ภาพเมืองไทยในอดีตช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

 

เชลยสงคราม ชาวอเมริกัน ออสเตรเลีย ดัทช์ และอังกฤษ ถูกทหารญี่ปุ่นจับในการรบ

 

ที่ชวา สิงคโปร์ และเขตน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิค ถูกกวาดต้อนมายังประเทศไทย

 

ช่วงปี 2485 กองทัพญี่ปุ่นต้องการสร้างทางรถไฟจากไทยไปพม่า ระยะทาง 424 กม.

 

 เชลยศึกและแรงงานท้องถิ่นจะมีอยู่   2 แคมป์ แคมป์หนึ่งที่ อ.บ้านโป่ง เพื่อสร้างทาง

 

รถไฟต่อจากสถานีหนองปลาดุก อ. บ้านโป่ง ไปยังพม่า อีกแคมป์หนึ่งอยู่ที่เมือง

 

Thanbyuzayat ชายฝั่งทะเลอันดามัน ในพม่า จะสร้างจากพม่ามายังประเทศไทย

สะพานรถไฟที่ทำด้วยไม้ ข้ามแม่นำแม่กลอง ที่ ต. ท่ามะขาม อ. เมือง จ. กาญจนบุรี เริ่มสร้าง

เดือนตุลาคม 2485 เสร็จเดือนกุมภาพันธ์ 2486 ข้างๆสะพานไม้ ก็เป็นสะพานเหล็กที่สร้าง

ในระยะเวลาไล่เรี่ยกัน

      

 ยามสงครามที่ขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม อาหาร และยารักษาโรค

กองทัพญี่ปุ่นกำหนดการสร้างทางรถไฟให้แล้วเสร็จในช่วงเวลา 14 เดือน ท่ามกลางความ

ขาดแคลนอาหาร สภาพร่างกายของเชลยศึกที่แคมป์กาญจนบุรี จึงเหมือนโครงกระดูกเดินได้

การสร้างทางรถไฟบางช่วงค่อนข้างหฤโหด เช่นช่วงขนาบสันเขาริมแม่น้ำแควน้อย บริเวณบ้าน

วังโพ (ประมาณ 3-4 กม. ก่อนถึงน้ำตกเขาพัง อ. ไทรโยค) ทำให้เชลยศึกล้มตายดั่งใบไม้ร่วง

หรือช่องเขาขาด ที่ต้องใช้แรงงานคนล้วนๆ แซะภูเขาด้วยแชลง และจอบให้เป็นช่อง

พอให้รถไฟผ่านได้ ทำให้แรงงานอ่อนล้า ในการสร้างทางรถไฟสายมรณะระยะทาง

424 กม. มีผู้คนล้มตาย 13,000 คน นั่นคือ 1 ศพ ต่อ ระยะ

รถดีเซลรางเพื่อขนเสบียงลำเลียงยุทธปัจจัย ช่วงบ้านวังโพ

สภาพแคมป์พักอาศัย หลังคามุงจาก ไม่มีฝา

การก่อสร้างทางรถไฟ มีหลายช่วงที่ต้องสร้างข้ามแม่น้ำ

 

สะพานเหล็กช่วงข้ามแม่น้ำแควใหญ่ที่ ต. ท่ามะขาม สร้างเสร็จเดือนเมษายน พ. ศ. 2486 ต่อ

มาเดือนธันวาคม พ.ศ. 2487 ทหารฝ่ายสัมพันธมิตร เริ่มจะตั้งหลักได้ และทิ้งระเบิดโจมตีทาง

รถไฟเป็นระลอกๆ ผลของแรงระเบิด ทำให้สะพานเหล็กขาด 2 ช่วงขาด 2 ช่วง

ภาพถ่ายทางอากาศอีกมุมกล้องหนึ่ง ที่เห็นความเสียหายของสะพานจากระเบิดอย่างชัดเจน

เดือนสิงหาคม 2488 เมื่อสงครามกำลังยุติ ทุกคนต่างยินดีที่ภารกิจเสร็จสิ้น เตรียมตัวกลับบ้าน

สุสานบ้านช่องไก่ ต. เขาปูน อ. เมือง จ. กาญจนบุรี

สุสานทหารฝ่ายสัมพันธมิตร บ้านดอนรัก อ. เมือง จ. กาญจนบุรี

จดหมายจากอังกฤษที่แม่เขียนถึงลูก  แคมป์ในประเทศไทย ยามสงครามการสื่อสาร

ทางจดหมายก็ไม่ได้หยุดชะงักซะทีเดียว

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงนำลอร์ดเมานต์แบตเตน ตรวจแถวทหาร

 

Credit: http://www.reurnthai.com/index.php?PHPSESSID
14 ต.ค. 54 เวลา 14:17 11,643 8 250
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...