แปลง'ตะเกียบ'เป็นเฟอร์นิเจอร์

การรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึง "การลดภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน" โดยแปลงขยะ

มาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ให้ประโยชน์ รวมถึงสิ่งของที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศและ

เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 

 

ด้วยเหตุนี้คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) บางเขน

 

โดย รศ.ดร.ทรงกลด จารุสมบัติ รองคณบดีและคณะร่วมกับสมาคมส่งเสริมและ

 

พัฒนาไผ่แห่งประเทศไทยและกรมป่าไม้ ได้ทำการศึกษาวิจัยตะเกียบไม้ไผ่ใช้แล้วแปลง

 

เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ


       "การใช้ตะเกียบครั้งเดียวทิ้ง ถือเป็นวัฒนธรรมการรับประทานอาหารที่เป็นที่นิยมกัน

 

อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะความมั่นใจของผู้บริโภคในเรื่องวัสดุและความสะอาด

 

รวมถึงความสะดวกในการใช้งานของภัตตาคารและร้านอาหาร จึงมีผลให้ปริมาณการ

 

ใช้ตะเกียบจากไม้ไผ่ประเภทใช้แล้วทิ้ง มีปริมาณการใช้กันอย่างมหาศาลต่อวัน เฉพาะใน

 

มหาวิทยาลัยรวมทุกโรงอาหารแต่ละวันไม่น้อยกว่า 5 กิโลกรัม แต่ถ้าทั้งประเทศทาง

 

เอ็มเคสุกี้ คาดคะเนไว้ว่าไม่น้อยกว่า 2 พันตันต่อวัน"

 

 

 

รศ.ดร.ทรงกลด จารุสมบัติ รองคณบดีคณะวนศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัยเผยข้อมูล 

 

เนื่องจากปัจจุบันนี้วัฒนธรรมการใช้ตะเกียบแบบวันเวย์ใช้แล้วทิ้งจะมีมากขึ้น โดย

 

เฉพาะอาหารญี่ปุ่นที่นิยมใช้กันมาก แต่หากเรานำตะเกียบเหล่านี้มารีไซเคิลใหม่ โดยการ

 

แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นแผ่นไผ่ชิ้นไม้อัด ทำก้อนเชื้อเพลิงเป็นพลังงานทดแทน

 

ฟอสซิลทั้งหลาย น่าจะเป็นทางแก้ปัญหาขยะล้นเมืองและช่วยลดภาวะโลกร้อนด้วย


         "ขณะนี้เราได้ร่วมกับสถาบันและองค์กรที่เป็นเครือข่ายจัดทำโครงการ

 

"เปลี่ยนตะเกียบเป็นโต๊ะนักเรียน" โดยบริษัท เอ็มเค เรสเตอรองท์ เป็นผู้เก็บ

 

รวบรวมตะเกียบที่ใช้แล้ว สนับสนุนค่าวัตถุดิบในการผลิตชุดโต๊ะและเก้าอี้นักเรียน

 

ชุดละ 990 บาท จำนวน 84 ชุด สมาคมส่งเสริมและพัฒนาไผ่แห่งประเทศไทยเป็น

 

ศูนย์ประสานงาน ส่วนคณะวนศาสตร์ร่วมกับสำนักวิจัย กรมป่าไม้เป็นผู้ดำเนินการ

 

ผลิตและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ"

 

         หัวหน้าโครงการวิจัยคนเดิมอธิบายขั้นตอนการผลิตโดยระบุว่าเริ่มจาก

 

นำตะเกียบไม้ไผ่ที่ใช้แล้วมาทำความสะอาด จากนั้นนำมาผสมกับกาวแล้วเข้าเครื่องอัดมา

 

ประกบเป็นไม้แผ่น ก่อนจะนำมาขึ้นรูปเป็นแบบต่างๆ เช่น เก้าอี้ โต๊ะทำงาน ไม้ฝาผนังหรือ

 

แม้กระทั่งไม้พื้นฟลอริ่ง โดยมีตุ้นทุนการผลิตอยู่ที่ราคาตารางเมตร 1,000 กว่าบาท

 

เท่านั้นเอง สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมโหฬาร

 

         "เศษฝุ่นจากการทำแผ่นไม้ไผ่อัด ก็นำมาใช้ประโยชน์ได้อีก คือย่อยให้เป็นผงแล้ว

 

ผสมกับกาว แล้วนำมาเข้าเครื่องอัดร้อนอีกครั้งก็จะได้เป็นแผ่นออกมา ความแข็งแรงมีมาก

 

ไม่ต้องกลัวเรื่องหัก ผ่านเกณฑ์มาตรฐานไม่แพ้ไม้เนื้อแข็งต่างๆ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดตอนนี้

 

คือการนำมาทำเชื้อเพลิงอัดเม็ด ปัจจุบันนี้เราใช้พลังงานจากฟอสซิล ซึ่งมีมูลค่าสูงและก็

 

เริ่มหายาก ถ้าเราเอาเศษการแปรรูปและฝุ่น มาทำเป็นผงละเอียดเสร็จแล้วนำมาเข้า

 

เครื่องอัดก็จะได้เชื้อเพลิงอัดเม็ดตามที่ต้องการสามารถให้พลังงานความร้อนแทนฟอสซิล

 

ได้เลย" รศ.ดร.ทรงกลด กล่าวย้ำ


          ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์จากตะเกียบใช้แล้ว อีกหนึ่งผลงานวิจัยเด่นของ

 

คณะวนศาสตร์ในการนำตะเกียบมาใช้ประโยชน์เพื่อลดโลกร้อนและยังสนอง

 

นโยบายอธิการบดีที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นต้นแบบ

 

กรีนยูนิเวอร์ซิตี้

Credit: http://www.komchadluek.net/detail/20111011/111400
14 ต.ค. 54 เวลา 14:54 4,491 7 120
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...