ทำไมรวันดา? ในปี ค.ศ. 1994 เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ขึ้นในรวันดา ประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา ภายในช่วงเวลาเพียง 2 เดือน ชาวทุตซี่ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรวันดา (15 % ของประชากร) ถูกฆ่าตายไปทั้งสิ้น 800,000 คน (มากกว่า 80% ของประชากรทุตซี่) นับเป็นการสังหารหมู่ที่รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ นักสังเกตการณ์หลายคนเรียกมันว่า โฮโลคอสต์ ภาค 2 (Holocaust คือ ชื่อเรียกการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวยิวโดยระบอบนาซีในช่วงสงครามโกลครั้งที่สอง)
"รวันดา "ประเทศเล็ก ๆ ในทวีปแอฟริกา มีประชากรประมาณ 8 ล้านคนเศษ เคยเป็นอาณานิคมของ เบลเยียมมาก่อน ภาษาที่ใช้คือ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ และภาษากินยาร์วันดา ประชาชนของรวันดา ประกอบด้วยคนสองเผ่าคือ เผ่าตุ๊ดชี่ (Tutsi) ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยของประเทศ มีประมาณร้อยละ 15 แต่กลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี มีการศึกษาดีและส่วนใหญ่เป็นพวกนักรบ อีกเผ่าหนึ่งซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศคือ เผ่าฮูตู (Hutu) ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีอาชีพทางด้านกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่
เผ่าฮูตู และตุดซี่ ต่างผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นบริหารประเทศ แล้วแต่ว่าใครจะชนะการเลือกตั้ง
รวันดา เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ประชาชนยากจน อัตราการศึกษาของคนในชาติต่ำ การแบ่งปันทรัพยากรไม่เป็นธรรม สังคมขาดความยุติธรรม ความขัดแย้งจึงมีขึ้นเป็นระยะ พอมีความขัดแย้งกันก็มักใช้ความรุนแรงตอบโต้กันไปมา การ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในครั้งนั้น เกิดขึ้นในช่วง 6 เมษายน -กลางกรกฎาคม 2537 (100 วัน) เมื่อเผ่าฮูตู ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศขึ้นเป็นรัฐบาล มีการปล่อยให้ ทหารบ้านชาวฮูตูสะสมอาวุธ และปล่อยให้วิทยุ โทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อสำคัญของรัฐที่เป็นชาวฮูตู โหมกระพือความขัดแย้ง
มีการรังแกชาวตุดซี่จากความได้เปรียบที่ฝ่ายตนเป็นรัฐบาล ชาวตุดซี่นำโดย นาย พอล คามากา ได้ตั้งกลุ่มชาวตุดซี่ขึ้นมาต่อต้านรัฐบาล "เรียกว่ากฎบตุดซี่
มี การใช้สื่อเพื่อปลุกระดม รวบรวมชาวตุดซี่ให้ลุกขึ้นต่อต้าน รัฐบาลชาวฮูตูเห็นว่าชักจะคุมชาวตุดซี่ไม่ได้จึง มีการใช้มาตรการรุนแรง ให้ทหารรัฐ และ ทหารบ้านชาวฮูตู คัดแยกชาวฮูตู ออกจากชาวตุดซี่
มีการประกาศปลุกระดมว่าชาวตุดซี่เป็นกบฎถ้าไม่เห็นด้วยกับฮูตูก็ให้ถือเป็นพวกตุดซี่ทั้งหมดและเริ่มเกิดการฆ่าชาวตุดซี่ โดยทหารบ้านชาวฮูตู ทหารบ้านก็พวกอาสาสมัครอะไรประมณเนี้ย ชาวตุดซี่่จึงเริ่มมีกองกำลัง มีการใช้กำลังลุกฮือขึ้นต่อสู้ จนถึงขั้นฆ่านายกรัฐมนตรีชาวฮูตูตาย
มีการฆ่ากันตายของคนทั้งสองฝ่ายทั่วรวันดา จากที่เคยรักใคร่เป็นเจ้านายลูกน้องกัน เป็นเพื่อนรักกัน จากที่เป็นเพื่อนบ้านกัน ที่เป็นญาติพี่น้องกัน ฆ่ากันตายมั่วไปหมด เกิดเหตุ จลาจล ปล้นสดมภ์ ข่มขืน ในช่วงเวลา 100 วันตั้งแต่วันที่ 6 เมษายนไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคมในปี พ.ศ. 2537 ชนพื้นเมืองชาวตุดซี (Tutsi) และชนพื้นเมืองชาวฮูตู (Hutu) ถูกสังหารไปปประมาณ 800,000-1,071,000 คน สังคมของรวันดาล่มสลายหมด
เหตุผล ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่โหดเ้หี้ยมมอย่างนั้นขึ้นได้ ไม่มีสิ่งใด นอกจาก "ความเกลียดชัง" ที่ปลุกฝังกันมาก่อนหน้านั้น ให้เกลียดทุกเรื่องที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย
มีบทสรุปที่น่าสนใจของเหตุการณ์ครั้งนั้นที่ได้ถ่ายทอด ออกมาเป็นหนังสือชื่อว่าสื่อมวลชนกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา (The Media and the Rwanda Genocide, Pluto Press, 2007) ในหนังสือมีเนื้อหาหลักๆ ที่เป็นข้อถกเถียงที่น่าสนใจคือ คำถามใหญ่ที่ว่า “สื่อมีบทบาทในการก่อให้เกิดความรุนแรงจริงหรือไม่ ?”
1. สื่อแพร่กระจายความเกลียดชังอย่างตั้งใจ ยุยงผ่านคำพูด เพลงปลุกระดม คำขวัญ บทกลอน
2. สื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานในการลงมือก่อความรุนแรงระหว่างนักการเมือง หัวรุนแรงกับเครือข่ายของพวกเขา มีหลักฐานมากมายว่าสถานีวิทยุ RTLM….. เช่นสหประชาติ ท่านนายพล Dallaire ประกาศ ที่ประเทศรวันดาว่า สนธิสัญญายุติสงคราม พี่น้องเผ่าฮูตูกับเผ่าตุ๊ด สิ้นสุดลงแล้ว ท่ามกลางความดีใจของประชาชนในประเทศ รวันดา แต่รายการวิทยุ Hutu Power Radio กลับปลุกระดม และกระจายเสียงให้ชนเผ่า ชาวฮูตู เกลียดและให้ฆ่าพี่น้องชนเผ่าตุ๊ดชี่
3.สื่อ ทำหน้าที่ชี้นำสาธารณะให้เห็นว่าความรุนแรงเป็นทางออกและไม่เห็นด้วยกับ การแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี วิทยุบางสถานีและหนังสือพิมพ์บางฉบับใน รวันดา จงใจชี้นำสาธารณะชน ว่าความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นการต่อสู้ระหว่าง “พวกเราคนส่วนใหญ่” กับ “พวกเขาคนส่วนน้อย” "เป็นการต่อสู้ระหว่างความดีกับความชั่ว" "สิ่งที่พวกตนกำลังดำเนินการอยู่เป็นเรื่องที่ทำได้ ชอบธรรม คุ้มกับสิ่งที่ต้องเสียไป "และนั่นคือส่วนหนึ่งของบทสรุปของเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ว่า ทำไมถึงได้มียอดผู้เสียชีวิตมาก ถึง 800,000 คน
จนกระทั่งคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม แตกแยกกันอย่างสิ้นเชิง เจ้านายเป็น ตุดซี่ ลูกน้องเป็น ฮูตู หรือ บ้างก็มี เจ้านายเป็นฮูตู และลูกน้องเป็นตุดซี่ หรือเป็นเพื่อนบ้านกัน เป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนเดียวกัน เป็นเพื่อนร่วมงานกัน แม้กระทั่งเป็นสามีภรรยากัน มีลูกกัน กลายเป็นญาติกัน เป็นคนรักกันแต่ตอนหลังต้องมาขัดแย้งกัน
เรื่อง เล่าที่เป็นโศกนาฎกรรมคือ บางครอบครัวหัวหน้าครอบครัวต้องลงมือสังหารบุตร และภรรยาของตนเอง เพียงเพื่อให้ลูกๆ และภรรยาไม่ต้องตายอย่างทรมาณ เพราะหากปล่อยให้พวก ทหารบ้าน (อาสาสมัคร) ฮูตูฆ่าเอง พวกนั้นจะตัดมือตัดแขน และปล่อยให้ตายเองอย่างทรมาน หลายครอบครัวจึงขอลงมือสังหารเอง เนื่องจากไม่มีทางรอดแล้ว
มนุษย์ มีบทเรียนทางประวัติศาสตร์ให้ทบทวนมากมาย แต่เหตุร้ายมักกลับมา หมุนเวียนไปที่นั่นที่นี่ เสมอๆจากยุโรป สู่ตะวันออกกลาง สู่กัมพูชา ไปจนถึงรวันดา