ข้อสังเกตุ เหรียญกล้าหาญกางเขนเหล็กชั้นอัศวินประดับใบโอ็ค ดาบและเพชรนี้ เป็น
เหรียญกล้าหาญที่สูงกว่า เหรียญกล้าหาญกางเขนเหล็กชั้นอัศวินประดับใบโอ๊ค และดาบ
และมีเกียรติยศสูงกว่า ต้องใช้ความสามารถอย่างสูง ต้องมีความกล้าหาญที่เห็นได้ชัด ดัง
จะเห็นได้จากจำนวนผู้ที่ได้รับมอบเหรียญมีจำนวนลดน้อยลงเหลือเพียง 27 คนเท่านั้น
เหรียญนี้ยังสามารถมอบให้กับผู้บัญชาการของหน่วยที่ปฏิบัติการรบด้วยความกล้าหาญ
ทหารเยอรมัน 27 คนที่ได้รับเหรียญ ในปัจจุบันต่างเสียชีวิตทั้งหมดแล้ว (ข้อมูลเมื่อปี
1999) และ 9 คน มีข้อมูลชัดเจนว่า เสียชีวิตในสนามรบ (killed in action - KIA)
จอมพลเออร์วิน รอมเมล (Erwin Rommel) ในเครื่องแต่งกายชุดจอมพล ของกองทัพ
เยอรมัน พร้อมด้วยคธาประจำตำแหน่ง ที่คอมีเหรียญกางเขนเหล็กชั้นอัศวิน ประดับใบ
โอ็ค ดาบและเพชร (Knight Cross with Oakleaves, Swords and Diamonds) ซึ่งเป็น
เหรียญตรากางเขนเหล็กชั้นรองสูงสุด จากเหรียญกางเขนเหล็กชั้นอัศวินประดับใบโอ็ค
ทองคำ ดาบและเพชร (Knight Cross with gold oakleaves, Swords and Diamonds)
นอกจากนี้ที่กระเป๋าด้านขวาของภาพ หรือด้านซ้ายของเขา ยังติดเหรียญกางเขนเหล็ก
ชั้นที่ 1 อีกหนึ่งเหรียญ (the 1st Class Iron Cross
เหรียญกล้าหาญกางเขนเหล็กชั้นอัศวิน ประดับใบโอ็คทองคำ ดาบ และเพชร
(Knight's Cross of the Iron Cross with Golden Oakleaves, Swords and Diamonds)
เหรียญกล้าหาญกางเขนเหล็กชั้นอ้ศวิน ประดับใบโอ็คทองคำ ดาบ และเพชร เป็นเหรียญ
กล้าหาญชั้นสูงสุดของนาซีเยอรมัน ตัวกางเขนเหล็กทำด้วยทองคำ มีผู้ได้รับเหรียญนี้
เพียงคนเดียว คือ Hans Ulrich Rudel นักบินแห่งกองทัพอากาศลุฟวาฟ (Luftwaffe)
ซึ่งเป็นนักบินเครื่องบิน เจ ยู 87 สตูก้า (Ju 87 Stuka)
หลักเกณฑ์ ได้รับเหรียญกล้าหาญชั้นก่อนหน้านี้มาแล้ว และยังคงปฏิบัติการรบด้วย
ความกล้าหาญอยู่อย่างต่อเนื่อง
พิธีมอบครั้งแรก ประกาศเมื่อ 29 ธันวาคม ปี 1944 และทำพิธีมอบใน 1 มกราคม ปี 1945
จำนวนผู้ที่ได้รับมอบ 1 คน
วิธีประดับเหรียญ ประดับที่คอเสื้อ โดยใช้สายริบบิ้นพันรอบคอเสื้อ เหมือนการประดับ
เหรียญกล้าหาญกางเขนเหล็ก ชั้นอัศวินอื่นๆ โดยตัวกางเขนเหล็กจะห้อยติดกับใบโอ็ค
ทองคำ ดาบไขว้และเพชร ตัวกางเขนเหล็กจะทำด้วยทองคำ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ได้รับมอบ
ข้อสังเกตุ Hans Ulrich Rudel ซึ่งเป็นบุคคลเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่ได้รับมอบเหรียญกล้า
หาญกางเขนชั้นอัศวิน ที่สูงที่สุดนี้ จากการปฏิบัติงานในหน้าที่นักบินประจำเครื่องบิน
เจ ยู 87 สตูก้า ซึ่งเป็นเครื่องบินทำลายรถถัง โดยติดปืนใหญ่อากาศขนาด 37 มม. ไว้ที่
ใต้ปีกทั้งสองข้าง ข้างละหนึ่งกระบอก
Rudel สามารถทำลายรถถังรัสเซียได้ทั้งหมด 530 คัน ปืนต่อสู้อากาศยานและปืนใหญ่
ต่อสู้รถถังของรัสเซียอีก 150 กระบอก ยานยนต์ทั่วไปประเภทต่างๆอีก 800 คัน จมเรือรบ
ชื่อ Marat ของรัสเซียได้ 1 ลำ เรือชั้นครุยเซอร์ 1 ลำ เรือ Destroyer 1 ลำ เรือยกพลขึ้น
บก (Landing Craft) 70 ลำ สะพานและบังเกอร์ ป้อมปืนต่างๆ อีกนับไม่ถ้วน
เขาขึ้นบินทั้งหมด 2,530 ครั้ง และถูกยิงตกทั้งหมด 30 ลำ
เหรียญตราสำหรับผู้ทำการรบด้วยรถถัง (Tank Battle Badge)
เหรียญตราสำหรับผู้ที่ทำการรบด้วยรถถัง (Tank Battle Badge) หรือ
Panzerkampfwagenabzeichen นี้ มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 1939 จะมอบให้กับผู้
ที่ทำการรบด้วยรถถัง สำหรับเหรียญที่เห็นในภาพ เป็นเหรียญชั้นแรก ตอนล่างมีขีดสาม
ขีด หมายถึงผู้ที่ได้รับเหรียญ ได้เข้าทำการรบด้วยรถถัง 3 ครั้ง ในวันที่ต่างกัน
(three tank engagement on three different days)
ต่อมาในปี 1940 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น Panzerkampfabzeichen เนื่องจากแรกเริ่มนั้น
มุ่งที่มอบเหรียญตรานี้ให้กับพลประจำรถถังเท่านั้น แต่ต่อมาก็ได้มีการขยายสิทธิผู้ที่ได้รับ
เหรีญญไปถึง พลมอเตอร์ไซค์ ของกองพลยานเกราะ รวมไปถึงชุดกู้ (recovery team)
ซึ่งมักจะต้องปฏิบัติหน้าที่ในแนวหน้า ไม่แตกต่างไปจากพลประจำรถถัง ขั้นตอนการ
พิจารณาว่าสมควรจะได้รับเหรียญหรือไม่ ก็ใช้หลักเดียวกับพลประจำรถถัง
สำหรับเหรียญชั้นต่อไป จะเปลี่ยนขีด 3 ขีดเป็นตัวเลขของการรบด้วยรถถัง เช่น ตัวเลข
25 ซึ่งหมายถึงทำการรบด้วยรถถัง 25 ครั้ง หรือ ปฏิบัติหน้าที่ในแนวหน้าต่อเนื่องกันเป็น
เวลา 15 เดือน เหรียญนี้ยังอาจจะมอบให้กับผู้ที่ได้บาดเจ็บสาหัสจากการสู้รบก็ได้ โดย
เหรียญทำการรบ 25 ครั้งนี้ เริ่มมีใช้เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 1943
เหรียญนี้มี 3 แบบ คือ รมดำ ชุบเงิน และชุบทอง ตัวเหรียญออกแบบโดย Ernest
Peekhaus เป็นรูปรถถัง ล้อมรอบด้วยใบโอ็ครูปทรงรี ตอนบนสุดของเหรียญ เป็นรูปนก
อินทรี กางปีกเพียงครึ่งเดียว เกาะอยู่บนเครื่องหมายสวัสดิกะ อันเป็นสัญญลักษณ์ของ
พรรคนาซีเยอรมัน ตัวรถถังกำลังแล่นผ่านใบโอ็ค จากทางซ้ายไปขวา
เหรียญที่เห็นอยู่ด้านบนเป็นเงินทั้งเหรียญ เหรียญที่มอบให้ผู้ทำการรบ 25 ครั้ง จะแตก
ต่างกับเหรียญทำการรบ 3 ครั้งคือ ตัวรถถังของเหรียญทำการรบ 25 ครั้งจะเป็นสีเทาดำ
ตัวเลข 25 ที่ปรากฎแทนขีด 3 ขีดทางตอนล่าง จะเป็นสีทอง ส่วนนกอินทรีและใบโอ็คยัง
คงเป็นสีเงินเช่นเดียวกับเหรียญทำการรบ 3ครั้ง
ต่อมาเมื่อการรบยังคงดำเนินต่อไป จำนวนครั้งในการรบของกำลังพลก็เพิ่มมากขึ้น
จึงมีการเพิ่มตัวเลขจาก 25 ครั้ง เป็น 50 และ 75 ครั้งอีกด้วย
เหรียญสำหรับผู้ทำการรบด้วยรถถัง 50 ครั้ง///เหรียญสำหรับผู้ทำการรบด้วยรถถัง 75 ครั้ง
ภาพบนเป็นตัวอย่างการติดเหรียญสำหรับผู้ทำการรบด้วยรถถัง ตัวเหรียญจะติดที่กระเป๋า
เสื้อด้านซ้ายของผู้ที่ได้รับเหรียญ โดยติดให้ต่ำกว่าเหรียญกางเขนเหล็กชั้นที่ 1 และ
เสมอกับเหรียญอื่นๆ ในภาพจะอยู่เสมอกับเหรียญสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการรบ
ที่อยู่ค่อนไปข้างหลัง
เหรียญสำหรับผู้ทำการรบด้วยรถถังในภาพนี้ เป็นเหรียญสีทอง ผู้ได้รับเหรียญเป็นนาย
ทหารยศ พันตรีของหน่วยเอสเอส (SS หรือ SchutzStaffel) จากกองพล ดาส ไรซ์
(Das Reich) สิ่งที่บ่งบอกว่าเป็นหน่วยเอส เอส คือ
1. ที่ปกเสื้อด้านขวาของเครื่องแบบ มีเครื่องหมายอักษร เอส เอส
2. ที่หน้าหมวกแก็ป ใต้สัญญลักษณ์นกอินทรีกางปีกเต็ม เท้าเกาะเครื่องหมายสวัสดิกะ
จะเป็นเครื่องหมาย หัวกระโหลกไขว้ (Death head) ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ ของหน่วย
เอส เอส
3. ที่แขนเสื้อด้านซ้ายของเครื่องแบบ ตอนบน มีตรานกอินทรีเหยียดปีกตรงเกาะบน
เครื่องหมายสวัสดิกะติดอยู่ ในภาพจะเห็นเพียงปลายปีกเหยียดตรงโผล่ออกมาเท่านั้น
4. เครื่องหมายยศของ เอส เอส ที่ติดอยู่ที่ปกเสื้อ จะแตกต่างจากเครื่องหมายของ
กองทัพบกเยอรมัน ดุมเงิน 4 เม็ดหมายถึงพันตรี ส่วนแถบที่แขนเสื้อซ้าย ด้านล่าง
เป็นแถบบอกนามหน่วย จะเห็นดัวอักษร Das Reich ติดอยู่
เหรียญสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบ (Wound Badge)
เหรียญสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบ มีสามระดับ คือ รมดำ เงิน และทอง ในภาพ
เป็นเหรียญเงิน มอบให้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการรบ 3 - 4 ครั้ง หรือ สูญเสียแขนขา
บาดเจ็บทางสมอง บาดเจ็บที่ตา ระบบการได้ยิน จากการรบ
เหรียญชนิดนี้จะมอบให้กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบ ทั้งที่เป็นทหาร หรือข้าราชการ
ของกองทัพเยอรมัน และหน่วยเอส เอส ต่อมาในปี 1943 เมื่อสงครามขยายเข้ามาถึง
ประเทศเยอรมัน ทั้งจากการทิ้งระเบิด และการรุกเข้ามาทางพื้นดิน ก็ได้มีการมอบเหรียญ
ชนิดนี้ให้กับพลเรือน ที่ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีทางอากาศด้วย
หลักเกณฑ์ เหรียญนี้มี 3 ระดับ คือ
1. รมดำ สำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ 1 - 2 ครั้ง
2. เหรียญเงิน สำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ 3 - 4 ครั้ง หรือ สูญเสียแขนขาจากการสู้รบ
ได้รับบาดเจ็บที่ตา ระบบการได้ยิน สมอง หรือบาดเจ็บที่ใบหน้าจนเสียโฉม
3. เหรียญทอง สำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 5 ครั้ง หรือพิการตาบอด สมอง
ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง หรือเสียชีวิตในการรบ
พิธีมอบครั้งแรก พิธีมอบครั้งแรกใน 1 กันยายน ปี 1939
จำนวนผู้ที่ได้รับมอบ กว่า 5,000,000 คน
วิธีประดับเหรียญ ประดับที่กระเป๋าเสื้อด้านซ้าย โดยติดต่ำกว่าหรือเสมอกับเหรียญอื่นๆ
ภาพบนเป็นตัวอย่างของการประดับเหรียญผู้ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบ (Wound Badge)
จะติดอยู่ที่กระเป๋าเสื้อซ้ายของผู้ที่ได้รับมอบ ในภาพนี้จะติดเฉียงค่อนไปทางสีข้าง
ส่วนอีกเหรียญที่อยู่ระดับเดียวกัน ใกล้กับกระดุมเสื้อ เป็นเหรียญทำการรบด้วยรถถัง
สำหรับเหรียญกล้าหาญกางเขนเหล็กที่อยู่เหนือขึ้นไป เป็นกางเขนเหล็กชั้นที่ 1
เนื่องจากไม่มีแพรริบบิ้นที่รังดุมที่สองของเสื้อ และหากเป็นเหรียญกางเขนเหล็ก
ชั้นอัศวิน ก็จะประดับที่คอเสื้อ แทนการประดับที่กระเป๋าเสื้อ
ภาพนี้เป็นภาพการแต่งกายของนายทหารเอส เอส ยศพันตรี หรือ เอส เอส สตรุมบาน ฟือ
เรอห์ (SS. Sturmbannfuhrer) ที่แขนเสื้อด้านซ้ายมีสัญญลักษณ์ นกอินทรีเกาะเครื่อง
หมายสวัสดิกะติดอยู่ ปักด้วยไหมสีเงิน เป็นสัญญลักษณ์ที่ทหาร เอส เอส ทุกคนจะต้องติดไว้ที่แขนเสื้อ
ส่วนที่ปลายแขนเสื้อมีป้ายบอกนามหน่วยว่า แดร์ ฟือเร่อห์ (Der Fuhrer) แสดงว่าเป็น
กำลังพลของกรมทหารราบยานเกราะ เอส เอส ที่ 4 แดร์ ฟือเร่อห์
(4th SS. PanzerGranadier Regiment "Der Fuhrer") ซึ่งกรมนี้สังกัดอยู่กับ
กองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 2 ดาส ไรซ์ (2nd SS. Panzer Division Das Reich)
เหรียญผู้ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบรุ่นสั่งทำเป็นพิเศษ ลงวันที่ 20 มิถุนายน 1944 ซึ่ง
เป็นเหรียญที่มอบให้เฉพาะผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ที่รังหมาป่าโดยพันเอก เคล้าซ์ ฟอน สตอฟเฟนเบอร์ก
เหรียญสำหรับการสู้รบทั่วไป
(General Assault Badge)
เหรียญสำหรับการสู้รบทั่วไป เป็นเหรียญตราที่มอบให้กับกำลังพลของกองทัพนาซี
เยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มิได้เป็นทหารราบและทหารยานเกราะ
(เนื่องจากทหารราบและทหารยานเกราะ มีเหรียญตราสำหรับความกล้าหาญใ
นการสู้รบของหน่วยต่างหากอยู่แล้ว)
พิธีมอบครั้งแรกใน 1 มิถุนายน 1940 โดยมุ่งหวังที่จะมอบเป็นเหรียญตราแห่งความกล้า
หาญในการรบให้กับกำลังพลเหล่าทหารช่าง แต่ต่อมาได้ขยายไปยังกำลังพลในเหล่าอื่นๆ เช่น ทหารปืนใหญ่ อีกด้วย
หลักเกณฑ์
เหรียญการสู้รบทั่วไป มี 5 ระดับ คือ
1. ชั้นที่ 1 ทำการสู้รบ ด้วยการเข้าตีที่มั่นข้าศึก (assault) ตีตอบโต้ (counter attack)
หรือลาดตระเวณจนเกิดการปะทะกับข้าศึก เป็นจำนวน 3 ครั้ง ใน 3 วันที่แตกต่างกัน
2. ชั้นที่ 2 ทำการสู้รบ ด้วยการเข้าตีที่มั่นข้าศึก (assault) ตีตอบโต้ (counter attack)
หรือลาดตระเวณจนเกิดการปะทะกับข้าศึก เป็นจำนวน 25 ครั้ง ใน 25 วันที่แตกต่างกัน
หรือปฏิบัติการรบอยู่ในแนวหน้าเป็นเวลานานถึง 15 เดือน
3. ชั้นที่ 3 ทำการสู้รบ ด้วยการเข้าตีที่มั่นข้าศึก (assault) ตีตอบโต้ (counter attack)
หรือลาดตระเวณจนเกิดการปะทะกับข้าศึก เป็นจำนวน 50 ครั้ง ใน 50 วันที่แตกต่างกัน
4. ชั้นที่ 4 ทำการสู้รบ ด้วยการเข้าตีที่มั่นข้าศึก (assault) ตีตอบโต้ (counter attack)
หรือลาดตระเวณจนเกิดการปะทะกับข้าศึก เป็นจำนวน 75 ครั้ง ใน 75 วันที่แตกต่างกัน
5. ชั้นที่ 5 ทำการสู้รบ ด้วยการเข้าตีที่มั่นข้าศึก (assault) ตีตอบโต้ (counter attack)
หรือลาดตระเวณจนเกิดการปะทะกับข้าศึก เป็นจำนวน มกกวก่า 100 ครั้ง ใน 100 วันที่
แตกต่างกัน
เหรียญสำหรับทำการรบทั่วไปจำนวน 75 ครั้ง
ภาพการประดับเหรียญตราสำหรับผู้ทำการรบทั่วไป (General Assault medal)
ข้อมูลจาก http://www.wikipedia.com,
http://www.feldgrau.com,
หนังสือ German Soldiers of World War Two โดย Jean DE LAGARDE
(สงครามโลกครั้งที่สอง)
จาก http://www.geocities.com/saniroj
โดยพันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ