นาซาปล่อยจรวดบรรทุกหุ่นยนต์ “มาร์ส ไซนซ์ แล็บราทอรี” (เอ็มเอสแอล) เพื่อ
การสำรวจสภาพแวดล้อมและรวบรวมข้อมูลสิ่งมีชีวิต ที่ยังหลงเหลือร่องรอยอยู่บน
ดาวอังคาร คาดว่าใช้เวลาเดินทาง 9 เดือน ก่อนจะลงจอดที่พื้นผิวดาวอังคาร…
เมื่อวันที่ 26 พ.ย. องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ปล่อยจรวด
บรรทุกหุ่นยนต์เพื่อการสำรวจและทดลองทางอวกาศขนาดใหญ่ที่สุดเท่า ที่เคยสร้างมา
ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “มาร์ส ไซนซ์ แล็บราทอรี” (เอ็มเอสแอล) หรือชื่อเล่นว่า
“คิวริออสซิตี้” ออกจากฐานปฏิบัติการภาคพื้นดินบริเวณแหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา
ขึ้นสู่วงโคจรแล้วเพื่อเตรียมมุ่งหน้าไปดาวอังคาร โดยภารกิจหลักของหุ่นยนต์คิวริออสซิตี้
ได้แก่ การสำรวจสภาพแวดล้อมและรวบรวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตที่ยังหลงเหลือร่องรอยอยู่บน
ดาวอังคาร หรือ “ดวงดาวสีแดง” (เรด พลาเน็ต) ซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้โลกมาก
ที่สุด โดยองค์การนาซาคาดว่าหุ่นยนต์คิวริออสซิตี้ต้องใช้เวลาเดินทางในอวกาศ
ประมาณ 9 เดือน ก่อนจะลงจอดที่พื้นผิวดาวอังคารอย่างเป็นทางการราวเดือน ส.ค.2555
ทั้ง นี้ หุ่นยนต์คิวริออสซิตี้ออกแบบและสร้างโดยคณะนักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์
ของโครงการความร่วมมือทางอวกาศระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯและรัฐบาลฝรั่งเศส มีขนาด
เทียบเท่ารถยนต์ขนาด 4 ที่นั่ง น้ำหนักประมาณ 898 กิโลกรัม หรือเกือบ 1 ตัน และใช้
งบประมาณในการก่อสร้างกว่า 2,500 ล้านดอลลาร์ (ราว 75,000 ล้านบาท) ส่วนองค์
ประกอบอื่นๆของหุ่นยนต์คิวริออสซิตี้ ได้แก่ แขนจักรกลสำหรับเก็บก้อนหินและแร่ตัวอย่าง
บนพื้นดาวอังคาร พร้อมสว่านขุดเจาะหินและของแข็ง เครื่องยิงเลเซอร์วัดระดับรังสีในชั้น
บรรยากาศ ระบบปฏิบัติการจำแนกชนิดของแร่ธาตุซึ่งทำงานร่วมกับระบบตรวจจับวัตถุ
รอบทิศ ทาง กล้องวีดิโอที่สามารถบันทึกภาพสีได้เหมือนจริง เพื่อถ่ายทอดบรรยากาศ
ดาวอังคารกลับมายังสถานีบนโลก รวมถึงอุปกรณ์เสริมต่างๆอีกประมาณ 10 ชนิด.