สหรัฐฯ ปิดตัวเครื่องเร่งอนุภาค “เทวาตรอน”

สหรัฐฯ ปิดตัวเครื่องเร่งอนุภาค “เทวาตรอน” ที่เป็นสัญลักษณ์ของ

ฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงมานานเกือบ 3 ทศวรรษ ซึ่งถูกล้มแชมป์ความ

ใหญ่โดยเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซีของ “เซิร์น” โดยนักฟิสิกส์ใน

อเมริกาจะเปลี่ยนไปให้ความสำคัญต่อโครงการที่เล็กกว่า แต่มุ่งหวังผล

มากกว่า อย่างการผลิตลำโปรตอนที่มีความเข้มสูงสุดแทน

       รอยเตอร์รายงานว่าห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอนุภาคเฟอร์มิ (Fermi

National Accelerator Laboratory) หรือเฟอร์มิแล็บ (Fermilab) ได้หยุดการ

ทำงานของเครื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอน (Tevatron) เครื่องมือศึกษาฟิสิกส์

อนุภาคพลังงานสูงของสหรัฐฯ ที่ใช้งานมานานเกือบ 30 ปี เมื่อวันที่ 30

ก.ย.11 ที่ผ่านมา โดยเครื่องดังกล่าวมีหน้าที่เร่งอนุภาคโปรตอนและแอนตี

โปรตอนให้ชนกันภายในท่อยาวกว่า 6.4 กิโลเมตรที่ขดเป็นวงกลมอยู่ใต้ดิน

       จากนี้นักฟิสิกส์ของห้องปฏิบัติการฟิสิกส์อนุภาคในสหรัฐฯ จะให้ไปให้

ความสำคัญกับโครงการที่เล็กกว่าแต่หวังผลมากกว่า อย่างการผลิตลำโปรตอน

ที่มีความเข้มสูงที่สุด หลังจากที่พวกเขาได้ส่งไม้ต่อองค์ความรู้เรื่องฟิสิกส์

พลังงานสูงให้แก่เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (Large Hadron Collider: LHC)

ที่ใหญ่กว่าและดีขององค์กรความร่วมมือวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป

(European Organization for Nuclear Research) หรือ เซิร์น (CERN)

       “ไม่มีอะไรคงอยู่ตลอดไปเมื่อมาถึงจุดเปลี่ยนของวิทยาการ เราจำเป็น

ต้องเปลี่ยนมุมมองทางฟิสิกส์เพื่อยืนในตำแหน่งที่สามารถสร้างจุดเด่นได้”

ปิแอร์ ออดโดน (Pier Oddone) ผู้อำนวยการเฟอร์มิแล็บกล่าว และบอกด้วย

ว่า ยุโรปใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ มากถึง 3 ใน 4 และตอนนี้

สหรัฐฯ จำเป็นต้องฉลาดให้มากๆ และต้องทำความชัดเจนว่าจะใช้ทรัพยากรที่

มีอยู่อย่างระมัดระวังอย่างไร

       “ผมคิดว่าเรายังคงรักษาตำแหน่งผู้นำของโลกได้ เราจะย่ำอยู่กับที่ที่เรา

เคยอยู่เมื่อ 30 ปีก่อน ซึ่งเราเป็นผู้นำในทุกขอบเขตความรู้ด้านฟิสิกส์อนุภาค

แต่เรากำลังจะเป็นผู้นำของขอบเขตความรู้ที่แคบลง” ออดโดนให้ความเห็นแก่

ทีมข่าววิทยาศาสตร์รอยเตอร์

 ทางด้านบีบีซีนิวส์ระบุว่าทางเฟอร์มิแล็บประกาศลดงาน 100 ตำแหน่ง ใน

จำนวนนั้นเป็นการลาออกโดยสมัครใจ 50 ตำแหน่ง โดยการตัดสินใจหยุดเดิน

เครื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอนนั้นกลายเป็น “ยาขม” สำหรับนักฟิสิกส์ที่พยายาม

ใช้เครื่องเร่งอนุภาคที่มีข้อจำกัดนี้ผลิตอนุภาคฮิกกส์ (Higgs) ที่ยากจะค้นหา

นักวิจัยทั้งหลายยังย้ำด้วยว่าพวกเขาใกล้จะพบฮิกกส์แล้ว และหากพบก็จะ

เป็นการอธิบายถึงกำเนิดมวล และยังเป็นตัวต่อชิ้นสุดท้ายของแบบจำลอง

มาตรฐาน (Standard Model) ซึ่งเป็นทฤษฎีฟิสิกส์อนุภาคที่ยอมรับกันอย่าง

กว้างขวาง

       ทั้งนี้ มีความพยายามที่จะยืดอายุการใช้งานเครื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอน

ออกไปอีก 3 ปี แต่ความพยายามดังกล่าวถูกปฏิเสธไปเมื่อเดือน ม.ค.2011

เพราะกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ ไม่สามารถรับค่าใช้จ่ายปีละกว่าพันล้านบาทที่

ใช้เพื่อเดินเครื่องเร่งอนุภาคต่อไปได้ แม้ว่าคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ

เฉพาะด้านจะรับรองประสิทธิภาพในการยืดอายุการใช้งานเครื่องเร่งอนุภาคต่

อไป แต่คำแนะนำดังกล่าวก็ไม่ได้การสนองตอบ

       ศ.สเตฟาน โซลด์เนอร์-เรมโบลด์ (Prof.Stefan Soldner-Rembold)

โฆษกประจำสถานีทดลองดีซีโร (DZero experiment) ของเครื่องเร่งอนุภาค

เทวาตรอน กล่าวว่าข้อมูลจากการเดินเครื่องเร่งอนุภาคจนกระทั่งปิดตัวลงนั้น

จะได้รับการวิเคราะห์ต่อไป โดยคาดว่าจะได้รับผลวิเคราะห์สุดท้ายในปีหน้า ซึ่ง

อาจสร้างความประหลาดใจได้ แต่คงต้องอาศัยเวลาพิเศษมาช่วยหานัยสำคัญ

ทางสถิติของการค้นพบใดๆ ที่อาจจะเป็นเรื่องพิเศษ

       จุดกำเนิดของเครื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอนเริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970

เมื่อมีแนวคิดในการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนจากอนุภาคโปรตอน

แต่เดิมทีรู้จักกันในชื่อ “เอเนอจีดับเลอร์” (Energy Doubler) ซึ่งเดินเครื่องเมื่อ

ปี 1983 และเร่งอนุภาคชนกันหลังจากนั้น 2 ปี และในปี 1995 นักฟิสิกส์ประจำ

เครื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอนก็ประกาศการค้นพบ “ท็อปควาร์ก” (top quark)

หนึ่งในอนุภาคชนิดใหม่ที่ช่วยให้แบบจำลองมาตรฐานสมบูรณ์ขึ้น และเป็นการ

ค้นพบที่สำคัญที่สุดในหลายๆ การค้นพบของเครื่องเร่งอนุภาคจากสหรัฐฯ นี้

สหรัฐฯ ปิดตัวเครื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอนที่ใช้งานมาเดือบ 30 ปี (บีบีซีนิวส์)

(บน) แผนที่แสดงแสดงเครื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอน

(ล่างซ้าย) ส่วนหนึ่งของอุโมงค์เครื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอน

(ล่างขวา) แผนที่แสดงตำแหน่งเครื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอน (บีบีซีนิวส์)

ห้องควบคุมเครื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอน (บีบีซีนิวส์)

Credit: http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000125410
3 ต.ค. 54 เวลา 18:56 6,474 12 140
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...