เตือนยุงรำคาญนาข้าว ระบาดช่วงน้ำท่วม ชี้เสี่ยงต่อโรคไข้สมองอักเสบ เผยบิน
ได้ไกลกว่า 3 กิโลเมตร เปลี่ยนพฤติกรรมกินเลือดคนแทนเลือดสัตว์
วิกฤติการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ในบางพื้นที่สถานการณ์ก็เริ่มคลี่คลายแล้ว ส่งบาง
พื้นที่ก็ต้องทนอยู่กับน้ำท่วมขังมานานนับเดือน และแน่นอนนอกจากปัญหาน้ำเน่าเสียที่
ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนจิตใจแล้ว ยังมีเจ้าตัวร้ายอย่าง "ยุง" พาหะนำโรคมาสร้างความ
รำคาญใจให้อีก โดย รศ.ชำนาญ อภิวัฒนศร หัวหน้าภาควิชากีฏวิทยาการแพทย์ คณะ
เวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยว่า ถึงแม้ว่าโรคไข้เลือดออกที่คาดว่า
จะระบาดในช่วงน้ำท่วมนั้นจะไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเท่าไร เพราะในช่วงนี้ยุงลายไม่ค่อยขยาย
พันธุ์มากเท่าฤดูฝน และไม่ใช่ยุงที่มากับน้ำท่วม
สำหรับยุงที่มากับน้ำท่วมนั้น รศ.ชำนาญ กล่าวว่า เป็น "กลุ่มยุงรำคาญนาข้าว"
หรือมีชื่อเรียกทางวิชาการว่า "ยุงพาหะรำคาญ" (Culex tritaeniorhynchus) เป็นพาหะ
โรคไข้สมองอักเสบ ก่อให้เกิดเชื้อไวรัสมากมาย ทั้งเชื้อไวรัสแจแปนิส เอ็นเซฟาไลติส
หรือเจอี ซึ่งเชื้อไวรัสดังกล่าวส่วนมากพบในพื้นที่ทำนา และที่เลี้ยงสัตว์ โดยยุงดังกล่าว
สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้ดีในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง หรือน้ำเน่าเสีย และพบมากบริเวณนา
ข้าวที่เกิดจากการหมักเน่า และจมน้ำ อีกทั้งยังมีวงจรชีวิตได้ยาวนานกว่ายุงปกติ มี
พฤติกรรมออกหากินในช่วงกลางคืน และสามารถบินไกลได้ถึง 3 กิโลเมตรเลยที
เดียว ทั้งนี้จากเหตุการณ์น้ำท่วมในภาคกลางและภาคเหนือนั้น ทำให้ยุงแพร่พันธุ์ได้ดี ซึ่ง
ขณะนี้ยุงรำคาญนาข้าวกำลังแพร่กระจายไปยังกรุงเทพฯ
รศ.ชำนาญ ยังกล่าวว่า นอกจากนี้พฤติรรมของยุงยังได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ
แวดล้อม จากเดิมกินเลือดสัตว์ เช่น วัว ควาย ของชาวบ้านที่เลี้ยงไว้ และเมื่อเหตุการณ์
น้ำท่วมเกิดขึ้น มีการอพยพย้ายสัตว์ไปยังทีต่าง ๆ อีกทั้งยังมีพื้นที่น้ำท่วมขังขยายวงกว้าง
ทำให้ยุงเปลี่ยนไปกินเลือกคนแทน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นโอกาศของชาวบ้านที่เสี่ยงต่อการ
ติดเชื้อโรคไข้สมองอักเสบก็จะมีมากขึ้นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่เคยฉีด
วัคซีนป้องกันโรคดังกล่าว
แต่อย่างไรก็ดี ทางกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เด็กแรกเกิดทุกคนจำเป็น
ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเป็นมาตรฐานการป้อนกันโรคอยู่แล้ว จึงทำให้
อัตราการเป็นโรคนี้ไม่เสี่ยงเท่าไรนัก
หัวหน้าภาควิชากีฏวิทยาการแพทย์ ม.มหิดล ยังกล่าวต่อว่า ขณะนี้ในทาง
กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการควบคุมการแพร่พันธุ์ของยุงทุกชนิดที่มากับน้ำท่วมขังอยู่
แล้ว แต่ทางเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปฉีดกำจัดยุงได้ในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นเวลาออก
หากิน เนื่องจากประชาชนไม่เข้าใจ และไม่สะดวกที่จะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปกำจัด ทั้งนี้ ตน
จึงอยากให้ประชาชนทำความเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ เพื่อจะได้ช่วยกันตัดวงจรชีวิตยุงรำคาญ
นาข้าวเสีย เพื่อจะได้ไม่ส่งผลกระทบยาวนานข้ามปี
ทางด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า
ที่ผ่านมากรมควบคุมโรคได้รับการสนับสนุนมุ้งชุบสารเคมีฆ่ายุงจากองค์การอนามัยโลก
จำนวน 75,700 หลัง และจากองค์การยูนิเซฟ จำนวน 20,000 หลัง รวมทั้งหมด 95,700
หลัง เพื่อนำไปแจกยังศูนย์พังพิงต่าง ๆ แต่ถ้าหากที่ได้ยังไม่ได้รับ ให้เจ้าหน้าที่นำรายชื่อ
มาขอรับมุ้งดังกล่าวได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข
โทรศัพท์ 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0 2590 3333