กองพันปิศาจ

กอง ทัพสหรัฐคัดเลือกจิตรกร นักออกแบบ นักสร้างสรรค์งานโฆษณาและศิลปินสาขาต่างๆกว่า 1,100 คน เพื่อบรรจุเป็นทหารประจำหน่วยรบพิเศษทำหน้าที่ข่มขวัญและเบี่ยงเบนความสนใจ ของทหารเยอรมัน ภายใต้ปฏิบัติการลับสุดยอดที่ ต่อมารู้จักกันในชื่อ “กองพันปิศาจ”

หนึ่งในสมรภูมิรบที่สำคัญที่สุดในสงครามโลก ครั้งที่ 2 คือการรบที่นอร์มังดี (Normandy) ประเทศฝรั่งเศส วันที่ 6 มิถุนายน 1944 กองทัพฝ่ายพันธมิตรยกพลขึ้นบกแต่ถูกเยอรมันตอบโต้อย่างดุเดือด การเคลื่อนย้ายกำลังพลเป็นไปอย่างยากลำบาก ทหารเยอรมันนับแสนๆคนกระจายกันอยู่ตามเมืองสำคัญๆ อีกทั้งยังมีหน่วยสอดแนมคอยส่งข่าวให้รู้ความเคลื่อนไหวของฝ่ายพันธมิตร
          การจะเข้ายึดเมืองสำคัญๆคืนจากฝ่ายเยอรมันย่อมต้องเกิดการปะทะและการสูญเสีย ทหารจำนวนมาก วิธีการเดียวที่จะหลีกเลี่ยงการสูญเสียคือการทำให้พวกเขายอมแพ้แต่โดยดี หรืออย่างน้อยก็ต้องเบี่ยงเบนความสนใจ ล่อทหารเยอรมันออกจากเมืองให้ได้ แต่การจะทำเช่นนั้นได้ต้องใช้กำลังพลและยุทธปัจจัยจำนวนมหาศาล

 เมื่อ ไม่มีทรัพยากรมากมายขนาดนั้น สิ่งที่สหรัฐทำคือการสร้างภาพลวงตาให้ทหารเยอรมันเชื่อว่ากองทัพฝ่าย พันธมิตรจำนวนมหาศาลกำลังบุกเข้าโจมตี หน้าที่นี้จึงตกเป็นของบรรดาศิลปินและนักสร้างสรรค์งานโฆษณาประชาสัมพันธ์

กองทัพไร้อาวุธ
          สหรัฐ ทำการ คัดเลือกศิลปินสาขาต่างๆจากมหาวิทยาลัยและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จิตรกร นักแสดง นักออกแบบ ช่างทำฉาก วิศวกรด้านภาพและเสียงได้ทั้งหมดราว 1,100 คน พวกเขาถูกบรรจุให้เป็นทหารหน่วยรบพิเศษ กองบัญชาการที่ 23 (23rd Headquarters Special Troops)

          ทหารหน่วยรบพิเศษถูกแบ่งหน้าที่ออกเป็น หน่วยย่อยตามความถนัดคือแผนกสร้างภาพลวงตา แผนกเสียง แผนกบทละครและแผนกสร้างบรรยากาศ ทหารเพียงหน่วยเดียวที่เป็นทหารจริงๆคือทหารช่างทำหน้าที่คุ้มกันหน่วยรบ พิเศษ แต่ละแผนกมีความสำคัญเท่าๆกันที่จะทำให้ทหารเยอรมันตกหลุมพรางและพ่ายแพ้ใน ที่สุด

แผนกสร้างภาพลวงตา (Visual Deception)

ทำ หน้าที่สร้างยาน พาหนะ รถจี๊บ รถถัง รถหุ้มเกราะ และเครื่องบิน โดยตอนแรกพวกเขาทดลองสร้างจากผ้าใบและไม้อัด แต่มันดูไม่ค่อยเหมือนของจริงสักเท่าไรนัก หากความแตก ทหารเยอรมันจับได้ละก็เป็นโดนถล่มเละเป็นโจ๊กทั้งกองพันแน่ๆ ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนไปใช้ยางซึ่งสามารถบิดงอได้ตามรูปทรงที่ต้องการ เมื่อทาสีเติมเครื่องหมายต่างๆลงไป มองไกลๆไม่มีทางรู้ได้เลยว่ามันเป็นของปลอม

แผนกเสียง (Sonic Deception) ทำหน้าที่สร้างซาวนด์เอฟเฟ็ค เสียงเครื่องยนต์ เสียงการเคลื่อนพล โดยเสียงทั้งหมดทำการบันทึกโดยวิศวกรของเบลล์แลบ (Bell Lab) บริษัทที่ชำนาญช่ำชองทางด้านการสื่อสารด้วยเสียง แต่สมัยนั้นยังไม่มีเทปบันทึกเสียง การบันทึกจึงใช้ระบบสายแม่เหล็ก (Wire Record) ซึ่งเป็นระบบการบันทึกเสียงที่ทันสมัยที่สุดในยุคสมัยนั้น เสียงต่างๆสามารถนำมาผสมผสานกันตามที่ต้องการ
แผนกบทละคร (Radio Deception) ทำหน้าที่เขียนบทพูดและ ติดต่อสื่อสาร ส่งข่าวกับทหารหน่วยอื่นๆเพื่อหลอกล่อให้ฝ่ายเยอรมันเข้าใจผิดในขณะที่ข้อ ความที่ต้องการสื่อสารกันจริงๆส่งด้วยรหัสมอร์ส (Morse Code)

แผนกสร้างบรรยากาศ (Atmosphere) ทำหน้าที่สร้างรายละเอียด เล็กๆน้อยๆเพื่อความสมจริงสมจัง และสร้างตำแหน่งลวงเบี่ยงเบนความสนใจของทหารเยอรมันไปจากจุดที่ล่อแหลมต่อ การถูกโจมตี

พ่อมดเมืองมายา
   หลายคนคงเคยอ่านนิทานเรื่องศรีธนญชัยตอน สร้างเจดีย์ ซึ่งมีใจความคร่าวๆว่ากาลครั้งหนึ่งชาวพม่าได้มาท้าแข่งขันสร้างเจดีย์กับคน ไทย ภายในเวลา 30 วันใครสามารถสร้างเจดีย์ได้สูงกว่าเป็นผู้ชนะ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าชาวพม่านั้นชำนาญการก่อสร้างเจดีย์เป็นพิเศษ ยากที่จะเอาชนะได้
          ศรีธนญชัยขันอาสามากู้หน้าคนไทย เมื่อถึงวันกำหนดการแข่งขัน ศรีธนญชัยก็เลือกพื้นที่สร้างเจดีย์ห่างจากจุดที่พม่าเลือก แต่นอกจากนั้นแล้วก็ไม่ทำอะไรเลยในขณะที่ชาวพม่าเริ่มลงมือสร้างตั้งแต่วัน แรก
          เมื่อถึงสัปดาห์สุดท้ายของการแข่งขัน ศรีธนญชัยก็สั่งให้ช่างนำผ้ามากั้นบังตาสถานที่ก่อสร้าง จากนั้นก็ให้ช่างใช้ไม้ไผ่สร้างโครงร่างเจดีย์ให้สูงกว่าเจดีย์ที่พม่าสร้าง จนถึงวันสุดท้ายก็นำผ้าขาวมาคลุมโครงไม้ไผ่แล้วนำผ้าม่านบังตาออก เมื่อมองไกลๆจะเหมือนกับเจดีย์สีขาวสูงตระหง่าน ชาวพม่าตื่นตกใจที่คนไทยสามารถสร้างเจดีย์ที่สูงกว่าด้วยเวลาเพียงแค่ 7 วันเท่านั้น

หน่วยรบพิเศษ กองบัญชาการที่ 23 ก็ใช้วิธีการเดียวกันนี้ในการตบตาทหารเยอรมัน ทั้งๆที่หน่วยรบพิเศษหน่วยนี้มีแต่ศิลปิน นักแสดง นักออกแบบและคนโฆษณา พวกเขาไม่ได้รับการฝึกฝนทางด้านทหารเลยแม้แต่น้อย หน้าที่ของเขาคือการสร้างภาพลวงตา ไม่ได้มีกองกำลังทหารหรืออาวุธสงครามเลยแม้แต่น้อย ดังนั้น พวกเขาจึงถูกขนานนามว่าเป็น “กองพันปิศาจ” (Ghost Army)

ทัพหลวงเคลื่อนกำลังพล
          การ หลอกล่อเป็นไปแบบเป็นขั้นเป็นตอนมีแบบแผน เมื่อมีการส่งกำลังพลมายังฝรั่งเศส แผนกสร้างบรรยากาศจะล่อทหารเยอรมันไปยังจุดอื่นด้วยการสร้างความอึกทึกในทิศ ทางตรงกันข้ามเหมือนมีการยกพลขึ้นบกจำนวนมาก เมื่อถึงรุ่งเช้าก็จะนำรถบรรทุกคลุมผ้าใบมีรถถังรถหุ้มเกราะคุ้มกันจำนวน 10 คันเคลื่อนพลเป็นขบวนไปตามถนน
          ภายใต้ผ้าใบบนรถบรรทุกนั้นว่างเปล่า รถบรรทุกแต่ละคันมีเพียงนักแสดงแค่ 2 คนนั่งติดกับท้ายรถเท่านั้น เพียงแต่ไม่มีใครรู้นอกจากทหารกองพันปิศาจเท่านั้นที่รู้ เมื่อขบวนเคลื่อนที่ไปจนถึงที่ลับตาคน พวกเขาก็จะขับรถอ้อมกลับมาที่จุดเริ่มต้น ทำการเปลี่ยนเครื่องหมายบนรถให้ดูเหมือนเป็นพาหนะจากหน่วยรบอื่น แล้วนำขบวนขับออกถนนไปอีกครั้ง ทำอย่างนี้สัก 2-3 ครั้ง หน่วยสอดแนมของเยอรมันก็คิดว่ามีการเคลื่อนกำลังพลจำนวนมาก

ตำแหน่งที่ใช้เป็นกองบัญชาการมีรถถัง รถหุ้มเกราะจำนวนมากจอดอยู่ หากแต่มันล้วนแล้วแต่เป็นรถถังปลอมทำจากยางเป่าลมทั้งนั้น พวกเขาสร้างแม้กระทั่งสนามบินและเครื่องบินยางหลอกตาทหารเยอรมัน บนดินรอบๆกองบัญชาการมีรอยตีนตะขาบรถถังจำนวนมาก ซึ่งสร้างโดยนำรถถังจริงๆที่มีอยู่เพียงไม่กี่คันขับวนไปวนมาและรอบๆที่พัก มีเสื้อผ้าชุดทหารจำนวนมากแขวนตากอยู่บนราว
          สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ ฉันใดก็ฉันนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าฝ่ายเยอรมันตกหลุมพราง กองพันปิศาจจัดนักแสดงแต่งกายเป็นนายทหารยศสูงเดินทางเข้าไปในเมือง เป็นที่ทราบกันดีว่านายทหารยศสูงมักจะอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญๆเท่านั้น นักแสดงเหล่านี้จะกลับมาที่ค่ายเช่นเดียวกับการสร้างภาพลวงตาขบวนรถ พวกเขาเปลี่ยนเครื่องหมายหน่วยบนแขนเสื้อและกลับเข้าไปในเมืองทำให้ดูเหมือน มีทหารมาจากหลายหน่วยประจำการอยู่ในละแวกนั้น
 เมื่อถึงเวลาค่ำหน่วย สร้างบรรยากาศนำรถ ถังยางไปวางบนถนนที่มุ่งหน้าไปในทิศตรงกันข้ามกับการ เคลื่อนพลจริง เปิดเครื่องบันทึกเสียงให้เหมือนกับเครื่องยนต์กำลังเดินเครื่อง มีการเคลื่อนพลจำนวนมากออกจากพื้นที่

ปฏิบัติการเสี่ยงตาย
           กองพันปิศาจออกปฏิบัติการทั้งหมด 21 ครั้ง สามารถหลอกล่อทหารเยอรมันไปจากตำแหน่งที่ล่อแหลม ทำให้กองกำลังทหารฝ่ายพันธมิตรสามารถเคลื่อนพลเข้ายึดจุดยุทธศาสตร์ที่ สำคัญๆได้ แต่ปฏิบัติการของกองพันปิศาจนั้นเหมือนเป็นการเอาตัวเองล่อเป็นเป้า เหตุการณ์ที่เกือบจะเอาตัวเองไม่รอดครั้งหนึ่งคือปฏิบัติการเบ็ตเตมบอร์จ (Operation Bettembourg)

           วันที่ 21 กันยายน 1944 กองพันปิศาจได้รับคำสั่งให้ไปช่วยกองทหารที่พยายามจะข้ามแม่น้ำโมเซลเล ในเมืองเมตซ์ (Metz) แต่ถูกกองกำลังฝ่ายเยอรมันจำนวนมากยันเอาไว้ กองพันปิศาจมีหน้าที่สร้างภาพว่าเคลื่อนกำลังพล 20,000 นายพร้อมรถถังจำนวนมากมายังพื้นที่

          รถถังยางถูกนำมาตั้งให้เห็นบนท้อง ถนน ฝ่ายสร้างบรรยากาศเปิดเครื่องบันทึกเสียงสร้างภาพลวงตาว่ามีรถถังหลายชนิด จำนวนมากกำลังเคลื่อนพลมายังจุดปะทะ นักแสดงชุดหนึ่งติดเครื่องหมายทหารยานเกราะออกเดินทางไปตามแหล่งสถานบันเทิง คุยโวว่าเป็นทหารหน่วยยานเกราะ

          ปฏิบัติการสร้างภาพดำเนินติดต่อกัน 3 วัน แต่ดูเหมือนฝ่ายเยอรมันจะยังคงยึดที่มั่นยันทหารฝ่ายพันธมิตรไม่ให้ข้ามแม่ น้ำโมเซลเลไปได้ กองพันปิศาจเริ่มใจคอไม่ดี หากเยอรมันจับได้ว่าไม่มีทหารยานเกราะ 20,000 นายเคลื่อนพลมายังจุดปะทะ อย่าว่าแต่ทหารพันธมิตรที่กำลังรอความช่วยเหลือ พวกกองพันปิศาจเองก็คงเน่าด้วยเหมือนกัน

         แต่แล้วเมื่อถึงวันที่ 4 ทหารเยอรมันกลัวว่าหน่วยยานเกราะกำลังใกล้เข้ามาจริงๆ พวกเขาระเบิดสะพานข้ามแม่น้ำและทิ้งเมืองหนีเอาตัวรอด ท่ามกลางความโล่งใจของกองพันปิศาจที่สามารถปฏิบัติการสำริดผล

หน่วย รบพิเศษกองพันปิศาจทั้ง 1,100 คน ได้ให้สัตย์ปฏิญาณว่าจะไม่เปิดเผยความลับให้ผู้อื่นล่วงรู้แม้ว่าฝ่าย พันธมิตรจะได้รับชัยชนะในสงครามแล้วก็ตาม เรื่องราวทั้งหมดจึงถูกปกปิดนานถึง 50 ปี จนกระทั่งเอกสารลับหมดอายุตามกฎหมาย เรื่องราวของกองพันปิศาจจึงถูกเปิดเผยเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1996 และเมื่อไม่กี่เดือนมานี้กลุ่มผู้สร้างภาพยนตร์อิสระกลุ่มหนึ่งกำลังระดม เงินทุนเพื่อนำเรื่องราวของกองพันปิศาจมาสร้างเป็นภาพยนตร์ คาดว่าอีกไม่นานคงได้ชมกัน ///

Credit: http://www.postjung.com/
13 พ.ย. 54 เวลา 15:09 10,664 24 260
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...