มันอาจจจะฟังดูเหมือนเรื่องเหลวไหลของนิยายแนววิทยาศาสตร์ ที่จะมีสารใดที่สามารถนำไปแช่ในน้ำแล้วนำขึ้นมาโดยแห้งสนิท แต่ในที่สุดสิ่งที่แลดูจะเป็นไปไม่ได้ก็เป็นจริงแล้ว
ผลิตภัณฑ์นี้มีชื่อว่า ไม่มีวันเปียก(NeverWet) เป็นสเปร์จำพวก Superhydrophobic ที่มีความสามารถยิ่งกว่าคำว่ากันน้ำเข้า เนื่องจาก สเปร์ไม่มีวันเปียก นี้สามารถทำงานในลักษณะขับไล่น้ำออกจากพื้นผิวของพวกมัน สารที่มีความสามารถ hydrophobic นี้วัดจากค่ามุมสัมผัสระหว่างหยดน้ำถึงแนวตั้งฉากกับจุดศูนย์กลางหยดน้ำโดยสารที่จะถูกเรียกว่า Superhydrophobic จะต้องมีมุมสัมผัสมากกว่า 150 องศา โดยสเปร์ไม่มีวันเปียกนี้มีค่ามุม hydrophobic สูงถึง 165 องศา โดยเทคโนโลยีสาร Superhydrophobic นี้นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามที่จะเลียนแบบความสามารถของใบบัวย้อยกับไปได้นับ 10 ปี สเปร์ไม่มีวันเปียก นี้ออกแบบและพัฒนาโดย Ross Technology ที่มีโจทย์ที่สุดแสนท้าทายในการป้องกันสนิมที่จะเกิดขึ้นกับท่อใต้ทะเล ที่ทำงานเพื่อหาสสารที่ใช้เคลือบโลหะเพื่อป้องกันสนิมอย่างสมบูรณ์ จากการทดลอง ทางโรสส์เทคโนโลยี่พบว่าสเปร์ที่มีซิลิโคนส่วนผสมหลัก พวกมันไม่เพียงแต่มีคุณสมบัติกันน้ำแต่พวกมันยังมีคุณสมบัติในการหักเหความชื้นออกจากพื้นผิวทำให้พื้นผิวทำให้ไม่มีของเหลวใดหลงเหลือบนพื้นผิวที่ได้รับการปกป้อง จากวีดีโอสาธิต รองเท้าที่ได้พ่นสเปร์ไม่มีวันเปียกถูกราดด้วยซอสช็อคโกเลตจะเห็นว่าช็อคโกเลตไหลออกจากรองเท้าไม่หลงเหลือคราบใดๆ สาธิตกระโดดลงบ่อโคลนข้างที่พ่นสเปร์ไว้ก็ไม่มีโคลนติดแม้แต่น้อยแต่กับอีกข้างที่ไม่ได้พ่นสเปร์อย่างสิ้นเชิง หรือแม้แต่การพ่นสเปร์ไม่มีวันเปียกบนiPhoeสามารถแล้วไอโฟนไปแช่น้ำทั้งๆยังเปิดเครื่องเป็นเวลา 30 นาทีเครื่องก็ไม่มีปัญหาใดๆ เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางตั้งผ้ากันเปื้อน อุปกรณ์สกี เรือ ผ้าเช็ดปาก และอื่นๆ
รองเท้าด้านซ้ายมือเคลือบด้วยสเปร์ไม่มีวันเปียก อีกข้างไม่ได้เคลือบเมื่อกระโดดลงบ่อโคลนจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจน
ภาพมุมสัมผัสของหยดน้ำบนพื้นผิวที่เคลือบด้วยสเปร์ไม่มีวันเปียก มีค่ามุมอยู่ที่ 165 องศา
กราฟแท่งเปรียบเทียบค่ามุม hydrophobic ของวัสดุต่างจะเห็นว่าแท่งแรกเป็นขี้ผึ้งมีค่า 90 องศา ต่อมาแท่งสีเทาเป็นเทฟลอนที่ใช้เคลือบบนเครื่องครัวมีค่ามุมอยู่ที่ 95 องศา วัสดุRain-X มีค่ามุมอยู่ที่ 110 องศา ส่วนสเปร์ไม่มีวันเปียกมีค่าสูงถึง 160-175 องศา