ความทันสมัยของเทคโนโลยีที่ต้องจับตา ไม่เพียงเพราะช่วยให้ไม่ตกเทรนด์ แต่ยังประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ ช่วยสร้างโอกาสให้นักลงทุน
ความทันสมัยของเทคโนโลยีที่ต้องจับตา ไม่เพียงเพราะช่วยให้ไม่ตกเทรนด์ แต่ยังประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ โดยผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าจะช่วยสร้างโอกาสให้นักลงทุน โดยในงาน NSTDA Investor’s Day 2011 ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้คาดการณ์ 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองเอาไว้อย่างน่าสนใจ
ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ สามารถกำหนดเทรนด์ของเทคโนโลยีให้อยู่ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ เทคโนโลยีสีเขียว เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ เทคโนโลยีวัสดุ และไอที ชึ่งมีความสำคัญสำหรับภาคธุรกิจที่กำลังมองหานวัตกรรม หรือสร้างสินค้าจากเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งจะมีบทบาทมากขึ้นในปี 2555
เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ
อันดับ 10 อวัยวะซ่อมเสริมเติมสร้าง อวัยวะเทียม หรือ Artificial Organ มีการคาดการณ์ว่าในปี 2555 มูลค่าของอวัยวะเทียม จะพุ่งสูงขึ้นถึง 4 แสนล้านบาท จากความยายามในการพัฒนาเทคโนโลยีอวัยวะเทียมจากสารอนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก อาทิเช่น มือเทียมที่ความคุมการเคลื่อนไหวจากสัญญาณกล้ามเนื้อ สามารถหยิบจับสิ่งของขนาดเล็กได้สะดวก การใช้สเต็มเซลล์สร้างอวัยวะเลียนแบบอวัยวะที่ธรรมชาติสร้างขึ้น เช่น จมูก หู หรือแม้แต่ความพยายามในการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์จากไขสันหลังของผู้ป่วยในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อสร้างท่อลมในปอด รวมถึงความพยายามในการสร้างอวัยวะะอื่นๆ จากสเต็มเซลล์ ตลอดจนอุปกรณ์ไฮเทคที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ภายนอกร่างกายแทนแขนขาของมนุษย์
อันดับ 9 ระบบส่งยานำวิถีด้วยนาโน ในอนาคตการพัฒนายาที่ขึ้นชื่อว่ายาก และต้องใช้เงินลงทุนสูง กำลังจะเปลี่ยนไปเป็นการพัฒนาระบบนำส่งยา ที่มุ่งเน้นการปลดปล่อยยาในระดับความเข้มข้นตำ แต่ลงลึกถึงเซลล์ที่ต้องการ ในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดค่าใช้จ่าย และความเจ็บป่วยทรมานจากการรักษา โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โดยเทคโนโลยีนี้คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 1.9 แสนล้านบาท ในปี 2555
อันดับ 8 จิโนมิกส์ส่วนบุคคล เมื่อการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์กำลังก้าวสู่ยุคจีโนมิกส์ การถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อวินิจฉัยโรคมีราคาถูกลง จาก 1 ล้านเหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ 1 พันเหรียญสหรัฐ ซึ่งประโยชน์ของการถอดรหัสพันธุกรรม คือความสามารถในการคาดการณ์โรค ความรุนแรง และความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัยและรักษาโรคในอนาคตทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เทคโนโลยีสีเขียว
อันดับ 7 ก้าวใหม่ของพลังงานชีวภาพ จากเดิมที่เคยผลิตเอธานอลจากอ้อยและมันสัมปะหลัง ซึ่งพบปัญหาด้านการแย่งชิ่งวัตถุดิบระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน กำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ 2 ของการนำเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาแปลงเป็นพลังงาน ด้วยความพยายามพัฒนาเทคโนโลยีคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพมาช่วยย่อยเซลลูโลสในกระบวนการผลิต ซึ่ง ณ ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาได้ลงทุนกับเทคโนโลยีนี้ไปไม่ต่ำกว่า 510 ล้านเหรียญสหรัฐ
อันดับ 6 เซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูง ความพยายามในการพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูง เดินหน้ามาถึงเซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงชนิดรอยต่อแบบเฮเทอโร ที่มีศักยภาพในการแปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้พลังงานต่ำในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นโอกาสดีในการวิจัยและพัฒนาต่อยอด เพื่อจำหน่ายในอนาคต
เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์
อันดับ 5 พลาสติกชีวภาพแห่งอนาคต PBS หรือ พลาสติกชีวภาพจาก Bio-based กำลังเป็นพลาสติกคลื่นลูกใหม่ที่มาแทนที่พลาสติกชนิด PLA ซึ่งความสามารถในการย่อยสลาย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้พลาสติกดังกล่าวถูกนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุปกรณ์กีฬา รวมถึงพลาสติกทางการเกษตร
อันดับ 4 จีโอพอลิเมอร์ (Geopolymer) หรือวัสดุเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยคุณสมบัติเด่นที่คุณสมบัติทนไฟ ทนสารเคมีประเภทกรด จีโอพอลิเมอร์จึงเป็นวัสดุและเทคโนโลยีที่น่าจับตาและมีแนวโน้มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในอนาคต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยใช้แทนปูนซีเมนต์ ตลอดจนใช้ในการผลิตเซรามิคชั้นสูง
อันดับ 3 กราฟีน (graphene) วัสดุมหัศจรรย์โมเลกุลเดียว ที่มีคุณสมบัตินำไฟฟ้า อีกทั้งโปร่งแสง เหมาะสำหรับพัฒนาเป็นจออิเล็กทรอนิกส์แบบม้วนงอได้ ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาและจะนำมาใช้มาขึ้นในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น จอภาพทัชสกรีนในโทรศัพท์ แบตเตอร์รี่ ชิพคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เซ็นเซอร์ตรวจวัด และโซลาร์เซลล์ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ
อันดับ 2 จอแสดงภาพสามมิติ เทคโนโลยีกำลังพัฒนาขึ้นให้การดูภาพ 3 มิติผ่านหน้าจอพลาสม่ามีความสมจริงมากขึ้นโดยไม่ต้องใช้แว่น ด้วยเทคโนโลยีการมองเห็นภาพแบบ Stereoscopy และ Parallax เข้ามาผสมผสานและพัฒนาให้สมบูรณ์ อีกทั้งมีราคาถูกลงในอีก เหตุการณ์ใช้งานมากขึ้นในโทรศัพท์มือถือ อีก 25-30 ปีข้างหน้า
และ อันดับ 1 จากเว็บไซต์สู่เว็บเชิงความหมาย ในที่นี้กำลังพูดถึง เว็บ 3.0 หรือ Semantic Web ที่กำลังก้าวเข้ามาแทนเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีแนวคิดที่จะเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน เว็บไซต์อยู่ในรูป Read-Write-Relate โดยมีแนวคิดเบื้องหลังคือ ออนโทโลยี และแสดงผลบนมาตรฐานได้แก่ RDF (Resource Definition Framework) หรือ OWL (Ontology Web Language) ที่นักพัฒนาเว็บจะต้องติดตามและทำความเข้าใจ
ทั้งหมดนี้หรือ 10 เทคโนโลยีที่น่าจับมอง ของผู้ที่เฝ้าติดตามเทคโนโลยีอย่างใกล้ชิด ที่ยืนยันว่า “รู้เท่าทัน ไม่มีวันตกขบวน”