การถือกำเนิดนายทหารหญิงของไทย
จุดเริ่มต้นของการรับสตรีเข้ารับราชการในกองทัพนั้น เกิดขึ้นในสมัย จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม เมื่อครั้งประเทศไทยเผชิญกับภัยพิบัติจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาติบ้านเมืองต้องการกำลังทหาร เพื่อป้องกันประเทศชาติ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม มีดำริว่า "...การขยายกำลังทหารอยู่ที่ต้องให้ชาติไทยทั้งชาติเป็นทหาร หมายความว่า คนไทยทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย จักต้องได้รับการอบรมให้เป็นนักรบที่สามารถเฉลียวฉลาดในวิทยาการ และเข้มแข็งพอ พร้อมที่จะสละชีพเพื่อชาติเสมอ และเรื่องการอบรมให้คนไทยเป็นนักรบที่สามารถทั้งชายหญิงนี้ เป็นนิสัยที่อยู่ในจิตใจแต่บรรพบุรุษแล้ว จนไทยเราได้จารึกเกียรติประวัติของบรรดาท่านวีรชนทั้งชายหญิงไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติ..."
ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม จึงดำริให้จัดตั้งกองทหารหญิงขึ้น โดยมอบให้กรมยุทธศึกษาทหารบก วางหลักสูตรและให้การศึกษานักเรียนนายร้อยหญิงทหารบก ซึ่งในการรับสมัครสตรีเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนทหารนั้น ใช้หลักการเดียวกับนายร้อยสำรองทหารบก โดยกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับผู้เข้ารับสมัครไว้เช่น เป็นผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า อายุระหว่าง 18-24 ปีบริบูรณ์ สัญชาติไทย และบิดามารดาต้องเป็นคนไทยโดยกำเนิด
นายร้อยหญิงรุ่นแรกและรุ่นเดียว
เครื่องแบบนายร้อยหญิงในพิพิธภัณฑ์ รร.จปร.
ต่อมาในปลายปี พ.ศ.2486 เกิดเหตุผันผวนในวงการเมืองของไทย ทำให้ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก และแม่ทัพบก เป็นเหตุให้นโยบายทางการทหารเปลี่ยนแปรได้ด้วย กระทรวงกลาโหมมีคำสั่งเปลี่ยนภาวะนายร้อยหญิงและนายสิบหญิง เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือนประเภทสามัญทั้งหมด สำหรับผู้ใดที่ลาออกเพราะไม่สมัครใจจะรับราชการต่อ ก็ให้ออกได้โดยไม่มีบำเหน็จบำนาญ
กิจการทหารหญิงยุคแรกของประเทศไทยที่เตรียมไว้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำการรบเคียงบ่าเคียงไหล่ทหารชายจึงได้ยุติลง อย่างไรก็ดี ในระยะเวลาต่อๆมา ทางราชการได้เห็นความสำคัญและความจำเป็นของทหารหญิง จึงได้มีการพิจารณาบรรจุสตรีเข้ารับราชการเป็นทหารหญิง แต่มิได้มีหน้าที่ในส่วนกำลังรบหรือหน้าที่ที่จะต้องใช้กำลังกายตรากตรำ
อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ประเทศไทยไม่มีโอกาสจัดต้องกองพันทหารหญิงขึ้นได้สำเร็จ แต่แนวความคิดจัดตั้งกองพันดังกล่าว ยังคงแสดงให้เห็นถึงความคิดก้าวหน้าและทัศนคติอันกว้างไกล มีความเป็นสากล ล่วงไปข้างหน้าของจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม อย่างยากที่จะหาผู้ใดเทียบเทียมได้ การมองการณ์ไกลและการเปิดใจยอมรับความสามารถของสตรีในช่วงระยะเวลานั้น นับเป็นความคิดที่ล่วงหน้าก่อนกาลเวลายิ่งนัก
แนวความคิดนี้ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นแนวความคิดร่วมสมัย มีส่วนสนับสนุนให้เกิดสิทธิที่เท่าเทียมกันและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งร่วมกันผลักดันให้มีการตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนของสตรีอย่างสมบูรณ์
ปัจจุบันนักเรียนนายร้อยหญิงของไทยได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบจากที่เคยฝึกให้เป็นเหล่ารบ ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นเหล่าสนับสนุนแทน คือ
1. นักเรียนแพทย์ทหาร วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
2. นักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก เด้อค่าๆๆๆๆๆๆๆๆ 555+
หลักสูตรนักเรียนนายร้อยหญิง แบ่งเป็นภาควิชาการ 1 ปี ภาคปฏิบัติ 6 เดือน โดยมีการเรียนการสอนภาควิชาการ จำนวน 13 วิชา ได้แก่ วิชาทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ ทหารช่าง ทหารสื่อสาร ทหารอากาศ ยุทธวิธี แผนที่ จิตวิทยา กฎหมาย ศีลธรรม สุขวิทยาอนามัยและไอพิษ
ส่วนภาคปฏิบัติ ต้องฝึกเช่นเดียวกับนักเรียนนายร้อยชาย เช่น การฝึกยิงปืน ขุดสนามเพลาะ ทั้งคูยิง คูคลานและหลุมบุคคล การใช้อาวุธประจำกายและประจำหน่วย การฝึกเดินทางไกล รวมทั้งพลศึกษา ซึ่งมีท่ากายบริหาร ราวคู่ ราวเดี่ยว ห่วง ยูโด ดาบฝรั่ง ดาบไทย ต่อยมวย ว่ายน้ำ และไต่เชือก
เมื่อศึกษาครบกำหนดตามหลักสูตร นักเรียนนายร้อยหญิงได้รับการบรรจุให้เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้บังคับหมวดในกองทัพบก โดยให้สำรองราชการมณฑลทหารบกที่ 1 รับยศเป็นว่าที่ร้อยตรีหญิง
นอกจากนักเรียนนายร้อยหญิงดังกล่าวแล้ว กองทัพบกยังได้จัดตั้งโรงเรียนนายสิบหญิง เปิดโอกาสให้หญิงไทยได้เข้ารับการศึกษา และฝึกเพื่อเข้ารับราชการเป็นนายสิบที่จะปฏิบัติงานในกองพันสุรนารีที่จัดตั้งขึ้นที่จังหวัดลพบุรีอีกด้วย
คำปฏิญาณของนายทหารหญิงมีอยู่ว่า
ฉันจะพลีชีพให้สมกับเกียรติของทหาร คือ ตายในสนามรบ
ฉันจะเทิดทูนไว้ซึ่งเกียรติของชาติ คือ สงวนความเป็นดอกไม้งามของไทย
ฉันจะทูนเหนือหัวซึ่งเกียรติของทหารหญิง คือ แม่พิมพ์ที่ดี
คุณงามความดีที่จะยึดมั่นไว้ ให้หนักแน่นกว่าขุนเขา
ส่วนความเสียสละเพื่อชาติ จะให้เบากว่าปุยนุ่น