ร็อก
ชีวิตของ ซิด วิคเชียส หรือชื่อเกิดว่า จอห์น ไซมอน ริตชี มือเบสผู้ทรงอิทธิพล ของวงพังก์ร็อก Sex Pistols และแฟนสาว แนนซี สปันเจิน คือตำนานหน้าหนึ่งแห่งวงการเพลง เป็นตำนานแห่งความเศร้าที่มีเฮโรอินเป็นส่วนสำคัญ
แนนซี่ หญิงชาวอเมริกันผู้คลั่งไคล้ในตัวนักดนตรีร็อกอย่างหมกมุ่น เคยตามวงอย่างAerosmith, The New York Dolls และ The Ramones จนกระทั่งตัดสินใจย้ายมาอยู่ลอนดอน และได้พบรักกับ ซิด วิคเชียส ศิลปินหนุ่มน้อยแห่งวงพังก์ร็อกชื่อดัง ทั้งสองย้ายมาอาศัยอยู่ร่วมกันและต่างใช้ยาเสพติดหนักด้วยกันทั้งคู่ โดยเฉพาะเฮโรอีนซึ่งเห็นผลเป็นการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวหยาบคาย สร้างปัญหาในที่สาธารณะอยู่เสมอ นอกจากนั้นยังส่งผลไปถึงการทำงานกับวง Sex Pistols ด้วยจนเขาต้องออกจากวงในที่สุด
มือเบสหนุ่มจากอังกฤษพยายามดิ้นรนต่อไปในฐานะศิลปินเดี่ยว โดยมีแฟนสาวเป็นผู้จัดการส่วนตัว แต่ทุกอย่างกลับไม่ประสบผลสำเร็จอย่างที่ควร ทั้งคู่ยิ่งใช้เฮโรอีนหนักขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเช้าวันหนึ่ง ซิด วิคเชียส ตื่นขึ้นมาพบว่าแฟนสาวของเขานอนเสียชีวิตจมกองเลือด โดยมีมีดปักอยู่ที่ตัว ในห้องน้ำของห้องพักโรงแรมเชลซี ในแมนฮันตัน ที่ทั้งคู่ใช้เป็นที่พำนักในขณะนั้น เขาถูกจับกุมตัวโดยทันที ซึ่งในตอนแรก ซิค ยอมรับผิด แต่ต่อมากลับอ้างว่าจำอะไรไม่ได้เพราะอยู่ในอาการมึนเมา นอกจากนั้นยังมีข้อสันนิษฐานว่า การเสียชีวิตของแนนซีอาจจะเกิดขึ้นจากเหตุปล้นชิงทรัพย์ หรือไม่ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องการซื้อยาเสพติดด้วย
หลังจากเรื่องดำเนินอยู่ในชั้นศาลพักใหญ่ ซิด วิคเชียส เคยกระทั่งพยายามฆ่าตัวตาย แต่สุดท้ายก็ไม่สำเร็จ ในวันที่ 1 ก.พ. 1979 เขาได้รับประกันตัวด้วยเงิน 50,000 เหรียญฯ และจัดงานเลี้ยงฉลองขึ้นให้กับการได้ประกัน ที่อพาร์ตเมนต์ของแฟนสาวคนใหม่ มิเชล โรบิสัน ที่เขาพบเมื่อเดือน ต.ค.ปีก่อนหน้านั้น แต่แล้วมารดาของ ซิด กลับสั่งเฮโรอีนมาจากพ่อค้ายารายหนึ่งที่มาส่งให้ถึงที่ แม้แฟนสาวคนใหม่จะไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่ศิลปินหนุ่มก็เสพมันเข้าไปจนมีอาการเสพยาเกินขนาด เมื่อถึงตอนเช้าเขาก็สิ้นลมลงแล้วด้วยวัยเพียง 21 ปีเท่านั้น
โดยหลังจาก Pink Floyd ออกอัลบั้ลแนวไซเคเดลิก The Piper at the Gates of Dawn ในปี 1967 ที่ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงและได้รับการยกย่องจากผู้สันทัดกรณีในวงการดนตรีมาจนถึงปัจจุบัน แต่สำหรับชีวิตส่วนตัวของ บาเร็ตต์ กลับเต็มไปด้วยปัญหา จนเมื่อต้นปี 1968 เขาต้องออกจากวง เนื่องจากพฤติกรรมแปลกประหลาดคาดเดาไม่ได้ บางครั้งยืนอยู่บนเวทีโดยไม่ได้เล่นกีตาร์อะไรเลย ในการให้สัมภาษณ์ก็แทบจะไม่เปิดปากพูดจา
ว่ากันว่าเขามีปัญหาทางจิตอันเป็นผลมาจากการใช้ LSD อย่างหนัก บวกกับปัญหาส่วนตัวแต่ดั้งเดิม อาการของ แบร์เร็ต จึงย่ำแย่อย่างหนัก และต้องใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว รวมถึงเข้ารักษาในโรงพยาบาลสำหรับผู้มีปัญหาทางจิต และแทบไม่ได้มีงานอะไรออกมาเลย ส่วน Pink Floyd กลายเป็นศิลปินระดับโลกที่มีทั้งยอดขายผลงานระดับร้อยล้านแผ่น และได้คำยกย่องจากนักวิจารณ์ ส่วนชีวิตของ ซิด แบร์เร็ต กลายเป็นเพียงตำนานบทแรกของวง ก่อนเขาจะจากโลกนี้ไปเมื่อปี 2000 ด้วยวัย 60 ปี