พบดาวเคราะห์ใหม่ เหมือนโลกมากที่สุด เชื่อมีมนุษย์ต่างดาวอยู่



นา ซาพบดาวเคราะห์ "กลิส 581 จี" สภาพแวดล้อมเหมือนโลก "มากที่สุด" ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ดวงจันทร์ "ไตตัน" ของดาวเสาร์ มีสภาพเหมาะสม อาจมีมนุษย์ต่างดาวอาศัยอยู่...

                    สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อ 26 พ.ย. ว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์จากองค์การการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ค้นพบดาวเคราะห์ดวงล่าสุด ชื่อว่า "กลิส 581 จี" มีสภาพแวดล้อมเหมือนโลก "มากที่สุด" เท่าที่เคยค้นพบมาก่อนหน้านี้

                    ทั้งนี้ กลิส 581 จี อยู่ห่างออกไปราว 123 แส้นล้านไมล์ พบในกลุ่มดาวตราชั่ง ขนาดใหญ่กว่าโลก 3-4 เท่า ใช้เวลาโคจรเป็นเวลา 37 วัน นอกจากนี้ยังอาจมีของเหลว หรือแหล่งน้ำอยู่บนพื้นผิวด้วย การค้นพบครั้งล่าสุดนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตการณ์ดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวมาร่วม 11 ปีแล้ว และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารแอสโตรฟิสิคอลด้วย

                    ขณะที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่า "ไตตัน" ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ มีสภาพเหมาะสม อาจเอื้อให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ และอาจมีมนุษย์ต่างดาวอาศัยอยู่

http://www.thairath.co.th/content/oversea/219281

จัดอันดับดาวเคราะห์น่าอยู่ (ได้)


ดวงจันทร์ไททันมีสภาพหลายๆ อย่างความคล้ายคลึงกับโลกในยุคแรกๆ (ภาพประกอบทั้งหมดจากบีบีซีนิวส์)

นัก วิทยาศาสตร์จัดอันดับว่าดวงจันทร์หรือดาวเคราะห์ดวงไหนที่น่าจะมีสิ่งมี ชีวิตต่างดาวอาศัยอยู่ได้ ซึ่งในจำนวนนั้นมีดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์และดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ “กลีส 581จี” ที่อยู่ห่างออกไป 20.5 ปีแสงในทิศทางกลุ่มดาวคันชั่ง
      
                    ทีมศึกษานานาชาติได้ร่วมกันสร้างระบบเพื่อประเมินโอกาสที่ดาวเคราะห์ดวง อื่นจะเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างดาวได้ โดยบีบีซีนิวส์รายงานว่าพวกเขาได้จัดทำระบบขึ้นมา 2 ระบบ และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวงในวารสารแอสโตรไบโอโลจี (Astrobiology) โดยมี 2 ดัชนีชี้วัดที่แตกต่างกัน คือ ดัชนีความคล้ายคลึงโลก (Earth Similarity Index) หรือ อีเอสไอ (ESI) และ ดัชนีดาวเคราะห์ที่อาศัยอยู่ได้ (Planetary Habitability Index) หรือ พีเอชไอ (PHI)
      
                    “คำถามแรกคือเราจะพบสภาพคล้ายคลึงกับโลกบนดาวอื่นหรือไม่ เพราะเรารู้อย่างประจักษ์แจ้งว่าสภาพเหล่านี้เอื้อต่อการดำรงชีวิตได้ คำถามที่สองคือ สภาพที่มีอยู่บนดาวเคราะห์อื่นนั้นบ่งชี้ถึงโอกาสที่จะมีรูปแบบอื่นของสิ่ง มีชีวิตหรือไม่ ไม่ว่าเราจะรู้จักหรือไม่ก็ตาม” ดร.เดิร์ก สคูลซ์-มาคุช (Dr.Dirk Schulze-Makuch) ผู้ร่วมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันสเตท (Washington State University) สหรัฐฯ ผู้ร่วมศึกษากาารจัดอันดับดาวเคราะห์ที่อาศัยอยู่ได้นี้กล่าว
      
                    สำหรับดัชนีอีเอสไอนั้นจะจัดอันดับดาวเคราะห์และดวงจันทร์ว่าเหมือนโลก อย่างไรบ้าง โดยคำนึงถึงปัจจัยอย่างเช่น ขนาด ความหนาแน่นและระยะห่างจากดาวฤกษ์ดวงแม่ ส่วนดัชนีพีเอชไอจะพิจารณากลุ่มปัจจัยที่แตกต่างออกไป เช่น ดาวเคราะห์ดวงนั้นมีพื้นผิวเป็นหินแข็งหรือน้ำแข็ง มีบรรยากาศหรือสนามแม่เหล็กหรือไม่ รวมถึงปัจจัยทางเคมี อาทิองค์ประกอบเคมีใดที่ปรากฏ และสารละลายของเหลวใดที่อาจจะเอื้อต่อปฏิกิริยาเคมีของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น
      
                    ค่าสูงสุดสำหรับดัชนีความเหมือนโลกนั้นมีค่าเท่ากับ 1.00 สำหรับโลกของเรา โดยคะแนนสูงสุดเป็นของดาวเคราะห์กลีส 581จี (Gliese 581g) ซึ่งอยู่นอกระบบสุริยะ (แต่นักดาราศาสตร์ยังกังขาต่อการมีอยู่ของดาวเคราะห์ดวงนี้) ที่ได้คะแนน 0.89 และดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอีกดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงเดียวกันคือดาว เคราะห์ กลีส 581ดี (Gliese 581d) ซึ่งได้ค่าอีเอสไอ 0.74 ทั้งนี้ นักดาราศาสตร์ได้ศึกษาระบบดาวฤกษ์ กลีส 581 (Gliese 581) มาเป็นอย่างดี และประเมินว่าดาวเคราะห์แคระแดง (red dwarf star) นี้มีดาวเคระาห์บริวาร 4-5 ดวง
      
                    ดาวเคราะห์เอชดี 69830ดี (HD 69830 d) ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีขนาดพอๆ ดาวเนปจูนซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ที่เห็นอยู่ในกลุ่มดาวท้ายเรือ (Puppis) ก็เป็นดาวเคราะห์อีกดวงที่มีได้คะแนนสูง คือ 0.60 โดยเชื่อว่าดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ใน “โซนโกลดิลอคส์” (Goldilocks Zone) หรือบริเวณที่สิ่งมีชีวิตน่าจะอาศัยได้ โดยบริเวณรอบๆ ดาวฤกษ์แม่นั้นมีอุณหภูมิที่ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไปสำหรับสิ่งมีชีวิต ส่วนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่ได้คะแนนสูงได้แก่ดาวอังคารที่ได้คะแนน 0.70 และดาวพุธ 0.60
      
                    แต่ดัชนีดาวเคราะห์ที่อาศัยอยู่ได้ให้ผลที่แตกต่างออกไป โดยอันดับสูดเป็นของดวงจันทร์ไททัน (Titan) ของดาวเสาร์ ซึ่งได้คะแนนของดัชนีนี้ 0.64 ตามมาด้วยดาวอังคารที่ได้คะแนน 0.59 และดวงจันทร์ยูโรปา (Europa) ของดาวพฤหัสบดี ที่ได้คะแนน 0.47 ซึ่งคาดว่ามีมหาสมุทรใต้ดินที่ได้ความร้อนจากการบิดงอไทดัล (tidal flexing) ส่วนคะแนนสุงสุดสำหรับดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะยังเป็นของดาวเคราะห์ในระบบ กลีส 581 อีกครั้ง โดยดาวเคราะห์กลีส 581จี ซึ่งได้ 0.49 คะแนน และดาวเคราะห์กลีส 581ดี ซึ่งได้คะแนน 0.43
      
                    ไม่กี่ปีมานี้การค้นหาดาวเคราะห์ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตนอกระบบสุริยะได้ ใส่เกียร์เร่งขึ้นมา เฉพาะกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ (Kepler) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ซึ่งถูกส่งขึ้นไปเมื่อปี 2009 ก็พบดาวที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์แล้วมากกว่า 1,000 ดวงมาจนถึงตอนนี้ และกล้องโทรทรรศน์ในอนาคตอาจมีความสามารถมากที่จะตรวจพบ “ตัวบ่งชี้ชีวภาพ” (biomarkers) จากแสงที่เปล่งออกมาจากดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลโพ้น อย่างเช่น ร่องรอยการมีคลอโรฟิลด์ซึ่งเป็นสารสีที่สำคัญในพืช เป็นต้น




ดัชนีความคล้ายคลึงโลก
       โลก - 1.00
       กลีส 581จี - 0.89
       กลีส 581ดี - 0.74
       กลีส 581ซี - 0.70
       ดาวอังคาร - 0.70
       ดาวพุธ - 0.60
       ดาวเคราะห์เอชดี 69830ดี - 0.60
       ดาวเคราะห์ 55 ซีเอ็นซี ซี - 0.56
       ดวงจันทร์ - 0.56
       กลีส 581อี - 0.53




ดัชนีดาวเคราะห์ที่อาศัยอยู่ได้
      
       ดวงจันทร์ไททัน - 0.64
       ดาวอังคาร - 0.59
       ดวงจันทร์ยูโรปา - 0.49
       กลีส 581จี - 0.45
       กลีส 581ดี - 0.43
       กลีส 581ซี - 0.41
       ดาวพฤหัสบดี - 0.37
       ดาวเสาร์ - 0.37
       ดาวศุกร์ - 0.7
       ดวงจันทร์เอนเซลาดัส (Enceladus-ดวงจันทร์ของดาวเสาร์) - 0.35

Credit: http://www.thailandsusu.com/
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...