นักวิจัยจีนพบ อาหารทะเลที่นำเข้าวัตถุดิบจากสามเหลี่ยมแม่น้ำไข่มุก มีระดับสารปนเปื้อนเกินขีด
ปลอดภัยสูงน่าสยอดสยอง หอยนางรมมีสารทองแดงปนเปื้อนกว่าขีดปลอดภัย 740 เท่า ปลาเก๋า มี
สารตะกั๋วเกินขีดอนุญาต 53 เท่า (ภาพ เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์)
เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์--การวิจัยเผยสัตว์น้ำจากสามเหลี่ยมจูเจียง หรือแม่น้ำ
ไข่มุก ปนเปื้อนมลพิษอย่างน่าสยอง หอยนางรม มีสารทองแดงปนเปื้อนสูงกว่าขีด
ปลอดภัย 740 เท่า อีกทั้งแคตเมี่ยมเกินขีดปลอดภัยอีก 90 เท่า ปลาตัวใหญ่มี
ระดับโครเมี่ยมเกินขีดมาตรฐาน 24 เท่า ปลาเก๋า มีสารตะกั๋วเกินระดับที่อนุญาต
53 เท่า ทั้งนี้ จากการเปิดเผยของผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันสมุทรศาสตร์ใน
ทะเลจีนใต้ สังกัดสถาบันสังคมศาสตร์ หวง เสี่ยวผิง
นักวิจัยย้ำว่าระบบนิเวศน์บริเวณสามเหลี่ยมแม่น้ำไข่มุก ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเขตเศรษฐ
กิจมณฑลก่วงตง (หรือกวางตุ้ง) และฮ่องกง กำลังตกอยู่ในภัยพิบัติ หากยังไร้มาตรการ
สกัดมลพิษจากอุตสาหกรรม ขณะนี้น้ำในเขตการประมงหลายแห่งปนเปื้อนสารโลหะหนัก
และสารพิษต่างๆจากอุตสาหกรรมอย่างรุนแรง โดยสิ่งแวดล้อมทางทะเลบริเวณท่าเรือ
เซินเจิ้น จูไห่ และเม่าหมิง ตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมมากที่สุด
เฉิง เหิง เลขาธิการแห่งสมาคมผู้ค้าปลีกและค้าส่งสัตว์ทะเลและเนื้อแช่แข็งแห่ง
ฮ่องกง บอกว่า 1 ใน 3 ของอาหารทะเลที่บริโภคกันในฮ่องกง มาจากแผ่นดินใหญ่ โดย
ซับพลายทั้งหมดมาจากทะเลใกล้กับเมืองจั้นเจียงในก่วงตง และไห่หนัน (ไหหลำ)
ข้อมูลตัวเลขของคณะบริหารดูแลการประมงและทะเลในก่วงตง ระบุว่า เมื่อปีที่แล้ว มี
น้ำเสียมากกว่า 40 เปอร์เซนต์ถูกปล่อยลงทะเล โดยน้ำเสียดังกล่าวมีสารพิษในระดับสูง
มากเกิน จากการทดสอบพบว่า แม่น้ำ 8 สายที่ไหลลงสู่ทะเลแถวมณฑลก่วงตง มีสารปน
เปื้อน 1.08 ล้านตัน ได้แก่ ปิโตรเลียม นูเทรียม โลหะหนัก และสารหนู โดยสารปนเปื้อน
เหล่านี้แพร่ขยายสู่น่านน้ำทะเลเป็นพื้นที่ 4,153 ตารางกิโลเมตร
รายงานระบุว่ามลพิษทางน้ำในมณฑลก่วงตงไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขเป็นเวลา
หลายปี เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรม และความไร้
ประสิทธิภาพในการตรวจสอบกลุ่มโรงงานที่ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำไข่มุก.