ในที่สุดนักวิทยาศาสตร์ก็ค้นพบความลับว่า ทำไมสัตว์บางชนิดจึงสามารถงอกอวัยวะที่ขาดได้ หลังจากการค้นคว้าวิจัยมากว่า 30 ปี
จากการค้นคว้าในอดีตทำให้ทราบว่า สัตว์บางชนิดใช้กรดเฉพาะบางอย่างในการงอกอวัยวะใหม่ แต่ ยังไม่มีใครทราบกลไกการทำงานของมันอย่างแท้จริง ปัจจุบันทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Konstanz ในทางตอนใต้ของเยอรมัน ได้ออกมาประกาศว่าพวกเขาสามารถไขความลับในการงอกอวัยวะได้แล้ว จากการศึกษาในปลาม้าลาย(Zebra fish) ทีมวิจัยพบว่ากรด Retinoic acid คือกุญแจสำคัญสำหรับกลไกการงอกอวัยวะ ทีมทำการศึกษากับปลาม้าลาย ที่ครีบขาด โดยทีมวิจัยพบว่าก่อนที่ปลาม้าลายจะงอกครีบที่ขาดไป บาดแผลจะสมานด้วยเนื้อเยื่อหลายชั้น โดยเซลล์ด้านใต้เนื้อเยื่อจะสูญเสียรูปแบบดั่งเดิมของเซลล์ไปกลายเป็นเซลล์ Blastema และกรดRetinoic จะเข้ามาควบคุมรูปแบบของเซลล์ Blastema ให้กลายเป็นเซลล์ของอวัยวะที่ขาด หรือได้รับความเสียหาย เซลล์ Blastema คือ เซลล์ที่สามารถเจริญเติบโต และงอกเป็นอวัยวะได้ ทั้งมนุษย์ และสัตว์สามารถสร้างกรด Retinoic ได้จากวิตามินเอ ฉะนั้นถ้าหญิงมีครรภ์ที่ได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอทารกจะมีการพัฒนาที่ต่ำกว่าปกติ ถึงตอนนี้เราจะทราบกลไกการทำงานการงอกอวัยวะีของปลาม้าลายโดยอาศัยกรดRetinoicแล้ว ปัญหาในตอนนี้ก็คือทำไมมนุษย์จึงไม่สามารถงอกอวัยวะได้ทั้งที่ก็มีกรดRetinoicในร่างกายเหมือนกันเราต้องค้นหาอุปสรรคของขบวนการงอกอวัยวะในมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ซักวันจะมีตัวยาที่สามารถทำให้มนุษย์งอกอวัยวะที่ขาดหายได้เหมือนหางจิ้งจก