ไปรษณียบัตร 2 ฉบับ เกือบ 2 ล้าน

 

ไปรษณียบัตร 2 ฉบับ เกือบ 2 ล้าน

วันอาทิตย์ ที่ 20 พฤศจิกายน 2554 เวลา 0:00 น

 
เนื้อหาข่าว

 

มหาอุทกภัยคราวนี้ปี พ.ศ. 2554 ของไทยยังมีปัญหาการศึกษามาเกี่ยวข้องด้วย

โรงเรียนทั้งหลายก็ต้องคอยฟังประกาศทางกระทรวงศึกษาธิการ ทางทีวีและวิทยุรวมทั้งตามเครือข่ายอินเทอร์เน็ตว่าจะเปิดเทอมเมื่อไร
    
เรื่องการเลื่อนเปิดการเรียนเคยเกิดขึ้นในสมัยสงคราม โลกครั้งที่ 2
    
กระทรวงศึกษาธิการของไทยในยุคนั้นได้ถือเอาเรื่องน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2485 และตอนที่ญี่ปุ่นบุกเข้าประเทศไทยมาเป็นประเด็นสำคัญ
    
ในตอนนั้นมีการปะทะที่จังหวัดชุมพรและที่ประจวบคีรี ขันธ์
    
ยุวชนไทยในยุคนั้นที่จังหวัดชุมพรได้แสดงความกล้าหาญยอมตายปกป้องอธิปไตยของไทยโดยปะทะกับญี่ปุ่นที่ยกพลขึ้นบกที่นั่น
    
ยุวชนไทยตายไปหลายคน ยุวชนไทยในยุคนั้นซึ่งมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
    
รักชาติยิ่งชีพ ยึดคำขวัญ “เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย”
    
จึงสู้กับญี่ปุ่นทั้งที่กำลังพลอาวุธแพ้ญี่ปุ่นทั้งสิ้น แต่ก็ยอมเสียชีวิตเพราะถูกปลูกฝัง ให้รักชาติยิ่งกว่าชีวิต
    
ยุวชนในยุคนั้นมี พลโทประยูร ภมรมนตรี เป็นเจ้ากรมยุวชนทหารมีฉายาว่า “นายพลเกอริงของไทย”
    
การศึกษามาเกี่ยวข้องกับไทยในยุคนั้นมี 2 กรณี
    
ได้แก่การที่ญี่ปุ่นบุกไทย และกรณีน้ำท่วมกรุงเทพฯและภาคกลางในปี พ.ศ. 2485
    
ใน 2 กรณีนั้นส่งผลถึงการศึกษาไทย ได้มีการประกาศเกี่ยวกับการเรียนของไทยในทั้ง 2 กรณี
    
มีการเลื่อนชั้นเรียนโดยไม่ต้องสอบ โดยถือเอาเวลามาเรียนเกิน 50% ก็ให้เลื่อนชั้นเรียนได้เลย
    
ส่วนข้อยกเว้นอีกกรณีคือ ผลการสอบในยุคนั้นไม่มีโอเน็ต เอเน็ต หรือการสอบแบบปรนัย อัตนัย
    
แต่ใช้วิธีรวมคะแนนสอบทุกวิชา ถ้าเกิน 50% ก็ถือว่าสอบผ่าน เลื่อนชั้นเรียนได้
    
ในคราวนั้นให้ลดเหลือ 45% ก็ผ่านได้
    
การเรียนในยุคก่อน เมื่อประมาณ 70 ปี ก่อนโน้น เข้มแข็งมาก เอาจริงเอาจัง แค่จบชั้น      ป.4 ก็เก่งแล้ว อ่านเขียนไทยได้ดี เลขคำนวณพอรู้เรื่อง
    
การสอบประถมปีที่ 4 ต้องสอบรวมทั้งอำเภอ ออกข้อสอบรวม การสอบเข้มแข็งมาก มีครูควบคุมดูแลใกล้ชิด
    
จบแค่ ป.4 ความรู้ดีเป็นครูได้แล้ว ชั้น ม.3 ก็สอบรวม     เช่นกัน จบ ม.3 ไปเรียนต่อครู     ว. เรียกว่าเป็นครู ว. มาจากในโรงเรียนประชาบาลได้ ถ้าจบ     ครู ป. ครู ป.ป. หรือ ครู ป.ม. ถือว่าเก่งมากเป็นครูใหญ่ได้ทั่วประเทศ
    
วันนี้ได้นำไปรษณียบัตรราคาแพงลิ่วมาให้ชม ฉบับแรกเป็นซองจดหมายส่งจากกรุงเทพฯสมัยรัชกาลที่ 5 ไปเมือง Ronen ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2420 และประทับตราไปรษณีย์สิงคโปร์พร้อมกับประทับตราไปรษณีย์ของฝรั่งเศส ซองจดหมายนี้ตั้งราคาไว้ 800,000  บาท แต่มีผู้ประมูลให้ราคาถึง 1,200,000 บาท
    
ส่วนอีกฉบับเป็นไปรษณีย    บัตรสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้คำว่า    “ไปรสนีย์บัตร์” เมื่อปี พ.ศ. 2451เป็นไปรษณียบัตรรัชกาลที่ 5 ชุดสอง ราคา 4 อัฐ ส่งจากเมืองโกตาบารู รัฐกลันตันไปสิงคโปร์
    
ไปรษณียบัตรฉบับนี้เป็นหลักฐานทางประวัติ    ศาสตร์ในปีนั้น รัฐกลันตันยังเป็นของประเทศไทยอยู่ ไปรษณียบัตรฉบับนี้ตั้งราคาไว้ 240,000 บาท แต่มีผู้ประมูลไปในราคา 490,000 บาท เกือบครึ่งล้าน
    
สองฉบับมีราคาสูงเกือบสองล้านบาทนับว่าสูงมาก
    
พบกันวันอาทิตย์หน้า.

Credit: เดลินิวส์ออนไลน์
20 พ.ย. 54 เวลา 05:25 1,823 1 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...