ตัวชี้วัดความสุข ของ คนไทย
**ประชาชน 81.65% เห็นว่า “ถึงเวลาแล้ว” ที่ประเทศไทยจะต้องทบทวน เปลี่ยนแปลงแนวทางในการพัฒนาประเทศ**
จากวิกฤติเศรษฐกิจและวิกฤติทางการเมืองที่ก่อให้เกิดความแตกแยก ณ ขณะนี้ เป็นสิ่งท้าทายต่อรัฐบาลในการทำให้สังคมกลับสู่ความร่มเย็น ซึ่งนายกฯได้มอบหมายให้ สสส. เป็นตัวประสานเชื่อมโยงกับทุกฝ่ายในการจัดทำตัวชี้วัดทางสังคม เพราะในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ที่กำลังจะประกาศใช้ในอีก 2 ปีข้างหน้า ได้กำหนดชัดถึงการนำเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแกนหลัก โดยวัดทั้งประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมที่ครอบคลุมถึงมิติการศึกษา สุขภาพ และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ร่วมกับ รายการ “ก่อนตัดสินใจ” และ สสส. จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศที่มีต่อการจัดทำตัวชี้วัดทางสังคม จำนวน 1,379 คน ระหว่างวันที่ 14-17 ธันวาคม 2552 สรุปผลได้ดังนี้
1.ประชาชนคิดว่าสภาพของสังคมไทยปัจจุบันเป็นอย่างไร?
อันดับ 1
มีความขัดแย้งสูง
38.75%
อันดับ 2
เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม
25.29%
อันดับ 3
ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
13.21%
อันดับ 4
เป็นสังคมไร้ระเบียบ ไม่มีวินัย
9.51%
อันดับ 5
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม
7.66%
อันดับ 6
เป็นสังคมที่ยังขาดความพอเพียง
5.58%
2. ประเทศไทยถึงเวลาที่จะต้องทบทวนหรือเปลี่ยนแปลงแนวทางในการพัฒนาประเทศหรือยัง?
อันดับ 1
ถึงเวลาแล้ว
81.65%
เพราะ ในช่วงที่ผ่านมาประเทศชาติต้องประสบปัญหาต่างๆที่รุมเร้าเข้ามารอบด้านพร้อมๆกัน ฯลฯ
อันดับ 2
ยังไม่ถึงเวลา
9.63%
อันดับ 3
ไม่แน่ใจ
8.72%
เพราะ ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่า หากทุกคนร่วมมือกันประเทศชาติก็จะน่าอยู่ยิ่งขึ้น ฯลฯ
3. ระหว่าง 2 แนวทางต่อไปนี้ ประชาชนจะเลือกแนวทางใด? ในการชี้วัดการพัฒนาประเทศไทย
อันดับ 1
การพัฒนาที่มุ่งเน้นวัดความสุขของประชาชน (GNH)
61.19%
อันดับ 2
การพัฒนาที่วัดกันที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)
38.81%
4. ประชาชนคิดว่าเรื่องใด ? เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขมากที่สุด
อันดับ 1
ด้านการเมือง
26.10%
อันดับ 2
ด้านเศรษฐกิจ
24.43%
อันดับ 3
ด้านสภาพสังคม
20.45%
อันดับ 4
ด้านสิ่งแวดล้อม
18.95%
อันดับ 5
ด้านสภาพจิตใจ
4.24%
อันดับ 6
ด้านการทำงาน
3.06%
อันดับ 7
ด้านสุขภาพอนามัย
2.77%
5. ประชาชนคิดว่าอะไร? คือ การใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในสังคมไทย
อันดับ 1
การมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง
32.27%
อันดับ 2
การมีครอบครัวที่อบอุ่น
19.77%
อันดับ 3
การมีความรักสามัคคีไม่แตกแยก
18.18%
อันดับ 4
การมีชีวิตที่ปลอดภัย
15.23%
อันดับ 5
การมีสุขภาพ ร่างกายและจิตใจที่ดี
8.86%
อันดับ 6
การมีสิ่งแวดล้อมดีปลอดจากมลพิษ
5.69%