ข้อเท็จจริง "รัชกาลที่ 5" เมื่อต้องเสด็จฯไกลบ้าน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระ ราชดำเนินยุโรป 2 ครั้ง ครั้งแรกในพ.ศ.2440 และครั้งที่ 2 ในพ.ศ. 2450

ในการเสด็จฯ ครั้งแรกนั้น เป็นการเสด็จฯ เป็นทางการเพื่อประโยชน์ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ส่วนการเสด็จฯ ครั้งที่ 2 เป็นการเสด็จฯ ส่วนพระองค์ เพื่อรักษาพระอาการประชวรจาก "โกฐาสภายใน" หรือพระอวัยวะภายในไม่ปกติ

แต่ระหว่างการเสด็จฯ นั้น มีพระราชกิจอื่นๆ มาแทรก เช่น การติดตามเรื่องสนธิสัญญาที่ทำกับฝรั่งเศส พ.ศ.2449 และการเยี่ยมบุคคลสำคัญของประเทศต่างๆ จนทำให้ตีความไปได้ว่า การเสด็จฯ ยุโรปครั้งที่ 2 อาจเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมหาอำนาจในยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศสและเยอรมนี

"เมื่อต้องเสด็จฯ ไกลบ้าน" ผลงาน พ.อ.ผศ.ดร.ศรศักร ชูสวัสดิ์ ประจำกองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เขาชะโงก จ.นครนายก

จุดประสงค์เพื่อค้นหาความจริง ความกระจ่าง และความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชประสงค์ที่แท้จริง

ในการเสด็จฯ ยุโรปครั้งที่ 2 ของรัชกาลที่ 5

จากการตรวจสอบข้อมูลหลักฐานชั้นต้นทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายตะวันตก ผู้เขียนพบข้อเท็จจริงยืนยันว่า พระราชประสงค์ที่แท้จริงในการเสด็จฯ ไปยุโรปครั้งนี้เพื่อรักษาพระองค์

ทั้งนี้ เนื่องจากแพทย์ชาวตะวันตกมีคำวินิจฉัยว่า ทรงเป็นพระโรคมาลาเรียเรื้อรัง ซึ่งมีผลต่อพระอวัยวะภายใน หากไม่ทรงรีบรักษา พระโรคอาจร้ายแรงขึ้นได้ แพทย์จึงกราบบังคมทูลว่า ควรเสด็จฯ ไปเขตที่มีอากาศแห้งเพื่อเปลี่ยนอากาศ

นั่นคือ ยุโรป

ส่วนงานราชการ โดยเฉพาะการติดตามการให้สัตยาบันสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส พ.ศ.2449 ของรัฐสภาฝรั่งเศสในระหว่างประทับในยุโรปนั้น เป็นพระราชกิจที่แทรกเข้ามาในภายหลังจากพระองค์ตัดสินพระราชหฤทัยที่จะเสด็จฯ ไปทรงรักษาพระองค์แล้ว

"ตลอดระยะเวลาประทับอยู่ในยุโรป รัชกาลที่ 5 ทรงให้ความสำคัญกับการรักษาพระองค์ การถวายการตรวจและรักษามีขึ้นเกือบจะทันทีเมื่อเสด็จฯ ถึงเมืองซันเรโมของอิตาลี หลังจากนั้น โปรดเกล้าฯ ให้มีการตรวจครั้งใหญ่อีก 3 ครั้งในเวลาและสถานที่ต่างกัน

ข้อเท็จจริงเหล่านี้ยืนยันว่า การรักษาพระองค์คือพระราชประสงค์ที่แท้จริงของรัชกาลที่ 5 ในการเสด็จฯ ไปยุโรปครั้งที่ 2"
 

6 พ.ย. 54 เวลา 00:23 16,681 10 230
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...