"ถ้ายังไม่มีมาตรการใดๆ เลย ภายใน 50 ปีข้างหน้านี้ พื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนใหญ่จะอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล" อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว
เอเอฟพีรายงานว่า ไม่เพียงภาวะโลกร้อนที่เป็นภัยต่อกรุงเทพฯ เท่านั้น
จากรายงาน ของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียหรือเอดีบี และธนาคารเพื่อความร่วมมือญี่ปุ่น หรือเจบิก ระบุว่า การขุดเจาะน้ำบาดาลมานานหลายปีในยุคทศวรรษ 70 (พ.ศ.2513-2523) เพื่อรองรับความต้องการใช้ น้ำของโรงงานในเมืองหลวง ยังเป็นสาเหตุอีกเรื่องที่ถูกตำหนิว่า ทำให้กรุงเทพฯ ค่อยๆ ทรุดลง 10 เซนติเมตรต่อปี กระทั่งรัฐบาลมีมาตรการควบคุมการปั๊มน้ำบาดาล จึงทำให้อัตราการทรุดตัวลดลงเหลือน้อยกว่า 1 เซนติเมตรในแต่ละปี
อย่างไรก็ตาม เดวิด แม็กคอลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศของเอดีบี กล่าวว่า
ปัญหาก็คือ ไม่มีทางที่กรุงเทพฯจะหวนคืน เมืองไม่มีทางสูงขึ้นอีก จึงเป็นเหตุให้ธนาคารโลกประเมินไว้ว่า กรุงเทพฯ เสี่ยงจะจมมากขึ้นเร็วกว่าเดิม เพราะมีปัจจัยด้านอากาศที่ร้อนขึ้นและระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นมาอีก