กรุงเทพฯ จมน้ำ อยู่ใต้ทะเลอ่าวไทย เมื่อหลายพันปีมาแล้ว

 

กรุงเทพมหานคร (กทม.) ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของอ่าวไทย 


แต่ในยุคดึกดำบรรพ์ ราว 12,000 ปีมาแล้ว พื้นที่ของกรุงเทพฯ จมอยู่ใต้ท้องทะเลอ่าว

 

ไทย เพราะอ่าวไทยในอดีตมีขอบเขตลึกเข้าไปในแผ่นดินที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา 


สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยมีลายพระหัตถ์เล่าว่า 

 

"ขุดได้ซากปลาวาฬที่บางเขน ไม่ห่างสะพานพระราม 6 เท่าใดนัก"

เหตุที่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นทะเล เมื่อประมาณ 12,000 ปีมาแล้ว เพราะน้ำ

 

ทะเลมีระดับสูงขึ้นมากจากน้ำแข็งละลาย ทำให้ท้องทะเลแถบอ่าวไทย มีขอบเขตกว้าง

 

ขวางสูงขึ้นไปถึงลพบุรีหรือเหนือขึ้นไปอีก

ยุคดึกดำบรรพ์ที่บริเวณกรุงเทพฯ ยังจมเป็นพื้นท้องทะเลอ่าวไทย เขตป่าเขาลำเนาไพร

 

โดยรอบอ่าวไทยมี "มนุษย์อุษาคเนย์" ร่อนเร่เป็นกลุ่มเล็กๆ กระจัดกระจายแสวงหาอาหาร

 

ตามธรรมชาติด้วยเครื่องมือทำด้วยหินและไม้ บางทีก็เอาเรือไม้แล่นหาอาหารตามทะเล

 

โคลนตม มีเรื่องราวละเอียดอยู่ในหนังสือกรุงเทพฯ มาจากไหน? (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.

 

2548) จะสรุปสั้นๆ มาดังต่อไปนี้

"ทะเลโคลน" ก่อนมีกรุงเทพฯ

ทะเลอ่าวไทยยุคดึกดำบรรพ์ราว 12,000 ปีมาแล้ว มีขอบเขตกว้างขวางกว่าปัจจุบัน ดังนี้

ทิศเหนือ ทะเลสูงขึ้นไปถึงบริเวณ จ.ลพบุรี หรือเหนือขึ้นไปอีก

ทิศตะวันตก ทะเลเว้าเข้าไปถึงบริเวณ อ.เมือง และ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ต่ำลงมาที่

 

อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ต่ำลงมาที่ อ.เมือง จ.ราชบุรี และต่ำลงมาที่ อ.เมือง จ.เพชรบุรี

ทิศตะวันออก ทะเลเว้าเข้าไปถึงบริเวณ จ.สระบุรี จ.นครนายก จ.ปราจีนบุรี และเว้าไปถึง

 

อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

เมื่อขอบเขตอ่าวไทยยุคดึกดำบรรพ์ล้ำเข้าไปมากกว่าปัจจุบัน แม่น้ำสายสำคัญๆ ที่ไหล

 

ลงทะเลจึงสั้นกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ คือ

ปากน้ำเจ้าพระยา อยู่บริเวณ จ.นครสวรรค์-ชัยนาท 

ปากน้ำแม่กลอง อยู่ทาง จ.นครปฐม (แม่น้ำท่าจีนยังไม่มี) 

ปากน้ำบางปะกง อยู่ทาง จ.นครนายก-ปราจีนบุรี 

ปากน้ำป่าสัก อยู่ทาง จ.ลพบุรี เป็นต้น

ทะเลอ่าวไทยยุคดึกดำบรรพ์ที่กว้างขวางดังกล่าวมิได้อยู่คงที่ เพราะแผ่นดินโดยรอบ

 

งอกออกไปเรื่อยๆ ตามปรากฏการณ์ธรรมชาติ อัນเป็นผลจากการทับถมของตะกอนหรือ

 

โคลนตมที่ล้นทะลักไหลมากับน้ำในแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีอยู่รอบอ่าวไทย ยุคโน้น 

ครั้นนานเข้าก็กลายเป็นทะเลโคลนตม ขยายพื้นที่กว้างออกไปเรื่อยๆ ช้าๆ ตามธรรมชาติ 

ในที่สุดโคลนตมที่ถมทับกลับกลายเป็นดินดอน แผ่กว้างเป็น "แผ่นดินบก" สืบเนื่องจนปัจจุบัน

นอกจากจะถมทะเลให้เป็นแผ่นดินบกแล้ว โคลนตมจำนวนมหาศาลยังเป็นปุ๋ย ธรรมชาติดี



 

ที่สุด ที่ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าวในสมัยหลังๆ

เมื่อตะกอนจากแม่น้ำทะลักออกมาทับถมนานนับพันปี ในที่ศุดอ่าวไทยก็ค่อยๆ หดลง

 

บริเวณที่โคลนตมตกตะกอนก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินใหญ่

คนดึกดำบรรพ์ร่อนเร่ "ทะเลโคลน"

3,000 ปีมาแล้ว มนุษย์รู้จักถลุงเหล็กทั่วไปทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ มีชุมชน บ้านเมืองขนาด

 

เล็กๆ เกิดขึ้นทั่วไป มีคนจากที่ต่างๆ เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่งในดินแดน

 

ประเทศไทยมากขึ้นกว่าแต่ก่อน 

แต่บริเวณกรุงเทพฯ ยังเป็นทะเลโคลนตม จึงไม่มีคนตั้งหลักแหล่งถาวรได้ จะมีก็เพียง

 

คนบางกลุ่มเคลื่อนไหวแสวงหาอาหารผ่านไปมา

ยุคสุวรรณภูมิ-ทวารวดี ยังไม่มีกรุงเทพฯ

สมัยแรกที่พุทธศาสนาจากชมพูทวีปแผ่มาถึง "สุวรรณภูมิ" หรือภูมิภาคอุษาคเนย์โบราณ

 

เมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว หรือราว พ.ศ.500 กรุงเทพฯ ยังเป็นทะเลโคลนตมกว้างใหญ่ไพศาล

ต่อมาราวหลัง พ.ศ.1000 เริ่มเกิดรัฐยุคแรกๆ ที่รู้จักทั่วไปในชื่อรวมๆ กว้างๆ ว่า "ทวารวดี"

 

บริเวณกรุงเทพฯ ก็ยังคงเป็นทะเลโคลนตมอย่างเดิม 

แต่โคลนตมบางแห่งแข็งตัวเป็นผืนแผ่นดินมากขึ้น มีป่าชายเลน ไม้โกงกาง ฯลฯ แล้วมี

 

แม่น้ำลำคลองน้อยใหญ่หลายสาขา เป็นเส้นทางคมนาคมออกสู่ทะเลอ่าวไทย ขยายขึ้น

 

เรื่อยๆ บางแห่งเป็นที่ดอนสูง มีผู้คนตั้งหลักแหล่งประปรายเป็นหย่อมๆ ห่างไกลกัน 

พบเครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยหินและโลหะตกค้างฝังดินและจมโคลนตมอยู่บ้างไม่มากนัก

 

แสดงว่ามีผู้คนยุคดึกดำบรรพ์ผ่านไปมาบ้าง  คนพื้นเมืองรุ่นแรก

ครั้นหลัง พ.ศ.1600 มีบ้านเมืองและรัฐรุ่นใหม่เติบโตขึ้นโดยรอบอ่าวไทย โดยเฉพาะ

 

บริเวณที่ราบลุ่มดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น รัฐอโยธยาศรีรามเทพ

 

(ที่ต่อมาเป็นกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งตั้งอยู่ตอนบนของอ่าวไทยเหนือกรุงเทพฯ ขึ้นไป 

ทางน้ำกว้างใหญ่ผ่านบริเวณกรุงเทพฯ (ที่ต่อไปอีกนานมากจะได้ชื่อว่าเจ้าพระยา) ไหล

 

คดเคี้ยวเป็นรูปโค้งเกือกม้า (Oxbow Lake) นับเป็นแม่น้ำเก่าแก่ดั้งเดิมของกรุงเทพฯ 

มีคนพื้นเมืองตั้งหลักแหล่งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนชายเลนบ้างแล้ว เช่น พวกพูดภาษาตระกูล

 

มาเลย์-จาม กับชวา-มลายู จนถึงตระกูลมอญ-เขมร กับลาว-ไทย 

กรุงเทพฯ อยู่ใต้ทะเลอ่าวไทย มีในแผนที่แสดงแนวชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยสมัยโบราณ

 

เมื่อระหว่าง 6,000-3,000 ปีมาแล้ว

 

(ดัดแปลงจาก Somboon Jarupongsakul, 1990, Geomorphology of the Chao Phraya Delta. Thailand, p. 63)

(บน) กระดูกหัวปลาวาฬที่ศาลศีรษะปลาวาฬในบริเวณพระราชวังเดิม กองทัพเรือ

 

เป็นกระดูกที่พบอยู่ใต้ถุนศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน

 

(ล่าง) ขวานหินและเศษภาชนะราว 2,500 ปีมาแล้ว งมได้จากแม่น้ำน้อย อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

 

(ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ วัดเชิงท่า เมืองลพบุรี)

 

แสดงว่าตลอดลำน้ำเก่าก่อนมีแม่น้ำเจ้าพระยาเคยเป็นแหล่งอยู่อาศัยชั่วคราว หรือแสวงหาอาหารผ่านไปมาของคนยุคนั้น

 

คอลัมน์ สุวรรณภูมิสังคมวัฒนธรรม

โดย ผู้สื่อข่าวพิเศษ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1319088438&grpid=01&catid=&subcatid=

Credit: http://www.matichon.co.th
20 ต.ค. 54 เวลา 16:22 12,541 18 250
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...